AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

Hydrocephalus โรคน้ำในสมองในทารก

Hydrocephalus โรคน้ำในสมองในทารก

จากข่าวที่พบเด็กทารกวัย 1 ขวบ ป่วยเป็นโรคน้ำในสมอง (Hydrocephalus)  โดยมีขนาดรอบศีรษะใหญ่มากคือ 90 เซนติเมตรและมีน้ำหนักมาก ลักษณะตึงเหมือนลูกโป่งที่จะแตก หนูน้อยมองไม่เห็นและไม่เคยได้รับการรักษาทำให้ศีรษะโตขึ้นๆ เพราะหมอบอกว่าหนูน้อยจะเสียชีวิต

ทารกวัย 1 ขวบ ป่วยเป็นโรคน้ำในสมอง (Hydrocephalus)

สาเหตุ

พอ.นพ.ศุภกิจ สงวนดีกุล กล่าวว่า ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus) มีหลายสาเหตุ ก่อให้เกิดภาวะเพิ่มความดันในกะโหลกศีรษะ เกิดความผิดปกติทางระบบประสาท มีอันตรายถึงชีวิต จึงต้องมีความรู้ความเข้าใจ และรักษาให้ถูกต้อง ซึ่งผลการรักษามักดีเยี่ยม

น.พ.ธนัฐ วานิยะพงศ์ เปิดเผยว่า โรคน้ำในสมองเป็นโรคที่เกิดจากการผิดปกติของร่างกายตั้งแต่เกิด พบในเด็กอายุประมาณ 1 ปี และพบประมาณ 1% ของเด็กที่เกิด

อาการ

อาการของโรค คือ ท่อน้ำเลี้ยงในสมองอุดตัน ทำให้น้ำที่ส่งเข้าไปเลี้ยงในสมอง ไม่สามารถถูกดูดซึม และกลับลงมาไหลเวียนในร่างกายได้ ทำให้ศีรษะโตขึ้น ตามปกติเด็กอายุ 1 ปี กะโหลกศีรษะต้องปิด แต่เด็กที่มีศีรษะผิดปกติแบบนี้ น้ำจะไปแทนที่ส่วนกะโหลก ทำให้กะโหลกศีรษะยังเปิดอยู่และขยายตัวขึ้น ถ้าปล่อยไว้การใช้ชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเดิน นั่ง ยืน นอนลำบาก ถ้ารุนแรงมากอาจถึงขั้นเสียชีวิต

อาการที่แสดงออกมา มีดังนี้

1.หัวบาตร หัวโตกว่าปกติ รอยต่อกะโหลกศีรษะแยกออกจากกัน รอยเปิดกะโหลกโป่งตึง

2.หนังศีรษะบางและเห็นเส้นเลือดดำ เสียงเคาะกะโหลกเหมือนหม้อแตก

3.อาการแสดงของความดันในกะโหลกศีรษะสูง ปวดศีรษะ ตามัว อาเจียน

4.ตากลอกลงล่าง กลอกขึ้นบนไม่ได้ เนื่องจากมีการกดบริเวณสมอง

5.ตาเขเข้าในมองไปด้านข้างไม่ได้ มองเห็นภาพซ้อน รีเฟลกซ์ไวเกินไป

6.การหายใจผิดปกติ การพัฒนาการช้ากว่าปกติ สติปัญญาต่ำกว่าปกติ ปัญญาอ่อน

7.เด็กเลี้ยงยากไม่ทานอาหาร ไม่เจริญเติบโตตามวัย

คลิกอ่านต่อหน้า 2

การตรวจโรค

1.การตรวจด้วยคลื่นเสียงอัลตราซาวน์ ตรวจหาความผิดปกติตั้งแต่ในครรภ์ และในเด็กทารก (ซึ่งกะโหลกยังบางและยังเปิด) ปัจจุบันสามารถตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นเสียงอัลตราซาวน์ 3 มิติ หาความผิดปกติในระบบประสาทที่พบร่วมกับภาวะน้ำคั่งในโพรงสมองตั้งแต่อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ และผ่าตัดรักษาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เช่น อัลตราซาวน์นำในการใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองทารกในครรภ์

2.การตรวจด้วยการส่องไฟฉาย ไฟฉายส่องหัวในเด็กเล็ก (กะโหลกบาง) ที่มีภาวะน้ำคั่งในโพรงสมองแสงจะส่องผ่านกะโหลกศีรษะและเห็นแสงสว่างภายในกะโหลกเนื่องจากมีน้ำมาก

3.การเจาะหลัง เพื่อการวินิจฉัยโรคติดเชื้อและเลือดออกใต้เยื่อบุสมอง นำน้ำหล่อสมองและไขสันหลังไปตรวจเพื่อการรักษา เมื่อยังไม่สามารถใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองได้เพราะการติดเชื้อโปรตีนสูงเช่นการติดเชื้อวัณโรค มีเม็ดเลือดแดงมาก มีโอกาสเกิดการอุดตันภายในสายระบายน้ำในโพรงสมอง

4.การเจาะถุงน้ำคร่ำ นำน้ำคร่ำมาตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์

การรักษา

1.การรักษาด้วยยาขับปัสสาวะ ช่วยลดการสร้างน้ำหล่อสมองและไขสันหลัง ประมาณ 25-50%

2.การรักษาด้วยการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองออกนอกร่างกาย หรือสู่ช่องในร่างกาย โดยผ่าตัดใส่สายระบายจากโพรงสมองลงช่องท้อง ช่องหัวใจ ช่องปอด ช่องใต้เยื่อหุ้มสมอง หรือโพรงสมองทารกในครรภ์ลงถุงน้ำคร่ำ

เครดิต: สนุ๊ก สะพานบุญ, ข่าวสด, ไทยรัฐ, พอ.นพ.ศุภกิจ สงวนดีกุล