AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

แม่ท้องต้องรู้! รกค้าง หลังคลอด อันตรายอาจตายได้

รกค้าง ภาวะเสี่ยงเฉียบพลันสำหรับคุณแม่หลังคลอด แม้จะคลอดทารกออกมาแล้ว แต่หากไม่คลอดรก ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เรามาทราบถึงความเสี่ยง อาการ และความผิดปกติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น และแนวทางที่จะช่วยให้คุณแม่ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง หากต้องตกอยู่ใน ภาวะรกค้าง

“รก” สายใยแม่และลูก

รกเป็นอวัยวะพิเศษของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ ที่ถูกสร้างมาพร้อม ๆ กับทารก โดยหลังจากคุณแม่ตั้งครรภ์ร่างกายจะเริ่มสร้างเซลล์ 2 ส่วนไปพร้อมกัน ส่วนที่  1 คือ เซลล์ที่ประกอบกันเป็นทารก และอีกส่วน คือ  รก ซึ่งเกาะอยู่ด้านในผนังมดลูก โดยรกประกอบด้วย สายสะดือ เยื่อหุ้มรก และเนื้อรก หน้าที่สำคัญของรก ได้แก่ การส่งผ่านเลือด ลำเลียงอาหารและอากาศ ขับถ่ายของเสีย และสร้างฮอร์โมนเพื่อความเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารก และระบบการตั้งครรภ์ เช่น สารภูมิคุ้มกันและต้านทานโรคต่าง ๆ ฮอร์โมนกระตุ้นการผลิตน้ำนม ฮอร์โมนที่ช่วยลดความเจ็บปวดในการคลอดและลดความเสี่ยงในการแท้งอีกด้วย

รู้หรือไม่? คลอดลูกแล้ว ต้องคลอดรก

ขั้นตอนในการคลอดลูกตามธรรมชาติแล้ว เมื่อครรภ์พร้อมคลอด ปากมดลูกเปิด 10 เซนติเมตร ทารกจะค่อย ๆ เคลื่อนออกมาทางช่องคลอด ตามแรงเบ่งของคุณแม่ หลังจากทารกคลอดออกมาอย่างสมบูรณ์ประมาณ 5-10 นาที จะมีการคลอดรกก็คือ มีรกและเยื่อหุ้มทารกหลุดตามออกมาทางช่องคลอด แต่หากคลอดทารกเกิน 30 นาที แต่รกยังไม่คลอดออกมา นั่นเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึง ภาวะรกค้าง ซึ่งต้องเข้าสู่กระบวนการทำคลอดรกต่อไป

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

แค่ รกค้าง ถึงตาย จริงหรือ??

ภาวะรกค้างสามารถเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ รกค้างทั้งรก ที่อาจจะเกิดจากความผิดปกติของมดลูก เช่น รกลอกตัวไม่สมบูรณ์ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อปากมดลูก ทำให้รกคลอดออกมาเองไม่ได้ หรือความผิดปกติจากการหดรัดตัวของมดลูกเอง ซึ่งหากรกไม่คลอดออกมา รกนั้นจะไปขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูกหลังคลอด ทำให้เลือดไหลไม่หยุด เกิดภาวะตกเลือดจนเสียชีวิตได้ ในการรักษาคุณหมอจะทำการคลอดรกด้วยการฉีดฮอร์โมน เพื่อเร่งรกส่วนที่ค้างอยู่ให้หลุดลอกออกมา แต่หากไม่สำเร็จอาจจะต้องทำการล้วงรกเพื่อให้รกหลุดออกมาอย่างสมบูรณ์

ส่วน รกค้าง เพียงบางส่วน จากเศษรกที่ออกมาไม่หมดแล้วตกค้างอยู่ในโพรงมดลูก ทำให้เกิดการติดเชื้อ และเข้าสู่ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบตามมา คุณหมอจะทำการอัลตร้าซาวน์เพื่อหาเศษรกที่ติดอยู่ภายใน และทำการขูดมดลูก เพื่อกำจัดเศษรก และรักษาการติดเชื้อต่อไป จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะรกค้างทั้งรก หรือเศษรกค้างบางส่วนก็เป็นอันตรายถึงชีวิตได้จริง ๆ

อ่านต่อ คลอดธรรมชาติ หรือ ผ่าคลอด แบบไหนปลอดภัยจากรกค้าง คลิกหน้า 2

คลอดธรรมชาติ หรือ ผ่าคลอด แบบไหนปลอดภัยจาก รกค้าง

คุณแม่หลายคนคงสงสัยว่า วิธีการคลอดธรรมชาติ หรือผ่าคลอด วิธีไหนมีความเสี่ยงต่อภาวะรกค้างน้อยกว่ากัน ในความเป็นจริงภาวะรกค้าง มีสาเหตุและปัจจัยจากสุขภาพร่างกายและมดลูกของคุณแม่เป็นทุนเดิม เช่น เคยผ่าคลอดมาก่อน มีภาวะรกลอกยาก รกเกาะต่ำ มีความเสี่ยงจากการแท้งมาก่อน เป็นต้น ดังนั้น วิธีการคลอดจะด้วยการคลอดตามธรรมชาติ หรือการผ่าคลอด จึงอาจจะไม่ใช่ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องต่อความเสี่ยงจากภาวะรกค้าง

