การเปลี่ยนแปลงร่างกายของคุณแม่ท้อง เช่น อาการแพ้ท้อง ปวดปัสสาวะบ่อย ฝันร้าย ปวดเมื่อยไม่สบายตัว อึดอัด หายใจไม่สะดวก อาจทำให้เกิดปัญหา คนท้อง นอนไม่หลับ และอ่อนเพลีย จากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งการที่ คนท้อง นอนไม่พอ นั้นมีงานวิจัยชี้ว่า เป็นอันตรายต่อลูกในท้อง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนอนของแม่ท้องแต่ละไตรมาส
ปัญหาการนอน คนท้อง ไตรมาสแรก
คุณแม่จะรู้สึกอ่อนเพลียและง่วงนอนมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน แต่ในขณะที่คุณแม่ต้องการการนอนหลับพักผ่อนนั้น กลับต้องประสบปัญหาการนอน ด้วยสาเหตุต่อไปนี้
- ปวดปัสสาวะบ่อย เนื่องจากการที่มดลูกขยายตัวไปกดกระเพาะปัสสาวะทำให้คุณแม่ปวดปัสสาวะบ่อย การนอนจึงถูกขัดจังหวะ และเมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว ก็ยากที่จะหลับลงได้อีกครั้ง
- ความเจ็บปวด ไม่สบายตัว หน้าอกที่ขยายใหญ่ขึ้น และการปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน ซึ่งเป็นอาการปวดที่เกิดจากข้อต่อกระดูกซึ่งหย่อนตัวลง อาจทำให้คุณแม่นอนหลับได้ยากขึ้น
- อาการแพ้ท้อง การแพ้ท้อง ทำให้คุณแม่รู้สึกวิงเวียน และคลื่นไส้อาเจียน ตลอดทั้งวัน ซึ่งรวมถึงตอนกลางคืนด้วย
อ่านต่อบทความน่าสนใจ จริงหรือไม่? แม่แพ้ท้องหนักมากจะทำให้ลูกฉลาด IQ สูง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ปัญหาการนอน คนท้อง ไตรมาสสอง
คุณแม่ท้องในช่วงนี้จะนอนหลับได้ดีขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงทางเมตาบอลิซึมตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก ทำให้คุณแม่ก็อาจยังมีปัญหานอนไม่ค่อยหลับเช่นกัน
- แสบร้อนกลางอกจากภาวะกรดไหลย้อน อาการแพ้ท้องหายไป แต่ภาวะกรดไหลย้อนกลับเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ เนื่องจากมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้น ทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่หูรูดบริเวณรอยต่อของหลอดอาหารกับกระเพาะอาหารไม่สามารถปิดได้สนิท เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์ จึงเกิดการไหลย้อนกลับของอาหารขึ้นไปที่หลอดอาหาร จึงเป็นสาเหตุของกรดไหลย้อนที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกแสบหน้าอกเวลานอน
- ปวดขา ถึงแม้ว่าอาการปวดขาจะพบมากในไตรมาสสาม แต่ในไตรมาสสองนี้ คุณแม่บางคนอาจเริ่มที่จะปวดขาจนต้องตื่นขึ้นมากลางดึกแล้วค่ะ
- ฝันร้าย คุณแม่อาจมีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของลูกในท้อง ความสามารถในการเลี้ยงดูลูก สภาพการเงินในครอบครัว หรืออื่นๆ ซึ่งทำให้คุณแม่เก็บไปฝันร้าย และขัดขวางการนอนหลับที่ดีของคุณแม่
อ่านต่อ ปัญหาการนอน คนท้อง ไตรมาสสาม คลิกหน้า 2
ปัญหาการนอน คนท้อง ไตรมาสสาม
ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ ขนาดท้องที่ใหญ่ของคุณแม่ทำให้คุณแม่ส่วนใหญ่ต้องตื่นกลางดึกไม่ต่ำกว่า 3 รอบ และส่วนหนึ่งตื่นไม่ต่ำกว่า 5 รอบ โดยปัญหาการนอนยอดฮิตในไตรมาสสาม คือ
