AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

หมอรามาแนะเทคนิค! เอาชนะ “อาการแพ้ท้อง” แบบถูกต้อง

อาการแพ้ท้อง เป็น อาการที่บ่งบอกว่าเรากำลังจะเป็นแม่คน ซึ่งอาการแพ้ท้องจะเกิดขึ้นในช่วงประมาณ 6 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่หลายท่านมักเป็นกังวลมากว่าการแพ้ท้องจะมีผลต่อลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง เราจึงมีวิธีที่จะช่วยลด อาการแพ้ท้อง จากคุณหมอจากโรงพยาบาลรามาธิบดี มาฝากค่ะ

อาการแพ้ท้อง ที่คุณแม่ควรรู้!

ในทางการแพทย์ การแพ้ท้อง คือ การที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สูงทำให้กระเพาะอาหารมีการบีบตัวน้อยลง จึงทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ทั้งนี้อาการแพ้ท้อง คือ การคลื่นไส้อาเจียน คุณแม่ท้องบางคนอาจจะแพ้กลิ่นหรืออาหารบางประเภท เชื่อว่าอาการแพ้ท้องเกิดจากการที่ร่างกายของหญิงตั้งครรภ์ มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สูงทำให้กระเพาะอาหารมีการบีบตัวน้อยลง

♥ Must read : 15 สัญญาณ คุณอาจเป็น ‘แม่ท้องคนใหม่’

อาการของอาการแพ้ท้อง มีอะไรบ้าง

อาการ คัดเต้านมจะเหมือนกับอาการแน่แน่นเต้านมช่วงก่อนมีประจำเดือน แต่อาการจะมากกว่าและไม่ลดลง มักจะเกิดหลังจากที่ไข่ได้ผสมกับตัวเชื้อแล้วประมาณ 2 สัปดาห์

ระยะเวลาที่จะเกิดอาการแพ้ท้อง หลังจากตั้งครรภ์

ระยะเวลาที่จะเกิดอาการแพ้ท้องนั้น คุณแม่แต่ละท่านจะเกิดในเวลาที่ไม่เท่ากัน อาจเป็นเพราะ ฮอร์โมน และการเจริญเติบโตของตัวอ่อน แต่จะเกิดอาการแพ้ท้องเริ่มแรกในช่วง 6 สัปดาห์แรก หลังจากปฏิสนธิ ซึ่งบางท่านอาจจะเกิดเร็ว หรือช้ากว่านี้ นิดหน่อย – และอาการแพ้ท้อง คุณแม่โดยทั่วไปจะหยุดแพ้ท้องช่วง 20 สัปดาห์ หรือ จะมีบางท่านที่แพ้ท้องไปตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ หรือบางท่าน ก็จะมีอาการแพ้ๆ หยุดๆ แล้วก็แพ้ท้องอีก ก็มีเหมือนกัน

จากสถิติพบว่า คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ มีอาการแพ้ท้องเกินกว่า 50 % โดยเฉพาะในระยะ 3 เดือนแรกที่เริ่มตั้งครรภ์ จะมีอาการเยอะ

อ่านต่อ >> “ระดับของอาการแพ้ท้อง ที่แม่ท้องควรรู้” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

สาเหตุของอาการแพ้ท้อง

อาการแพ้ท้องนั้น มีสาเหตุมาจาก 2 ประการ คือ

ระดับของอาการแพ้ท้อง

จะแบ่งออกได้ 3 ระดับจากน้อยไปมาก ดังต่อไปนี้…

1. มีอาการแพ้ท้องระดับเล็กน้อย Morning Sickness

จะมีอาการแพ้ท้อง ในช่วงเช้าของวัน โดยจะมีอาการคลื่นใส้ วิงเวียนศรีษะ อาเจียนบ้างบางครั้ง และรับประทานอาหารได้น้อยลง ระดับนี้ เป็นระดับที่ไม่น่าเป็นห่วง สามารถใช้วิธีช่วยลดอาการแพ้ท้องได้ ซึ่งสามารถอ่านได้ที่ท้ายบทความ

2. มีอาการแพ้ท้องระดับปานกลาง

คุณแม่ที่มีอาการในระดับนี้ จะมีอาการดังนี้คือ มีอาการคลื่นใส้ อาเจียน กินอะไรไม่ได้เลย ถึงจะพักผ่อนอย่างไร ก็ไม่ทำให้อาการดีขึ้นเลย คุณแม่ที่มีอาการอย่างนี้ ต้องรีบไปพบแพทย์ เพื่อให้คุณหมอดูแลรักษา โดยคุณหมอจะให้น้ำเกลือ ฉีดกลูโคส เพื่อระงับอาการอ่อนเพลียเนื่องจากอาเจียน และคุณหมอจะจ่ายยาระงับอาการคลื่นใส้ ซึ่งต้องกินก่อนจะมีอาการแพ้ รวมทั้งคุณหมอจะแนะ วิธีการปรับตัวในการรับประทานอาหาร ซึ่งพบแพทย์แล้ว อาการของคุณแม่จะดีขึ้น