คุณแม่ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะรกค้าง

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่สามารถพบได้จากการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ เช่น ความผิดปกติของมดลูกจากการตั้งครรภ์ก่อนหน้านี้ การแท้งที่มีสาเหตุจากมดลูก คุณแม่อายุมาก หรือจากโรคประจำตัวของคุณแม่ เป็นต้น

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ รกค้างมีอาการอย่างไร และวิธีป้องกัน คลิกหน้า 3

อาการ และอาการแทรกซ้อน

รกค้างทั้งรก มีอาการที่สังเกตได้ คือ เลือดจะไหลไม่หยุดหลังจากคลอดทารก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคุณหมอจะทราบและให้การรักษาทันทีหลังคลอดทารกแต่ไม่คลอดรกเกิน 30 นาที ด้วยการล้วงรก หรือฉีดฮอร์โมนเร่งการบีบตัวของรก เพื่อลดการเสียเลือดจากภาวะตกเลือดหลังคลอด โดยอาการจากรกค้างทั้งรก มักจะไม่มีอาการเจ็บปวดที่ชัดเจน เพียงแต่จะมีอาการเลือดไหลไม่หยุด อ่อนเพลีย ซีด และขาดเลือด

อาการรกค้างบางส่วน สามารถเกิดได้หลังคลอดทันที หรือหลังจากคลอดเกิน 24 ชั่วโมงถึง 3 เดือน โดยหากแสดงอาการหลังคลอดทันทีก็จะทำให้เกิดการตกเลือด เลือดไหลไม่หยุดมีอาการเหมือนกับรกค้างทั้งรก แต่หากเกิดภายหลังคลอดสักระยะหนึ่ง มักจะเกิดจากการติดเชื้อของรกส่วนที่ไม่ได้ถูกคลอดออกมา ทำให้เกิดการอักเสบภายในมดลูก นำไปสู่อาการโพรงมดลูกอักเสบตามมา อาการที่พบคือ มีไข้สูง มีเลือดออกทางช่องคลอด มีน้ำคาวปลาสีแดง มีกลิ่นเหม็นไหลต่อเนื่อง 2-3 สัปดาห์หลังคลอด ปวดท้องน้อยจากการบีบตัวของมดลูก

แม่ที่เคยมีประวัติรกค้างจะสามารถมีลูกได้อีกหรือไม่

ภาวะรกค้าง สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้อีก เนื่องจากการรักษาด้วยการขูดมดลูกจากการตั้งครรภ์ครั้งก่อนจะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง เมื่อมีการตั้งครรภ์ใหม่ รกที่เกิดใหม่จึงฝังตัวแน่น และหลุดลอกยากกว่าเดิม จึงทำให้มีโอกาสเกิดรกค้างได้ แต่ไม่ต้องกังวล ถึงแม้ว่าจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้สูง แต่คุณแม่ก็สามารถตั้งครรภ์ได้ โดยต้องแจ้งคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำและวางแผนในการดูแลครรภ์และคลอดได้อย่างปลอดภัย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

การป้องกันและดูแลตนเอง ให้รู้เท่าทันภาวะรกค้าง

คุณแม่ที่เคยเกิดภาวะรกค้างมาก่อนหรือยังไม่เคยเกิด ก็สามารถป้องกันและดูแลตนเองได้ขณะตั้งครรภ์ เช่น การศึกษาข้อมูล สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเกิดภาวะรกค้าง และหาวิธีป้องกัน ดังนี้

ภาวะรกค้างหลังคลอด  ภัยเงียบคร่าชีวิตที่คุณแม่ไม่ควรละเลย  แต่หากเข้าใจ  รู้วิธีการเตรียมตัว และปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยให้คุณแม่ปลอดภัย ไม่ต้องกังวลกับภาวะรกค้างหลังคลอดอย่างแน่นอน

 อ่านต่อ บทความน่าสนใจอื่นๆ คลิก

รกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะอันตราย ตายได้ทั้งแม่และลูก

รกเกาะติดแน่น อันตรายถึงต้องตัดมดลูก

ชมคลิป จำลองเหตุการณ์ “ภาวะตกเลือดหลังคลอด”


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

นพ.ปกรณ์ จักษุวัชร และ รศ.พญ. เฟื่องลดา ทองประเสริฐ.ความผิดปกติของรก (Placental abnormalities).

รศ.พญ.ประนอม บุพศิริ.รกค้าง (Retained placenta).

ศ.เกียรติคุณ พญ.พวงทอง ไกรพิบูลย์.รก (Placenta).