ยายับยั้งการคลอด คืออะไร? ในช่วงการตั้งครรภ์ก่อนสัปดาห์ที่ 37 แม่ ๆ ทุกคนจะทราบดีว่าลูกน้อยในท้องยังมีร่างกายที่ไม่พร้อมที่จะออกมาจากท้องแม่ แต่หากแม่มีอาการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนดล่ะ มียาตัวไหนบ้างที่จะช่วยไม่ให้ลูกคลอดก่อนกำหนดได้
ยายับยั้งการคลอด ช่วยไม่ให้ลูกคลอดก่อนกำหนดได้จริงหรือ?
ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดคืออะไร?
ก่อนอื่นแม่ ๆ ควรรู้ก่อนว่าทำไมถึงจำเป็นต้องฉีด ยายับยั้งการคลอด ในภาวะปกติ แม่ท้องจะเริ่มเจ็บครรภ์คลอดหลังสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ และการคลอดในช่วงนี้ ร่างกายของลูกในท้องจะพร้อมที่จะออกจากท้องแม่แล้ว แต่การคลอดก่อนกำหนด หมายถึง การคลอดบุตรที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ (ในประเทศที่พัฒนาแล้วนับตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์) และเกิดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ในช่วงนี้ ร่างกายของลูกในท้องจะยังไม่พร้อมที่จะหายใจและเจริญเติบโตอยู่นอกท้องแม่หากไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลือจากแพทย์
สาเหตุของภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
สาเหตุของภาวะนี้ ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าการคลอดก่อนกำหนดมีสาเหตุมาจากอะไร ทำไมถึงเกิดภาวะการคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์บางราย ภาวะการคลอดก่อนกำหนดสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
- ภาวะที่จำเป็นต้องคลอดก่อนกำหนด พบได้ 20-30% ของการคลอดก่อนกำหนด เป็นผลจากโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อแม่ท้องหรือทารกในครรภ์ ทำให้ต้องสิ้นสุดการตั้งครรภ์ก่อนครบกำหนด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทั้งกับแม่และลูกในท้อง ได้แก่
- ภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง
- ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
- เบาหวาน
- ภาวะรกเกาะต่ำ
- ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
- ภาวะทารกโตช้าในครรภ์
- มีปัญหาเกี่ยวกับมดลูก มดลูกหรือปากมดลูกมีรูปร่างผิดปกติ หรือเคยตรวจพบชิ้นเนื้อที่ปากมดลูก
- มีความผิดปกติในน้ำคร่ำ เช่น มีน้ำคร่ำมากเกินไป
- มีความพิการเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์
- มีการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อมะเร็งปากมดลูก การติดเชื้อสเตรปโตคอคคัสกรุ๊ปบี (Group B Streptococci) การติดเชื้อทริโคโมแนส หรือช่องคลอดอักเสบจากเชื้อพยาธิ รวมถึงการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในแท้ หนองในเทียม ซิฟิลิส
- ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์คลอดที่การตั้งครรภ์ยังไม่ครบกำหนด
- ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่มีผลทำให้เกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด มีดังนี้
- มีประวัติการคลอดก่อนกำหนด
- มีประวัติการแท้งลูก
- ตั้งครรภ์แฝด หรือมีจำนวนบุตรในครรภ์มากกว่า 1 คน
- ตั้งครรภ์ตอนอายุต่ำกว่า 18 ปีหรือมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป
- มีเลือดออกที่ช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์
- ได้รับการดูแลในช่วงก่อนการคลอดน้อยเกินไปหรือไม่เคยฝากครรภ์
- ระยะการตั้งครรภ์จากบุตรคนที่ผ่านมาน้อยกว่า 6 เดือน
- มีการใช้ยาคุมกำเนิดที่มีส่วนประกอบของ Diethylstilbestrol ระหว่างตั้งครรภ์
- มีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ก่อนหรือในช่วงการตั้งครรภ์
- เกิดการตั้งครรภ์ในระหว่างที่ใช้ห่วงอนามัย
- มีการสูบบุหรี่หรือใช้ยาเสพติด
- ความเครียด ยกของหนัก หรือได้รับบาดเจ็บในระหว่างตั้งครรภ์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ เมื่อไรหมอถึงจะใช้ ยายับยั้งการคลอด
เมื่อไรหมอถึงจะใช้ ยายังยั้งการคลอด
เมื่อแม่ท้องมีอาการเจ็บครรภ์คลอด ไม่ใช่ว่าจะให้หมอใช้ ยายับยั้งการคลอด ได้เลยนะคะ หมอจะวินิจฉัยว่าภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของแม่ท้อง เข้าข่ายที่ควรจะใช้ ยายับยั้งการคลอด ได้หรือไม่ โดยแม่ท้องที่เจ็บครรภ์คลอดควรจะมีอาการดังต่อไปนี้
- มีการหดรัดตัวของมดลูกอย่างน้อย 4 ครั้งใน 20 นาที หรือ 6 ครั้งใน 60 นาที ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก
- ปากมดลูกเปิดมากกว่า 1 เซนติเมตร
- มีความบางตัวของปากมดลูกร้อยละ 80 หรือมากกว่า
