ลูกดิ้น หรือทำอะไรบ้าง ตอนอยู่ในท้องแม่? (มีคลิป) - amarinbabyandkids
ลูกดิ้น

ลูกดิ้น หรือทำอะไรบ้าง ตอนอยู่ในท้องแม่? (มีคลิป)

event
ลูกดิ้น
ลูกดิ้น
การดิ้นของทารกในครรภ์
การดิ้นของทารกในแต่ละอายุครรภ์

และจากการอัลตร้าซาวน์ก็ทำให้คุณแม่สามารถมองเห็นและได้รู้ว่า ในแต่ละอายุครรภ์ การเคลื่อนไหวของลูกน้อยมีพัฒนาการไปอย่างไรบ้าง ว่าแล้วก็ไปดูกันเลย

  • อายุครรภ์ 7-8 สัปดาห์ ลูกน้อยเริ่มหมุนตัวไปมา เช่น งอตัวไปด้านข้าง และมีอาการผวา ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติ ไม่ได้เป็นเพราะลูกน้อยหวาดกลัวหรือตกใจแต่อย่างใด
  • อายุครรภ์ประมาณ 9 สัปดาห์ เจ้าตัวน้อยเริ่มขยับแขนขาน้อยๆ รวมทั้งยังเริ่มที่จะดูดนิ้วและฝึกหัดการกลืนอีกด้วย
  • อายุครรภ์ประมาณ 10 สัปดาห์ สามารถขยับศีรษะ ยกมือขึ้นมาสัมผัสใบหน้าตนเอง อ้าขากรรไกร รวมทั้งยังยืดเหยียดลำตัวได้ด้วย
  • อายุครรภ์ประมาณ 12 สัปดาห์ ในช่วงนี้หนูน้อยไม่เพียงยืดเหยียดลำตัวบิดขี้เกียจ แต่ยังสามารถหาวไปพร้อมๆ กันได้ด้วย
  • อายุครรภ์ประมาณ 14 สัปดาห์ลูกน้อยสามารถขยับลูกตาได้แล้ว
  • หลังจาก 15 สัปดาห์เป็นต้นไป การเคลื่อนไหวของเจ้าตัวน้อยแรงขึ้นจนคุณแม่สัมผัสได้ ในช่วงแรกๆ อาจรู้สึกเหมือนมีปลาตัวน้อยตอดอยู่ในท้อง พอเข้าสู่ช่วงท้ายของไตรมาสที่สอง คุณจะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวร่างกายของลูก เตะ ต่อย พลิกตัว หรือกระทั่งสะอึก
  • และยิ่งอายุครรภ์มากขึ้นเท่าไร เจ้าตัวน้อยก็จะใช้เวลาไปกับการนอนหลับพักผ่อนมากขึ้น ประมาณครั้งละ 20 นาที หรือหนูน้อยบางรายอาจนอนหลับนานถึงครั้งละ 50 – 75 นาที เลยทีเดียว

อย่างไรก็แล้วแต่ การดิ้นของทารกในครรภ์ จะบ่งบอกถึงสุขภาพที่แข็งแรงของลูกได้ แต่หากสังเกตว่าการที่ลูกดิ้นน้อยลงเป็นสิ่งที่ต้องระวัง เพราะมักเกิดร่วมกับภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง และอยู่ในภาวะที่อันตราย โดยพบว่าลูกจะดิ้นน้อยลง หรือหยุดดิ้น 12-24 ชั่วโมงก่อนที่จะเสียชีวิต การนับลูกดิ้นจึงเป็นวิธีง่ายๆ ที่คุณแม่สามารถใช้ในการดูแลสุขภาพของทารกในครรภ์ อ่านต่อ >> วิธีการนับลูกดิ้น คลิกเลย! 

ทั้งนี้ทั้งนั้นการดิ้นของลูกจะตอบสนองต่ออารมณ์ของแม่ และการกระตุ้นทางกายภาพด้วยเสียง แสง รวมถึงการสัมผัส จะช่วยทำให้ทารกในครรภ์มีการเคลื่อนไหวและมีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจพูดคุยกับลูกในท้องด้วยคำพูดไพเราะ เล่นกับลูกเพื่อให้ลูกเกิดความคุ้นเคย โดยการพูดย้ำคำย้ำประโยคเพื่อลูกให้เกิดการเคยชินกับเสียง และอาจลูบท้องของคุณแม่หรือตบเบา ๆ ตรงตำแหน่งที่ลูกดิ้น ซึ่งวิธีนี้ก็จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยและเพิ่มความสัมพันธ์กับลูกน้อยได้ตั้งแต่ยังอยู่ในท้องแม่ค่ะ

อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ”คลิก!


อ้างอิงจาก : www.enfababy.com , www.siamhealth.net

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up