คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนคงเคยพบกับปัญหาสิวขึ้น หรือรูขุมขนอักเสบขณะตั้งครรภ์ โดยมีสิวขึ้นตามลำตัวหรือทั่วใบหน้า ซึ่งเป็นเรื่องกวนใจคุณแม่เป็นอย่างมาก มาทำความรู้จักสิว หรือรูขุมขนอักเสบว่าเกิดจากอะไร เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือไม่ และ รักษาสิว อย่างไรดีขณะตั้งครรภ์
สิวขึ้นตอนตั้งครรภ์เกิดจากอะไร?
โดยปกติสิวที่ขึ้นตอนตั้งครรภ์ มักเกิดจากฮอร์โมนที่แปรปรวน และพบว่าคุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนมีสิวขึ้นง่าย ซึ่งมักจะขึ้นในช่วงตั้งครรภ์เดือนที่ 3 ขึ้นไป บางคนอาจจะขึ้นช่วงเดือนที่ 5-7 และเพิ่มมากขึ้นเมื่อใกล้คลอด หรือคุณแม่บางคนอาจเป็นสิวได้ตั้งแต่ 1-2 สัปดาห์แรกที่ทราบว่าตั้งครรภ์
รูขุมขนอักเสบ คืออะไร?
รูขุมขนอักเสบ คืออาการของรูขุมขนที่ติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา ทำให้เกิดเป็นตุ่มแดงเล็กๆ หรือสิวหัวขาวขึ้นบริเวณผิวหนังที่มีการอักเสบ พบได้ทุกส่วนของร่างกายที่มีขน โดยเฉพาะหนังศีรษะ หน้าอก หลัง ก้น แขน และขา อาการดังกล่าวนั้นสามารถหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์ แต่ในกรณีที่ไม่ดีขึ้นอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อ
รูขุมขนอักเสบขณะตั้งครรภ์ มักเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ อาการนี้จะหายได้เองหลังคลอดประมาณ 2-3 สัปดาห์ โดยผื่นที่เกิดขึ้นนั้นจะมีลักษณะเป็นตุ่มแดงขนาดเล็ก และอาจจะมีหนองหรือไม่มีหนองก็ได้ ส่วนสาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร เนื่องจากมีงานวิจัยต่างๆ ระบุถึงสาเหตุที่แตกต่างกัน เช่น เกิดจากแบคทีเรีย เชื้อรา ยา หรือสารเคมี เป็นต้น แต่ไม่ได้มีสาเหตุจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่อย่างใด โดยจากสถิติพบว่า ในคุณแม่ตั้งครรภ์จำนวน 3,000 คน จะมี 1 คนที่เป็นภาวะรูขุมขนอักเสบ
ชมคลิป “อาการรูขุมขนอักเสบและคันในภาวะตั้งครรภ์” ได้ที่นี่
อ่านต่อ “รักษาสิว ให้ปลอดภัยต่อคุณแม่ตั้งครรภ์” คลิกหน้า 2
รักษาสิว ให้ปลอดภัยต่อคุณแม่ตั้งครรภ์
มีข้อมูลจาก พญ.ปนัดดา บรรยงวิจัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากเพจ “คนท้อง ก็ต้องสวย by หมอนุ่น” แนะนำเรื่องการรักษาสิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์เอาไว้ ดังนี้
1.สิวอักเสบ ทายาแก้อักเสบ เช่น Clindamycin gel, Erythromycin gel เป็นต้น
2.สิวอุดตัน แบบไม่มีหัว ทายาละลายหัวสิว เช่น Benzac รอหัวสิวผุดออกมาแล้วค่อยบีบหรือกดสิว
3.สิวอุดตันแบบมีหัว บีบ หรือกดสิวอย่างระมัดระวัง ไม่ให้เป็นรอยแผลเป็น รอยดำ และหากบีบไม่หมดอาจเกิดการอักเสบตามมา และอาจกลายเป็นหัวหนองได้
การดูแลตนเองให้ไกลสิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
1.หมั่นล้างหน้า และทำความสะอาดผิว ควรใช้คลีนซิ่ง หรือเจลล้างหน้าสูตรอ่อนโยน และไม่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ
2.ใช้ครีมบำรุงที่ปลอดภัย ชนิดที่ไม่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ
3.หลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง เช่น สบู่, สครับ, กรดผลไม้, การพอกต่างๆ และเครื่องสำอาง
4.หลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดการอุดตัน เช่น รองพื้น, CC ครีม, BB ครีม ควรใช้ครีมกันแดดที่มีเนื้อบางเบา แต่ SPF สูง
อ่านต่อ “การรักษารูขุมขนอักเสบ” คลิกหน้า 3
การรักษารูขุมขนอักเสบ
การรักษาอาการรูขุมขนอักเสบ และคันขณะตั้งครรภ์ จะเหมือนการรักษาสิวทั่วไป โดยยาที่คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถใช้ได้ ได้แก่ เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) เป็นยาที่ใช้อย่างแพร่หลายและได้ผลดี
ยาห้ามใช้ในคุณแม่ตั้งครรภ์ ได้แก่
- ยาที่ใช้รักษาโรคผิวหนัง รักษาสิว กลุ่มเรตินอย (Retinoids) เช่น Isotretinoin และ Acne Vulgaris
- ยาต้านมะเร็ง (antineoplastic agents) เช่น Methotrexate
- ยาแก้คัน (Antipruritic Agents) เช่น Trimeprazine และ Doxepin
- ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) เช่น Tetracycline และ Ciprofloxacin
- ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non Steroidal Anti-Inflammatory Drugs (NSAID)) บางชนิด เช่น Indomethacin
- ยาใช้ทาภายนอก (Topical agents) เช่น povidone-iodine และ podophyllin
การป้องกันและดูแลรูขุมขนอักเสบ
สำหรับการดูแลตัวเองนั้น แนะนำให้คุณแม่ปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้ค่ะ
- สวมใส่เสื้อผ้าที่สบาย ไม่รัดแน่นจนเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงการอับชื้น เพราะจะยิ่งทำให้เกิดการระคายเคืองมากขึ้น
- อย่าเกาบริเวณที่มีอาการอักเสบโดยเด็ดขาด เพราะอาจจะส่งผลให้เกิดการลุกลามได้
- หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยสบู่และน้ำสะอาด
- ทำความสะอาดเสิ้อผ้า ชุดเครื่องนอน และผ้าเช็ดตัวด้วยน้ำร้อนเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่น
- อาบน้ำเป็นประจำทุกวันด้วยสบู่ที่อ่อน เพื่อป้องกันการระคายเคืองจากสารเคมีที่อยู่ในส่วนผสมของผลิตภัณฑ์อาบน้ำ
- หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น เพราะอาจจะยิ่งทำให้ผิวแห้ง และคันมากขึ้นได้
- หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดตัวหรือของใช้ส่วนตัวร่วมกันกับผู้อื่น
- หลีกเลี่ยงการทาน้ำมันบนผิวหนัง เพราะน้ำมันอาจดักจับเชื้อโรคและจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดการอักเสบขึ้น
- พักผ่อนให้เพียงพอ และเลือกรับประทานแต่ของที่มีประโยชน์
- ประคบบริเวณที่มีอาการด้วยผ้าชุบน้ำเกลืออุ่น ๆ เป็นประจำทุกวัน เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวด
หากคุณแม่มีอาการคันจนทนไม่ไหว แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ห้ามซื้อยารับประทานหรือทาเองโดยเด็ดขาด
ขอบคุณที่มา: Honestdocs และ Pobpad
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม คลิก!!
เป็นสิวตอนท้อง รักษาอย่างไรไม่กระทบลูก
10 ข้อห้ามคนท้อง ที่ต้องระวังขณะตั้งครรภ์
รีวิว เจลแต้มสิว หน้าใสไร้สิวด้วยธรรมชาติ แม่ให้นมบุตรใช้ได้ปลอดภัย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่