- ปวดหลัง งานวิจัยของ Yale University พบว่า คุณแม่ท้องเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์มีอาการปวดหลังช่วงล่าง ซึ่งเป็นอุปสรรคทำให้คนท้องนอนไม่หลับ
- ปวดปัสสาวะบ่อย –อีกแล้ว เช่นเดียวกับในไตรมาสแรก เนื่องจากมดลูกขยายใหญ่ขึ้นมาก ประกอบกับลูกน้อยเคลื่อนลงสู่เชิงกราน จึงไปเบียดกระเพาะปัสสาวะทำให้คุณแม่กลับมาปวดปัสสาวะบ่อยอีกครั้ง
- หายใจลำบาก จมูกและโพรงจมูกของแม่ที่ตั้งครรภ์จะมีอาการบวมและขยายขนาดมากขึ้น กล้ามเนื้อที่ควบคุมระบบทางเดินหายใจหย่อนยาน โดยจะส่งผลทำให้เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดตันที่นำไปสู่การนอนกรน ทั้งนี้พบว่า 6 เปอร์เซ็นต์ของคุณแม่ท้องมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นเวลาอย่างน้อย 10 วินาที ซึ่งเป็นอันตรายที่มักพบในคุณแม่ท้องที่น้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน เสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ และทารกมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำ
- กลุ่มอาการขาไม่อยู่สุข หรือ Restless Leg Syndrome (RLS) คุณแม่ท้องประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์มีความรู้สึกไม่สบายขา เหมือนมีมดมาไต่อยู่ในขา จากการศึกษาพบว่า คุณแม่ท้องมีระดับธาตุเหล็กและโฟเลตต่ำมีความเสี่ยงสูงที่จะนอนไม่หลับด้วยอาการ RLS
จากปัญหาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า อุปสรรคในการนอนของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นช่างมากมายเหลือเกิน บ้างนอนดึก บ้างนอนไม่หลับ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลต่อลูกน้อยทั้งสิ้น อยากรู้แล้วใช่ไหมคะว่า แม่ท้อง นอนไม่พอ กระทบลูกในท้องอย่างไร คลิกหน้าถัดไป
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ แม่ท้อง นอนไม่พอ กระทบลูกในท้องอย่างไร คลิกหน้า 3
คนท้องควรนอนกี่ชั่วโมง
คุณแม่ท้องต้องการการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยควรนอนหลับให้ได้คืนละ 7-9 ชั่วโมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะ 14 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ทั้งนี้การนอนน้อยส่งผลต่อสุขภาพของแม่ท้อง และทารกในครรภ์
คนท้อง นอนน้อย เสี่ยงผ่าคลอด
งานวิจัยพบว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ที่นอนหลับน้อยกว่าคืนละ 6 ชั่วโมงจะทำให้คลอดยาก โดยอาจใช้เวลานานกว่าปกติ 4.5 เท่า และมีแนวโน้มที่จะผ่าคลอดมากกว่าคุณแม่ท้องที่นอนคืนละ 7 ชั่วโมงขึ้นไป
คนท้อง นอนไม่พอ เสี่ยงครรภ์เป็นพิษ
จากการศึกษาในสหรัฐอเมริกา ชี้ว่า ในระหว่างนอนหลับพักผ่อน ความดันโลหิตของมนุษย์จะลดลงโดยเฉลี่ยประมาณ 10 – 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นผลจากฮอร์โมนทำหน้าที่ควบคุมดูแลขนาดของหลอดเลือดทั่วร่างกาย ดังนั้น เมื่อคุณแม่ท้องนอนไม่หลับ หรือหลับ แต่ไม่เพียงพอ จึงมีผลกระทบต่อการผลิตฮอร์โมนดังกล่าว ทำให้คุณแม่ท้องที่นอนหลับไม่พอในตอนกลางคืนมีค่าความดันโลหิตสูงกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจในระหว่างการตั้งครรภ์ และระดับความดันโลหิตในคุณแม่ท้องยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภาวะครรภ์เป็นพิษอีกด้วย โดยผลวิจัยพบว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ที่นอนน้อยกว่าคืนละ 5 ชั่วโมง มีความเสี่ยงที่จะเกิดครรภ์เป็นพิษมากกว่าปกติถึง 9.5 เท่า
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
คนท้อง นอนไม่หลับ ลูกเจริญเติบโตช้า
เมื่อแม่นอนหลับดี ลูกในครรภ์ก็นอนหลับได้ดี และเมื่อลูกในครรภ์นอนหลับดี การเจริญเติบโตของร่างกายและสมองก็ดีตามไปด้วย ถ้าคุณแม่นอนไม่หลับ ร่างกายอ่อนเพลีย ทำให้การไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงลูกน้อยทำได้ไม่ดี ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง เมื่อคลอดออกมามีแนวโน้มที่จะน้ำหนักตัวน้อยกว่ามาตรฐานและเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ เมื่อเด็กไม่แข็งแรง ก็จะมีผลทางอารมณ์ ทำให้เป็นเด็กที่เลี้ยงยาก ขี้หงุดหงิด ปรับตัวยาก ซึ่งสัมพันธ์กับความเครียดของเด็กเมื่อเติบโตขึ้น
อ่านต่อ เคล็ดลับแม่ท้อง หลับสบาย ลูกสุขภาพดี คลิกหน้า 4
เคล็ดลับแม่ท้อง หลับสบาย ไตรมาสแรก
- หาเวลางีบหลับ เมื่อคุณแม่รู้สึกง่วงนอนในตอนกลางวัน หากเป็นได้ ควรหาเวลางีบสัก 30 นาที ระหว่างเวลาบ่าย 2-4 โมงเย็น ระวังอย่านอนกลางวันมากเกินไป เพราะอาจทำให้นอนไม่หลับตอนกลางคืนค่ะ
- หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหลัง 6 โมงเย็น จะช่วยไม่ให้คุณแม่ปวดปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน หากคุณแม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน คุณดื่มเฉพาะช่วงเช้าเท่านั้น เพราะคาเฟอีนจะเป็นตัวกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะบ่อย
- รองท้องลดหิว แครกเกอร์เป็นตัวช่วยที่ดี หากคุณแม่เกิดหิวขึ้นมากลางดึก โดยที่ไม่จำเป็นต้องลุกไปห้องครัวเพื่อหาของกิน
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายตอนค่ำ คุณแม่สายสุขภาพอาจเลือกออกกำลังกายช่วงเช้า กลางวัน หรือช่วงเย็น จะช่วยให้นอนหลับดีกว่า การออกกำลังกายในช่วงค่ำ ซึ่งอาจจะเป็นการกระตุ้นให้คุณแม่นอนไม่หลับ
เคล็ดลับแม่ท้อง หลับสบาย ไตรมาสสอง
- หลังอาหาร 4 ชั่วโมงอย่าเพิ่งนอน กระบวนการย่อยอาหารของคุณแม่จะใช้เวลานานขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ หลังอาหารคุณแม่จึงไม่ควรนอนดูทีวี แต่ควรนั่งหลังตรงจะช่วยป้องกันกรดในกระเพาะอาหารไม่ให้ไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหารได้ นอกจากนี้ หากภาวะกรดไหลย้อนทำให้คุณแม่นอนไม่หลับ อาจเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เน้นอาหารเช้ามื้อใหญ่ และทานอาหารเบาๆ ในมื้อเย็นแทน
- เลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก เช่น อาหารรสเผ็ด อาหารทอด อาหารที่มีกรด รวมถึง มะเขือเทศ ส้ม น้ำผลไม และกาแฟ
