AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ตะกอนในน้ำคร่ำ ภาวะอันตราย ที่แม่ท้อง ต้องรู้

ตะกอนในน้ำคร่ำ ภาวะอันตราย ที่แม่ท้อง ต้องรู้

ตะกอนในน้ำคร่ำ ภาวะอันตราย ที่แม่ท้อง ต้องรู้ ทั้งนี้ถือเป็น ภาวะอันตรายอีกหนึ่งภาวะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก ทั้งที่ภาวะนี้สร้างปัญหาให้กับแม่ท้องได้มากที่สุดอีกภาวะหนึ่ง เพราะเป็นสาเหตุให้คลอดก่อนกำหนดได้

 

ตะกอนในน้ำคร่ำภาวะอันตราย ที่แม่ท้อง ต้องรู้

ตะกอนในน้ำคร่ำ ภาวะอันตรายที่แม่ท้อง ต้องรู้

ทั้งนี้การมีตะกอนในน้ำคร่ำคุณแม่นั้น สาเหตุเกิดจาก มีการอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ หรือการอักเสบแบบติดเชื้อก็ได้ ซึ่งการจะเห็นว่ามีตะกอนในน้ำคร่ำแพทย์ต้องอัลตราซาวนด์แล้วเห็นเป็นคล้ายตะกอนสีขาวมากมายในน้ำคร่ำและเวลาดูดออกมานั้นน้ำคร่ำจะเป็นสีเขียวคล้ายหนอง ซึ่งการเกิดตะกอนในน้ำคร่ำนี้จะทำให้คุณแม่มีน้ำเดินก่อนคลอด จนอาจเกิดการคลอดก่อนกำหนดได้ เพราะการอักเสบดังกล่าวจะก่อให้เกิดการสร้างเอนไซม์มาทำลายปากมดลูกของคุณแม่ให้อ่อนแอลง และอาจทำให้ถุงน้ำคร่ำแตกและคลอดก่อนกำหนด

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อ ตะกอนในน้ำคร่ำภาวะอันตรายที่แม่ท้องต้องรู้

ดังนั้นการตรวจแค่เพียงการวัดหน้าท้อง อาจจะไม่เห็นตะกอนในน้ำคร่ำและไม่เห็นความยาวของปากมดลูกที่แท้จริง การอัลตราซาวนด์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ควรทำ นอกจากจะเพื่อดูอวัยวะต่างๆของลูกน้อย รวมถึงดูการเติบโตต่างๆแล้ว ควรมีการอัลตราซาวนด์ปากมดลูกเพื่อดูช่องคลอด วัดขนาดปากมดลูก และดูเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูก และอัลตร้าซาวนด์อย่างละเอียดเพื่อดูตะกอนในน้ำคร่ำด้วย

ตะกอนในน้ำคร่ำภาวะอันตรายที่แม่ท้อง ต้องรู้

ตะกอนในน้ำคร่ำภาวะอันตรายที่แม่ท้อง ต้องรู้

 

โดยคุณแม่ตั้งครรภ์ควรอัลตราซาวนด์เพื่อเช็กความผิดปกติของลูกน้อยและการตั้งครรภ์อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง โดยในช่วง 3 เดือนแรกอัลตราซาวนด์เพื่อวัดความยาวของปากมดลูก เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูก และอัลตราซาวนด์เพื่อดูต้นคออวัยวะทารก เพื่อตรวจหาความผิดปกติ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนล่วงหน้า จากนั้นอาจอัลตราซาวนด์อีกครั้งในช่วงอายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์ เพื่อตรวจความสมบูรณ์ด้านอวัยวะทางร่างกายของทารกในครรภ์ รวมไปถึงความยาวของปากมดลูก

ทั้งนี้คุณแม่ต้องยอมรับการตรวจอัลตราซาวนด์ทุกครั้ง  ไม่ควรชะล่าใจและคิดว่าไม่มีอะไร เพราะหากคุณแม่รีบมาตรวจเช็กและดูได้เร็วเท่าไร ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้เร็วเท่านั้น ถึงแม้ว่าคุณแม่ตั้งครรภ์จะไม่มีความเสี่ยงมาก่อนเลยก็ตาม เพราะภาวะนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้เหมือนกันทุกคน นอกจากนี้การตรวจอัลตราซาวนด์ยังสำคัญสำหรับคุณแม่อีกกลุ่มด้วย  ได้แก่ คุณแม่ที่มีประวัติครอบครัว หรือ ครรภ์ก่อนเป็นโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคปากแหว่งเพดานโหว่ โรคหัวใจ อ้วน ลมชัก หรือ มีการรับประทานยาบางอย่าง รวมถึงสารเสพติดที่อาจส่งผลกระทบต่อทารก อย่าง ยาลดความดันบางชนิด ยารักษาสิว เหล้า ยาบ้า รวมไปถึงคุณแม่ที่อายุมากกว่า 35 ปี ขึ้นไป

รกเกาะต่ำ ภาวะรุนแรงที่สุดของการตั้งครรภ์

ดูแล ทารกคลอดก่อนกำหนด อย่างไรให้ปลอดภัย

โฉมหน้า 15 โรคแทรกซ้อน ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่