AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ภาวะน้ำท่วมปอด ในเด็กแรกเกิด เพราะผ่าคลอดตามฤกษ์

ภาวะน้ำท่วมปอดในเด็กแรกเกิด เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดที่ถูกผ่าคลอดตามฤกษ์ที่ไม่เหมาะสม

ภาวะน้ำท่วมปอด ในเด็กแรกเกิด กำลังเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน เนื่องจากแม่ท้องนิยมผ่าคลอด โดยยึดตามฤกษ์ผ่าคลอด ทั้ง ๆ ที่ร่างกายลูกยังไม่พร้อมที่จะคลอด มาดูกันค่ะ ว่าการผ่าคลอดตามฤกษ์ดี หรือ ฤกษ์สะดวกนั้น มีผลกระทบกับใครได้บ้าง

ภาวะน้ำท่วมปอด ในเด็กแรกเกิด เพราะผ่าคลอดตามฤกษ์

อะไรคือ ภาวะน้ำท่วมปอด?

เป็นอาการอย่างหนึ่ง ที่เกิดกับทารกคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากการที่โครงสร้างปอดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ และยังไม่ทันสร้างสารสร้างแรงตึงผิวขึ้นในถุงลม เมื่อมีเหตุที่จะต้องคลอดออกมา ระหว่างที่อยู่ในท้องแม่ ปอดของทารกยังไม่ทำงาน เต็มไปด้วยน้ำ ทารกยังไม่ต้องหายใจ ทารกจะได้รับออกซิเจนจากกระแสเลือดผ่านจากรกมาทางสายสะดือ ทันทีที่คลอดออกมา ทารกต้องเริ่มหายใจเอง ปอดของทารกจะขจัดน้ำออกไปเพื่อให้อากาศเข้ามาแทนที่ ในกรณีที่ทารกคลอดเร็วเกินไป ปอดไม่สามารถขจัดน้ำได้ทันท่วงที ทารกจะตกอยู่ในสภาวะน้ำท่วมปอด หายใจเร็วและหอบ ขาดออกซิเจน ดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด เหมือนคนกำลังจมน้ำ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายของทารกไม่สามารถสร้างสารเหล่านี้ได้เช่นกัน ทารกแรกเกิด 1% จะป่วยด้วยภาวะนี้ และยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกที่มีอายุครรภ์มากขึ้นจะพบเป็นภาวะนี้น้อยลง โดยทารกที่คลอดที่อายุครรภ์ 26-28 สัปดาห์ พบมีภาวะนี้ประมาณ 50% และทารกที่คลอดที่อายุครรภ์ 30-31 สัปดาห์ พบประมาณ 25% และยังพบบ่อยกว่าในทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นเบาหวาน และในทารกแฝดคนที่คลอดตามมาทีหลัง

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ ฤกษ์ผ่าคลอดสาเหตุของ ภาวะน้ำท่วมปอด ในเด็กแรกเกิด

ฤกษ์ผ่าคลอดสาเหตุของภาวะน้ำท่วมปอด ในเด็กแรกเกิด

ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนาไปจนถึงจุดที่การผ่าตัดคลอดเป็นไปได้อย่างปลอดภัย ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่าน เลือกที่จะผ่าตัดคลอดโดยอาศัยฤกษ์ที่ไปดูมาหรือฤกษ์สะดวก หากการเลือกวันผ่าตัดคลอดอยุ่ในช่วงของการตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 38-40 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมและปลอดภัยในการคลอด (ในยุโรปและอเมริกา ระบุว่าอายุครรภ์ที่ปลอดภัยที่สุดคือ 39 สัปดาห์ขึ้นไป) การผ่าตัดคลอดก็จะมีผลกระทบน้อย แต่หากเลือกวันผ่าตัดคลอดก่อนหน้านั้น เพราะฤกษ์ต้องคลอดวันนี้เวลานี้เท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กในท้องเป็นหลัก ก็จะมีผลกระทบ ดังนี้

ผลกระทบกับลูกในท้อง

ในกรณีที่ทารกคลอดเร็วเกินไป ปอดไม่สามารถขจัดน้ำได้ทันท่วงที จนเกิดภาวะน้ำท่วมปอด หายใจเร็ว หอบ และขาดออกซิเจน แต่ต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด เหมือนคนกำลังจมน้ำ โดยแพทย์จะพิจารณาให้อยู่ในตู้อบ ใช้ท่อออกซิเจนช่วยหายใจ โดยอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน แต่อาจเสี่ยงต่อ ภาวะแทรกซ้อน ปอดไม่ทำงาน ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ จนเสียชีวิต