3. มีอาการแพ้ท้องระดับรุนแรง Hyperemesis Gravidarum

เป็นอาการแพ้ท้องของคุณแม่ที่มีอาการรุนแรง ซึ่งโดยทั่วๆไป จะพบได้เพียง 0.3-2 เปอร์เซ็นต์ของคุณแม่ตั้งครรภ์ทั้งหมด ซึ่งกลุ่มนี้จะมี อาการแพ้ท้องเร็วกว่าและ ยาวนานกว่า คุณแม่โดยทั่วไป โดยจะมีอาการอาเจียนมาก จนกินอะไรไม่ได้เลย บางรายอาเจียนจนคออักเสบ เลือดจากเยื่อบุลำคอผสมออกมากับอาเจียน จนถึงเลือดออกใต้เยื่อบุตา อาเจียนมากจนทำให้ร่างกายขาดน้ำและอาหาร จนอ่อนเพลียมาก ผู้ที่มีอาการแพ้ท้องระดับนี้ ต้องพบแพทย์และอยู่ใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้แพ้ท้องมากผิดปกติ ได้แก่

คลิกหน้า 3 เพื่อชมคลิป >> หมอรามาแนะ! วิธีดูแลแม่ท้องที่ถูกต้อง เมื่อมีอาการแพ้ท้อง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ผลกระทบของการแพ้ท้องมากผิดปกติ

ในกรณีที่คุณแม่มีอาการแพ้ท้องไม่มากนัก มักไม่มีปัญหา โดยทั่วไปอาการแพ้ท้องจะเป็นมากในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หลังจากนั้นอาการทั้งหลายจะค่อยๆดีขึ้น สามารถรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มได้มากขึ้น

คุณแม่ต้องสังเกตตัวเอง ถ้าน้ำหนักลดจากก่อนท้อง 4-5 กก. ขึ้นไป กินอะไรไม่ได้เลย ดื่มแต่น้ำก็ยังอาเจียน ควรไปพบสูติแพทย์ที่ฝากครรภ์ เพราะถ้าปล่อยไว้จะส่งผลเสีย คือ ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ ระบบต่าง ๆ ในร่างกายแปรปรวน อาจถึงขั้นไตวายได้

ช่วงแพ้ท้องที่คุณแม่ที่กินอาหารไม่ได้ ร่างกายจะไม่มีพลังงานก็จะดึงเอาไขมันที่มีอยู่ในร่างกายมาใช้ จนอาจเกิดภาวะความเป็นกรดในร่างกาย ทำให้ออกซิเจนในเลือดน้อยลง เรียกว่าภาวะแลคคีโตนซิส ทำให้ตัวอ่อนได้ออกซิเจนไม่เต็มที่ เพราะมีแต่ของเสียในอยู่ร่างกายค่ะ

แต่ในกรณีที่มีอาการแพ้ท้องมากผิดปกติ คุณแม่ตั้งครรภ์จะไม่สามารถรับประทานอาหารได้เพียงพอ และมีภาวะขาดน้ำด้วย แพทย์ต้องให้ความช่วยเหลือแก้ไขอาการที่แพ้มากเหล่านี้ เพราะหากปล่อยนานไป จะมีผลต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกแน่นอน

แพ้ท้องน้อย-ไม่แพ้เลย อันตรายไหม?

คุณแม่ที่มีอาการแพ้น้อยหรือแทบไม่แพ้เลยอาจจะกังวลว่า แล้วแบบนี้เจ้าตัวเล็กจะแข็งแรงหรือเปล่า อันตรายมั้ย ตอบให้สบายใจว่าไม่อันตรายค่ะ ถ้าคุณแม่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีเลือดออกในช่วงตั้งครรภ์ ก็ถือว่าโชคดีที่คุณแม่แพ้น้อย หรือไม่แพ้เลย เพราะคุณแม่จะสามารถกินอาหารได้ปกติ และไม่ต้องทรมานกับอาการแพ้ท้อง

เพราะจริง ๆ แล้ว อาการแพ้ท้องจะมากหรือน้อยนั้นแล้วแต่คนค่ะ ไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าทำไมจึงแพ้ไม่เท่ากัน สิ่งสำคัญคือคุณแม่ต้องทำใจสบายๆ อย่าเครียด บางคนอาการแพ้ท้องหายไปนานแล้ว แต่ยังดูเหมือนว่าแพ้อยู่เพราะความเครียด ความกังวลนั่นเองค่ะ

โดยปกติอาการแพ้ท้องจะหายไปในช่วงประมาณ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ แต่ส่วนใหญ่ 90% อาการแพ้ท้องหายสนิทเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 5 เดือน

ทั้งนี้อาการแพ้ท้องอาจเป็นกันได้ทุกคนแต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลเรามีวิธีช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้อง ลองไปชมคลิป >> หมอรามาแนะนำ วิธีดูแลแม่ท้องที่ถูกต้อง เมื่อมีอาการแพ้ท้อง ได้ที่ด้านล่างนี้เลยค่ะ ⇓

ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : RAMA CHANNEL

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.rakjung.com , www.vitamin24hr.com