วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น

10 วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น ต้องเล่นกับลูกในท้อง

พัฒนาการของทารกน้อยในครรภ์คุณแม่เป็นเรื่องสำคัญมากค่ะ พัฒนาการลูกที่ดีไม่ได้อยู่ขึ้นอยู่กับสารอาหารที่ได้รับจากแม่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังต้องมาจากการใช้ วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น อย่างเหมาะสม ทีมงาน Amarin Baby & Kids จะชวนคุณแม่ท้องทุกคนให้มาเล่นกับลูกในท้อง เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีให้ลูกตั้งแต่ในครรภ์กันค่ะ

 

วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น

มีหลายบทความในเว็บไซต์ต่างประเทศที่มักพูดว่า เด็กๆ เล่นได้ตั้งแต่อยู่ในท้องแล้ว จนอดสงสัยไม่ได้ว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือ ถ้าเล่นได้พวกเขาเล่นอะไรบ้าง แล้วเราจะเล่นกับลูกได้ไหม ซึ่งรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ตวงสิทธิ์ วัฒกนารา สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ โรงพยาบาลศิริราช จะมาไขข้อข้องใจให้กระจ่าง ทั้งข้อเท็จจริงต่างๆ และความเชื่อผิดๆ ที่แม่ท้องห้ามพลาด!

“การขยับตัวของเด็กคือการตอบสนองของระบบประสาทขั้นพื้นฐาน”

หากการขยับตัวไปมาของเด็กคือการเล่น ก็คงเป็นการเปรียบเปรยให้มีสีสันในวงสนทนาเท่านั้น เพราะในทางการแพทย์ การขยับตัวของเด็กคือการตอบสนองของระบบประสาทขั้นพื้นฐานตามธรรมชาติ เด็กจะเริ่มบิดตัวไปมาตอนอายุ 8 สัปดาห์ (ขนาดตัวประมาณ 1.5 เซ็นติเมตร เท่าเมล็ดถั่ว) ซึ่งเป็นการขยับแบบไร้จุดหมาย ไร้ทิศทาง พอสัปดาห์ที่ 11 แขนและขาเริ่มงอก เด็กก็จะเริ่มป่ายไปป่ายมาแบบไร้จุดหมายเช่นเดียวกัน ไม่ได้มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นจากภายนอกใดๆ ทั้งสิ้น

 

“เด็กในครรภ์สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกได้แค่แสงและเสียงเท่านั้น”

มีอยู่สองอย่างที่เด็กในครรภ์สามารถตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นภายนอกได้ ได้แก่ ตากับหู โดยเด็กจะเริ่มมองเห็นเมื่ออายุ 27 สัปดาห์ ส่วนหูจะเริ่มได้ยินเมื่ออายุ 30 สัปดาห์ สิ่งที่ทำให้เราทราบว่าเขามีการตอบสนองนั้นก็โดยการใช้ไฟฉายส่อง เมื่อภายในท้องสว่างขึ้น เด็กก็ตื่น เมื่อตื่นก็ขยับตัว เมื่อขยับตัวหัวใจก็จะเต้นเร็วขึ้น ส่วนการได้ยินเสียงก็จะใช้เสียงความถี่ต่ำกระตุ้นสั้นๆ แล้ววัดอัตราการเต้นของหัวใจเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เด็กในครรภ์สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกได้แค่แสงและเสียงเท่านั้น แต่คำว่าตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นไม่ได้หมายความว่า เมื่อเขาถูกกระตุ้นแล้วเขาจะมีพัฒนาการที่ดี ทั้งในแง่สติปัญญาและร่างกาย

 

“การกระตุ้นเด็กต้องไม่ทำพร่ำเพรื่อ”

มีการนำเสนอเนื้อหามากมายว่าเราสามารถเสริมสร้างความฉลาดของลูกได้ตั้งแต่ในท้อง เสนอแนะให้คุณแม่คอยกระตุ้นลูกในท้องด้วยวิธีการต่างๆ ด้วยอาหารเสริมบ้าง การฟังเพลงคลาสสิคบ้าง และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งเรื่องเหล่านี้ไม่เคยได้รับการพิสูจน์มาก่อนว่าได้ผลจริงเลย

การกระตุ้นเด็กในท้องมีจุดประสงค์เดียวเท่านั้นคือ ตรวจดูว่าลูกน้อยยังคงปลอดภัยอยู่ และมักจะกระตุ้นในคุณแม่ท้องที่มีความเสี่ยง เช่น เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อายุมาก หรือมีโรคต่างๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพของแม่และเด็ก เหตุที่ต้องคอยกระตุ้นเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษเพราะหลอดเลือดของแม่ที่คอยส่งออกซิเจนและอาหารให้ลูกมักตีบ และจำเป็นต้องคลอดเร็วกว่าปกติ มิฉะนั้นจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

วิธีการกระตุ้นก็คือใช้แสงหรือเสียงเพื่อเช็คว่าหัวใจยังเต้นปกติไหมดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และไม่ทำพร่ำเพรื่อเด็ดขาด เพราะถือหลักการที่ว่า ในท้องควรจะต้องมืดและเงียบ ซึ่งถ้าไม่มีสิ่งใดมากระตุ้นเด็กๆเลย เขาก็จะตื่น 2 ชั่วโมง หลับ 2 ชั่วโมง เป็นวงจรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ แม้กระทั่งหลังคลอดแล้วก็ตาม

สรุปแล้วการพยายามจะเปิดเพลงให้ลูกฟัง หรือพยายามเอาไฟส่องด้วยจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นระบบประสาทให้เจริญเร็วกว่าปกตินั้นคือความฝัน โดยเฉพาะการเปิดเพลงคลาสสิคเพื่อหวังผลให้ลูกฉลาดและอัจฉริยะกว่าเด็กอื่นนั้นไม่เป็นความจริงเลย ขอย้ำว่า ไม่เคยมีใครพิสูจน์ได้ว่าเด็กคนที่ฟังเพลงคลาสสิคตั้งแต่อยู่ในท้องกับเด็กที่ไม่ได้ฟังเลย เมื่อคลอดออกมาแล้วความฉลาดจะแตกต่างกัน แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่เคยมีใครพิสูจน์ได้อีกเหมือนกันว่าเปิดเพลงให้ลูกฟังแล้วแล้วลูกจะโง่ลง ดังนั้น ถ้าการฟังเพลงหรือใช้การกระตุ้นด้วยวิธีอื่นๆแล้วลูกฉลาดได้ผลจริงๆ ก็ต้องบรรจุเป็นมาตรฐานทางการแพทย์แล้ว

สิ่งสำคัญเหนืออื่นใด ขอให้คุณแม่ฟังเพลงเพราะชอบฟัง ฟังแล้วมีความสุข หรือช่วยผ่อนคลาย แต่ไม่ใช่เพราะเหตุผลอื่น เพราะมันไม่ได้ผล และข้อควรระวังคือไม่ควรนำหูฟังหรือลำโพงมาจ่อใกล้ๆท้อง เพราะจะทำให้เด็กตกใจและรบกวนเขาได้

อ่านต่อ >> แม่กินโอเมก้า-3 จะช่วยให้ลูกในท้องฉลาดไหม หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่