คลิป ความทรมานของทารกแรกเกิดกับ ภาวะน้ำท่วมปอด

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ พัฒนาการระบบทางเดินหายใจและปอดของลูก

พัฒนาการระบบทางเดินหายใจและปอดของลูก

หลังการฝังตัวที่ผนังมดลูกประมาณ 3-4 สัปดาห์ ระบบทางเดินหายใจ จะเริ่มมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการขึ้นมา   ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ จนถึงแรกคลอด โดยแพทย์ได้แบ่งพัฒนาการของระบบทางเดินหายใจออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  1. ระยะที่มีการสร้างอวัยวะที่จำเป็นของระบบทางเดินหายใจ ระยะนี้จะมีการสร้างของท่อทางเดินหายใจ การสร้างหลอดเลือดบริเวณรอบ ๆ ทางเดินหายใจ กำหนดรูปร่างของปอด และส่วนประกอบที่สำคัญของปอด กะบังลมก็จะถูกสร้างขึ้นมาในระยะนี้ โดยในสัปดาห์ที่ 16-28 ของการตั้งครรภ์ ร่างกายจะเริ่มสร้างเซลล์ที่มีหน้าที่ในการสร้างสารลดแรงตึงผิว (หากขาดสารนี้ จะทำให้ทารกในครรภ์เกิดภาวะน้ำท่วมปอด) ซึ่งสารลดแรงตึงผิวนี้ จะเสร็จสมบูรณ์ และสามารถทำหน้าที่ได้เมื่ออายุครรภ์ 34 สัปดาห์
  2. ระยะปรับตัวต่อการหายใจในอากาศภายนอกครรภ์มารดา เมื่อแรกคลอด ปอดของลูกจะยังมีสารน้ำบรรจุอยู่ สารน้ำนี้ไม่ใช่น้ำคร่ำแต่เป็นผลรวมของพลาสมาที่กรองแล้ว หากเป็นการคลอดปกติ ในช่วงที่ทารกคลอดขณะที่ทรวงอกผ่านช่องคลอดของมารดาจะมีแรงกดจากมดลูก ผนังช่องคลอด และแรงดันในช่องท้องแม่  จะทำให้สารน้ำไหลจากส่วนบนของทางเดินหายใจออกมาทางปากและจมูกประมาณ และเมื่อคลอดออกมาแล้ว ทรวงอกที่เคยถูกกดก็จะขยายกลับสู่ปกติอและมีแรงยืดหยุ่นดึงเอาอากาศเข้ามาแทนที่สารน้ำ หากเป็นการผ่าตัดคลอด กระบวนการปรับตัวต่อการหายใจเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น และหากเป็นการผ่าตัดคลอดก่อนระยะเวลาที่ปอดของลูกจะพร้อมปรับตัว ก็จะทำให้มีความเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วมปอดได้
  3. ระยะที่มีการเจริญเติบโตเพิ่มและขยายขนาดของปอด ระยะนี้คือระยะเจริญเติบโตของปอดในช่วงหลังคลอด การเจริญเติบโตนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่างเช่น พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม ฮอร์โมน และการเจริญเติบโตของผนังทรวงอก เป็นต้น

การผ่าตัดตามฤกษ์คลอด ไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดีหรือไม่ควรทำ แม่พริมาเองก็เลือกที่จะผ่าตัดตามฤกษ์คลอดเช่นกัน  แต่สิ่งที่ควรจะคำนึงถึงก่อนการเลือกวันผ่าตัดตามฤกษ์ นั่นก็คือความพร้อมของลูกในท้องเป็นสำคัญค่ะ เพราะสำหรับลูกนั้น 1 วันก็สำคัญหากยังไม่พร้อม

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

13 ความเสี่ยงเมื่อ ลูกคลอดก่อนกำหนด

[เรื่องจริงจากหมอสูติฯ] คลอดเองตามธรรมชาติ หรือผ่าตัดคลอด อย่างไหนดีกว่ากัน?

คลอดธรรมชาติแบบบล็อคหลัง อีกหนึ่งทางเลือกของคุณแม่

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :

http://www.newtv.co.th/news/19331

www.youtube.com

http://th.wikipedia.org

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids