โรคเทรชเชอร์ คอลลินส์ ซินโดรม ทำเอาลูกเกือบมีชีวิตไม่รอด แต่เพราะความรักทำให้ปาฏิหาริย์เกิดขึ้น
โจซิลีน แม่ของ วิตอเรีย มาร์จิโอลี เล่าว่า ตอนที่ วิคตอเรีย คลอดออกมา คุณหมอคนที่ทำคลอดบอกให้พวกเราทุกคนทำใจ เพราะ วิคตอเรีย สามารถจบชีวิตลงได้ทุกเมื่อ ให้ทำใจรอว่าเมื่อไหร่เท่านั้น!
โดยคุณหมอบอกว่า วิคตอเรีย เป็น โรคเทรชเชอร์ คอลลินส์ ซินโดรม เกิดจากการมียีนที่ผิดปกติ ทำให้กระดูก 40 ชิ้นและเนื้อเยื่อบนใบหน้าหยุดการพัฒนา อวัยวะบนใบหน้าจึงอยู่สะเปะสะปะไม่เป็นรูปเป็นร่างในแบบที่ควรจะเป็น แพทย์ไม่ได้ช่วยรักษาให้ เพราะเห็นว่าเกินกำลังแล้ว
ทั้งวิคตอเรียและโจซิลีน ตัดสินใจพากันกลับบ้านหลังจากที่ใช้เวลาอยู่ที่โรงพยาบาลนาน 1 สัปดาห์ ก่อนกลับคุณฆมอบอกว่า ให้ทำใจ เพราะการที่จะรักษา วิคตอเรีย นั้นเป็นไปได้ยากมากจริง ๆ
เรื่องราวของ วิคตอเรีย จะเป็นอย่างไร จะมีชีวิตรอดหรือไม่ ติดตามต่อได้ที่หน้าถัดไป
แต่ด้วยอาณุภาพแห่ง รักแท้ของพ่อแม่ ทำให้ปาฏิหาริย์เกิดขึ้น!!
พ่อแม่ของเธอไม่ยอมแพ้! และพยายามต่อสู้ทุกอย่างเพื่อรักษาลมหายใจของ วิคตอเรีย เอาไว้ แน่นอนว่า กว่าที่ครอบครัวของเธอจะผ่านจุดนั้นมาได้นั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย ตอนนี้ วิคตอเรีย มีอายุได้ 9 ปีแล้ว และตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา เธอต้องเข้ารับการผ่าตัดมากถึง 8 ครั้งเลยละค่ะ
“แม้แต่คุณหมอก็ไม่สามารถที่จะอธิบายได้เลยว่า ทำไมลูกสาวของพวกเรา ถึงยังมีชีวิตอยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้ แต่ผมเชื่อว่า สาเหตุที่ทำให้ วิคตอเรีย มีชีวิตรอดนั้น เป็นเพราะ รักแท้ของพวกเรา ที่คอยเอาใจใส่ดูแลเธอ” คุณพ่อของวิคตอเรียกล่าว
ทำความรู้จักเพิ่มเติมกับ โรคเทรชเชอร์ คอลลินส์ ซินโดรม
โรคดังกล่าวนี้ ไม่ค่อยพบได้บ่อยค่ะ เรียกได้ว่า 1 ต่อ 50,000 คนของเด็กเกิดมีชีพ จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติของใบหน้าและขากรรไกรล่าง ส่วนใหญ่พบมีการกลายพันธุ์ของยีนต้นเหตุของโรคโดยไม่พบมีใครในครอบครัวเป็นโรคเดียวกัน แสดงว่าเป็นจากปัจจัยภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม ไม่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อแม่เสมอไป แต่ตัวผู้ป่วยเองจะถ่ายทอดโรคไปยังลูกหลานต่อได้ การกลายพันธุ์ของยีนที่ว่านี้จะเกิดขึ้นในช่วงที่ตัวอ่อนในครรภ์มีอายุ 5-6 สัปดาห์ ทำให้ส่วนโค้งแบรงเคียลทั้งสองข้างไม่สามารถเจริญเติบโตไปเป็นส่วนต่าง ๆ บนใบหน้าได้ตามปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระดูกโหนกแก้ม ขากรรไกรล่าง ใบหูและหูชั้นกลาง
ลักษณะเด่นของโรคคืออะไร อ่านต่อคลิก!
เครดิต: The Mirror
ลักษณะเด่นของโรคนี้ คือ
- โหนกแก้มเล็กผิดปกติ
- แนวผมบริเวณขมับต่ำและจอนยื่นเข้ามาในแก้ม
- ขากรรไกรล่างเล็กผิดปกติ
- รอยแหว่งที่มุมปาก ทำให้ปากดูกว้างกว่าปกติ
- ความผิดปกติของหู
- ใบหูผิดรูป
- การนำเสียงบกพร่อง จากการตีบตันช่องหูชั้นนอกและหูชั้นกลางไม่สมบูรณ์
- มีติ่งเนื้อบริเวณหู ความผิดปกติของตา
- ช่องหว่างหนังตาเอียงลง
- เนื้อตาล่างแหว่ง
- ขนตาล่างบางส่วนหายไป
การสังเกตผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้นั้นไม่ยากค่ะ สามารถสังเกตได้จากใบหน้า ปัจจุบันเรารู้จักโรคนี้ดีขึ้นมากและทำด้วยการผ่าตัดแก้ไขความพิการบนใบหน้าได้ดีกว่าสมัยก่อนแล้วละค่ะ
เครดิต: ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่