นอกจากนี้ มีข้อห้ามในการใช้ยายับยั้งการคลอด หากแม่ท้องมีอาการดังต่อไปนี้
- แม่ท้องมีโรคแทรกซ้อนทางการคลอด เช่น อาการตกเลือดรุนแรงระหว่างการตั้งครรภ์
- มีภาวะติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ
- ทารกเสียชีวิตในครรภ์
- ทารกมีความพิการแต่กำเนิด หรือภาวะอื่นที่ไม่ควรตั้งครรภ์ต่อ
- แม่ท้องมีโรคแทรกซ้อนทางอายุรศาสตร์ที่มีข้อบ่งห้ามในการให้ยา หรือเป็นโรคที่ไม่ควรตั้งครรภ์ต่อ
ยายับยั้งการคลอดช่วยระงับคลอดได้นานแค่ไหน
การให้ยาเพื่อยับยั้งไม่ให้มดลูกหดรัดตัวเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โดยจะสามารถช่วยยืดระยะเวลาการคลอดออกไปได้อย่างน้อย 48 ชั่วโมงเท่านั้น ไม่สามารถยับยั้งการคลอดไปจนถึงกำหนดคลอดได้เลย แต่หากถามว่ายานี้มีประโยชน์อย่างไร ยายับยั้งการคลอดสามารถช่วยยืดเวลาการคลอดเพื่อให้แม่ท้องที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดเดินทางไปยังโรงพยาบาลที่มีความพร้อมในการดูแลรักษาทารกที่คลอดก่อนกำหนดได้ทัน ซึ่งเวลาเพียงเท่านี้ อาจสามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของทารกที่คลอดก่อนกำหนดไว้ได้หลายคนเลยทีเดียว
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ยายับยั้งการคลอดมีกี่แบบ มีอาการข้างเคียงหรือไม่
ยายับยั้งการคลอดมีกี่แบบ มีอาการข้างเคียงหรือไม่
โดยทั่วไปแล้ว หมอจะแนะนำให้ทำการคลอดใกล้กำหนดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่หากเกิดภาวะเสี่ยงขึ้น หมอก็จะรักษาเบื้องต้นก่อนการใช้ยา โดยอาจให้นอนพักและผ่อนคลายกล้ามเนื้อก่อน แต่หากการนอนพักยังไม่ได้ผล หมอจะพิจารณาการให้ยายับยั้งการคลอด ร่วมกับยาเร่งการพัฒนาปอดของทารก โดยยายับยั้งการคลอดที่หมอใช้ มีดังนี้
ป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้อย่างไร
แม้ว่าจะยังไม่สามารถป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้ เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดที่จะทำให้เกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด แต่เราสามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้ได้ ดังนี้
- การเย็บผูกปากมดลูก สำหรับแม่ท้องที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนสัปดาห์ที่ 24 ของการตั้งครรภ์ มีประวัติการคลอดก่อนกำหนดและแท้งติดต่อกันเกิน 3 ครั้งขึ้นไป และปากมดลูกสั้นกว่า 2.5 เซนติเมตร หมอจะแนะนำให้ทำการเย็บผูกปากมดลูก
- การฝากครรภ์และการพบแพทย์ตามเวลานัด จะช่วยลดโอกาสภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้ เพราะแพทย์และพยาบาลจะคอยแนะนำและดูแลแม่ท้องและลูกในท้องไม่ให้เกิดอันตรายได้
- การรับประทานอาหารและวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อการตั้งครรภ์ เช่น กรดโฟลิค ธาตุเหล็ก ไอโอดีน แคลเซียม วิตามินดี วิตามินซี วิตามินอี วิตามินบี 12 ไนอาซิน หรือสังกะสี เพื่อชดเชยวิตามินและแร่ธาตุที่ขาดหายไปในอาหารที่แม่ท้องทาน ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เรื่องขนาดและปริมาณของวิตามินและแร่ธาตุที่ควรจะได้รับในเงื่อนไขของหญิงตั้งครรภ์
- งดการสูบบุหรี่และงดการดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างตั้งครรภ์ รวมถึงการอยู่ในสถานที่ที่มีควันบุหรี่ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติที่จะเกิดขึ้นกับลูกในท้อง
- ควรเว้นระยะห่างจากการตั้งครรภ์ครั้งล่าสุดอย่างน้อย 6 เดือน อาจสามารถลดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ต่อไปได้
- เพิ่มความระมัดระวังการทำกิจกรรม เช่น การออกกำลังกาย การยกของหนัก การทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก รวมถึงการกระแทก เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
สรุปแล้ว ยายับยั้งการคลอด ไม่สามารถยืดการคลอดจนถึงกำหนดคลอดได้ในเข็มเดียว และการใช้ยาประเภทนี้ ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ดังนั้น แม่ท้องที่มีภาวะเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อร่วมกันหาแนวทางการยับยั้งการคลอดที่เหมาะสมที่สุดค่ะ
อ่านต่อบทความดี ๆ ได้ที่นี่
13 ความเสี่ยงเมื่อ ลูกคลอดก่อนกำหนด
คลอดก่อนกำหนด อันตราย กว่าที่คิด!!!
น้ำคร่ำแตก เป็นอย่างไร? แตกต่างกับกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือไม่
ขอบคุณข้อมูลจาก : Thai Maternal and Child Health Network, Pobpad
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่