จากรายงานข่าวล่าสุด (11 ก.ย. 59) พบผู้ติดเชื้อ ไวรัสซิกา ในกรุงเทพมหานคร 28 คน เป็นคุณแม่ตั้งครรภ์ 2 คน และพบว่ามีอยู่ในเขตสาทรสูงสุด 22 คน จึงมีการเร่งดำเนินการป้องกัน และควบคุมการติดเชื้อโรคระบาด ถึงแม้ตอนนี้ยังไม่มีผู้เสียชีวิต แต่พ่อแม่ต้องระมัดระวังยุงลายให้ดี
สถานการณ์ ไวรัสซิกา
จากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าจังหวัดที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ จันทบุรี บึงกาฬ ซึ่งเป็น 4 จังหวัดที่ต้องเฝ้าระวังมากเป็นพิเศษ รองลงมาคือ กรุงเทพฯ สมุทรสาคร สมุทรปราการ ลำพูน หนองคาย อุดรธานี ศรีสะเกษ ราชบุรี กระบี่ ภูเก็ต และเพชรบูรณ์
ไวรัสซิกาเป็นโรคที่มียุงเป็นพาหะ ส่งผลต่อคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก ทำให้ลูกน้อยในครรภ์เกิดความผิดปกติ จนถึงขั้นเสียชีวิต และไม่ใช่แค่เพียงคุณแม่ตั้งครรภ์เท่านั้นที่ติดเชื้อ เมื่อคุณพ่อ คุณแม่ และลูกน้อยติดเชื้อไวรัสซิกา จะมีอาการ ไข้ มีผื่นแดง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ตาแดง อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่ประมาณ 2-7 วัน แล้วจะหายไปเอง แต่ถ้ามีอาการรุนแรงควรรีบพบแพทย์
อ่านต่อ “ไวรัสซิกา เรื่องที่พ่อแม่ควรรู้ และเตรียมรับมือ” คลิกหน้า 2
ไวรัสซิกา เรื่องที่พ่อแม่ควรรู้ และเตรียมรับมือ
นายแพทย์ปรีดา มาลาสิทธิ์ ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. ได้ศึกษาไวรัสซิกา และไวรัสเด็งกี่ไข้เลือดออก พบว่ามีความคล้ายกัน
2.ทารกในครรภ์ที่ติดเชื้อ สมองลีบทุกคนจริงหรือ?
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ทารกในครรภ์ที่ติดเชื้อไม่ได้สมองลีบทุกคน แต่จะพบความผิดปกติเกิดขึ้นกับทุกคน ส่งผลต่อการทำงานของแขนขา โดยอาจแสดงอาการช่วง 2-3 ขวบก็เป็นได้
3.อายุครรภ์แค่ไหน ปลอดภัยกว่ากัน?
ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้อในสัปดาห์ที่ 12-18 เชื้อจะเข้าสู่สมองลูกน้อยโดยตรง ถ้าติดเชื้อสัปดาห์ที่ 24-36 ขึ้นไป เชื้อจะอาศัยอยู่ในรก ทำให้เกิดการอักเสบต่อสมอง นั่นแสดงว่าอายุครรภ์เท่าไหร่ก็ไม่ปลอดภัย
ไข้ซิกามีอาการบ่งชี้น้อยมาก โดยรวมคือมีไข้ ตาแดง ผื่น ปวดกล้ามเนื้อ ข้อ หรือศีรษะ เป็นอาการเริ่มต้นเหมือนไวรัสอื่นๆ และโรคฉี่หนู อาการจะเบาลงใน 2-7 วัน ถ้ารักษาอย่างถูกต้อง แต่ถ้าปล่อยไว้ อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ระบบการทำงานของสมองผิดปกติ ไม่สามารถแยกแยะเองได้ว่าติดเชื้ออะไร ต้องให้แพทย์วินิจฉัยเท่านั้น ซิกาจะอยู่ในเลือด 5 วัน หลังจากติดเชื้อ และ 14 วันในปัสสาวะ จากนั้นจะเข้าสู่รก ซึ่งมีโอกาสตรวจเจอน้อยมาก
5.ถ้าที่บ้านมีคนติดเชื้อจะทำอย่างไร?
ดูแลเหมือนคนเป็นไข้เลือดออก ป้องกันตนเองจากยุงลาย กำจัดแหล่งลูกน้ำ กางมุ้ง ทาโลชั่นกันยุง งดมีเซ็กส์กับผู้ป่วย เพราะไวรัสซิกาติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
รณรงค์ป้องกันโรคจากยุงลาย
เป็นที่รู้ๆ กันดีอยู่แล้วว่ายุงลาย เป็นพาหะนำโรคได้หลายชนิด ทั้งโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคปวดข้อยุงลาย การกำจัดแหล่งน้ำจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่เราต้องทำ โดยการเก็บบ้าน เก็บขยะ และเก็บน้ำให้มิดชิด ไม่ปล่อยให้น้ำท่วมขังเอาไว้เป็นเวลานาน
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
[KidSafety] รวมสุดยอดเทคนิค พิชิตเจ้ายุงตัวร้ายหน้าฝน
วิธีกำจัดยุง โดยไม่ใช้สารเคมี ลูกน้อยปลอดภัยจากยุงร้าย
สารพัดวิธีกำจัดยุงร้าย ใกล้ลูกน้อยแบบปลอดภัย
Save
Save
Save
Save
Save
Save