- จำกัดหรือหลีกเลี่ยงน้ำอัดลม ความไม่สมดุลของแคลเซียมในร่างกายอาจเป็นต้นเหตุของอาการปวดขาในคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากฟอสฟอรัสในเครื่องดื่มที่มีฟอง (รวมถึง โซดา) จะลดปริมาณการเผาผลาญแคลเซียม ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องแน่ใจว่าได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอจาก นม ผักใบเขียว ผักสีเขียวเข้ม และปลาแซลมอนกระป๋องทั้งก้าง เป็นต้น
- บริหารเท้าเมื่อเป็นตะคริว เมื่อคุณแม่เกิดอาการตะคริวให้ใช้มือนวดกล้ามเนื้อส่วนนั้น ถ้าเป็นที่ต้นขาให้เหยียดขาตรง ยกเท้าให้พ้นจากพื้นเล็กน้อย แล้วกระดกปลายเท้าลงล่าง ถ้าเป็นที่น่องให้เหยียดขาให้ตรงแล้วกระดกปลายเท้าให้มากที่สุด แต่ถ้าเป็นตะคริวจากการนอน ให้ยกขาสูง ใช้หมอนรอง 2 ใบ
- ผ่อนคลายจิตใจ การทำใจให้สงบจะช่วยให้คุณแม่นอนหลับได้ดี ผู้เชี่ยวชาญแนะนำการทำสมาธิ โยคะแม่ท้อง หรือเทคนิคผ่อนคลายอื่นๆ เช่น การแช่น้ำอุ่น รับประทานอาหารที่มีกรดอะมิโน เช่น นมและกล้วย เข้าคลาสอบรมพ่อแม่มือใหม่ เพื่อลดความกังวลในการดูแลลูกน้อย หรือหาที่ปรึกษาหากคุณเกิดความวิตกกังวลจนทำให้นอนไม่หลับ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
เคล็ดลับแม่ท้อง หลับสบาย ไตรมาสสาม
- นอนตะแคงซ้าย เป็นท่านอนคุณแม่ท้องที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังช่วงล่าง ทั้งยังป้องกันอาการกรน และเพิ่มการไหลเวียนโลหิตไปยังลูกน้อยอีกด้วย โดยให้คุณแม่สอดหมอนไว้ใต้เข่า หนุนหลัง และใต้ท้อง หรือใช้หมอนสำหรับคนท้อง นอกจากนี้ควรหมั่นยืดตัว และบริหารท้องเป็นประจำ
- ลดการดื่มน้ำในช่วงค่ำ และไม่ดื่มน้ำอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน เพื่อลดโอกาสตื่นขึ้นมาปัสสาวะกลางดึกบ่อยๆ
- พบผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ หากคุณแม่กรน และมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เพื่อเช็คให้แน่ใจว่าคุณแม่และลูกน้อยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ และรับคำแนะนำที่ช่วยให้คุณแม่นอนหลับดีขึ้นด้วย
- นวดเท้าและอาบน้ำอุ่น ก่อนนอนหากได้นวดเท้าเบาๆ และอาบน้ำอุ่นๆ รวมถึงการเดินตอนเย็นๆ จะช่วยบรรเทาอาการไม่สบายขาได้
- รับประทานธัญพืชและผักใบเขียว การรับประทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กและโฟเลตสามารถบรรเทาอาการขาอยู่ไม่สุขได้ ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงคาเฟอีน เพราะจะยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กและโฟเลต
แม้อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์จะเป็นอุปสรรคต่อการนอนของคุณแม่ท้อง แต่การนอนหลับอย่างเพียงพอของแม่ท้องเป็นสิ่งสำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ หวังว่าเคล็ดลับที่ Amarin Baby & Kids ได้นำมาฝากจะช่วยให้คุณแม่ท้องนอนหลับง่ายสบายขึ้นนะคะ
ที่มา fitpregnancy.com , manager.co.th