AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เรื่องปวดๆ ของคุณแม่ตั้งครรภ์ กับวิธีรับมือ

รับมืออาการปวดของแม่ท้อง

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ และมีเจ้าตัวน้อยอยู่ในท้อง ร่างกายของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่างๆ อย่างรวดเร็ว ตลอดระยะเวลา 9 เดือนของการตั้งครรภ์ รวมถึง อาการปวดของแม่ท้อง ที่มีลักษณะต่างๆ ไปตามแต่ละไตรมาส เรามาเรียนรู้ และหาวิธีรับมือกับอาการปวดนี้กันค่ะ

อาการปวดของแม่ท้อง

1.ปวดศีรษะ

รับมืออาการปวดศีรษะของคนท้อง

เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ จะมีอาการปวดศีรษะ ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการแพ้ท้องที่มีอาการ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน บางคนอาจรู้สึกหวิวๆ หน้ามืด จะเป็นลม อาการเหล่านี้เป็นปกติของคุณแม่ในช่วง 6 – 12 สัปดาห์ เนื่องจากระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง น้ำตาลในเลือดต่ำ หรือความดันโลหิตลดลง และมีความไวต่อกลิ่น คุณแม่ควรพยายามรับประทานอาหาร และดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อช่วยป้องกันการเกิดอาการปวดศีรษะ หน้ามืด จะเป็นลมได้

2.ปวดปัสสาวะบ่อย

รับมืออาการปวดปัสสาวะบ่อยของคนท้อง

เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ หรือช่วง 3 เดือนแรก ไตของคุณแม่จะทำงานหนักมากกว่าปกติ เพราะเลือดในร่างกายมีเพิ่มมากขึ้น ทำให้ร่างกายปรับตัว ชีพจรเต้นเร็วขึ้น มีเลือดไหลผ่านไตมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ไตมีการกลั่นกรองปัสสาวะมากขึ้น และในขณะเดียวกัน มดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ได้เบียด และกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้พื้นที่ในการเก็บปัสสาวะมีน้อย คุณแม่จึงปัสสาวะบ่อยขึ้นกว่าเดิม แต่เมื่อเข้าสู่ไตรมาส 2 มดลูกจะสูงขึ้น ทำให้การกดทับลดลง ก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และเมื่อเข้าสู่ไตรมาส 3 อาการปวดปัสสาวะบ่อยจะกลับมาอีกครั้ง เพราะศีรษะลูกน้อยจะลงต่ำ คุณแม่จะปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นจนคลอด

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “เรื่องปวดๆ ของคุณแม่ตั้งครรภ์ กับวิธีรับมือ” คลิกหน้า 2

3.ปวดเต้านม

รับมืออาการปวดเต้านมของคนท้อง

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีอาการปวด ตึง บริเวณเต้านมมากและนาน เพราะร่างกายกำลังสร้างน้ำนมให้ลูกน้อย คุณแม่บางคนจะรู้สึกเจ็บเต้านม และหัวนม แต่อาการเหล่านี้จะหายไปเองหลังจากตั้งครรภ์แล้วประมาณ 3 เดือน  แต่เมื่อคุณแม่อายุครรภ์มากขึ้น เต้านมจะเริ่มคัดตึงมากขึ้น

4.ปวดร้าวลงขา

รับมืออาการปวดขาของคนท้อง

ในสัปดาห์นี้ลูกน้อยมักจะอยู่ในท่าก้น ทำให้ส่วนศีรษะของลูกไปกดทับเส้นประสาทเซียติก (Sciatic Nerve) ที่คอยหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อร่างกายช่วงล่างของคุณแม่ จึงทำให้เกิดอาการปวดร้าวเป็นระยะๆ ตั้งแต่สะโพกไล่ลงไปด้านหลังของขา ไม่มีทางแก้นอกจากอดทนเข้าไว้ แล้วพยายามเปลี่ยนท่าบ่อยๆ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “เรื่องปวดๆ ของคุณแม่ตั้งครรภ์ กับวิธีรับมือ” คลิกหน้า 3

5.ปวดหลัง บั้นเอว และสะโพก

รับมืออาการปวดหลังของคนท้อง

เมื่อท้องมีขนาดใหญ่ขึ้น หลังของคุณแม่จึงต้องแบกรับน้ำหนัก จนมีการแอ่นตัวเพื่อรักษาสมดุล เมื่อบวกกับฮอร์โมนรีแล็กซินที่ทำให้กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นยืดกว่าปกติ อาการปวดหลังจึงเกิดขึ้น รวมไปถึงอาจปวดตามข้อต่างๆ ทั่วร่างกายได้อีก เช่น ข้อนิ้ว ข้อมือ ข้อเท้า เข่า ทางที่ดีหลีกเลี่ยงการอยู่ในอิริยาบถเดิมๆ ซ้ำๆ ระมัดระวังการนั่ง การยืน การเดินให้ดี และงดยกของหนัก

เทคนิคในการลดอาการปวดหลัง มีดังนี้

6.ปวดท้องเตือน

รับมืออาการปวดท้องเตือนของคนท้อง

พอเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 อาการเจ็บท้องเหมือนจะคลอดอาจเกิดขึ้นได้เป็นครั้งคราว แต่ไม่ใช่การเจ็บคลอดจริง เป็นเพียงการซ้อมหดรัดตัวของมดลูกเพื่อให้ร่างกายเตรียมพร้อมเท่านั้น มักรู้สึกเจ็บบริเวณช่องท้องนาน 15-30 วินาที บางครั้งนานถึง 2 นาที แต่เมื่อเปลี่ยนท่าทางหรือทำกิจกรรมอื่น อาการก็จะหายไป

อาการอื่นๆ นอกจากปวดแล้วยังมีอาการอื่นๆ อีก เช่น กรดไหลย้อน ท้องผูก ริดสีดวงทวาร อ่อนเพลีย เหนื่อย เป็นตะคริว และเท้าบวม เป็นต้น

เครดิต: medthai.com, www.lovelymomshop.com

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

คนท้อง ปวดหัวไมเกรน รับมืออย่างไร ?

เต้านมคัด ปวดมาก แก้ไขอย่างไรดี ?

ปวดหลัง หลังคลอด ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ปล่อยไว้เสี่ยงอัมพาต

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Save