AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกโก่งตัว VS ท้องแข็ง แตกต่างกันยังไง ต้องรีบหาหมอมั้ย?

ลูกโก่งตัว

ไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจจะเริ่มมีรู้สึกว่าท้องแข็งหรือรู้สึกตึงหน้าท้อง บางทีก็รู้สึกลูกในท้องดิ้นแรง ลูกโก่งตัว จนบางครั้งก็เห็นรอยนูนบนหน้าท้อง อาการแบบนี้ต้องรีบไปหาหมอมั้ย?

ลูกโก่งตัว VS ท้องแข็ง แตกต่างกันยังไง ต้องรีบหาหมอมั้ย?

ในช่วงไตรมาสสุดท้ายใกล้คลอด ลูกก็จะมีขนาดใหญ่มากขึ้น ในขณะที่มดลูกจะเริ่มขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงสัปดาห์ที่ 36-40 ลูกจะเริ่มเอาหัวลงกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานของแม่เพื่อเตรียมพร้อมที่จะคลอดแล้ว ทำให้มีพื้นที่ในการดิ้นแคบลง ดังนั้นคุณแม่อาจจะรู้สึกได้ว่าลูกดิ้นน้อยลงในช่วงนี้ แต่เมื่อเมื่อลูบท้องดูก็จะสัมผัสได้ถึงการมีทารกดิ้นอยู่ หรือรู้สึกว่าลูกกำลังโก่งตัวที่ทำให้คุณแม่รับรู้ได้อย่างชัดเจน

ลูกโก่งตัวบ่อย

ทารกในครรภ์ดิ้นแรงหรือโก่งตัว เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ท้องแข็งคือ อาการแบบนี้เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดในช่วงใกล้คลอด ยิ่งใกล้กำหนดคลอดมากเท่าไหร่ คุณแม่ก็จะรู้สึกว่าท้องแข็ง หรือมดลูกบีบตัวบ่อยขึ้นเท่านั้น แต่อาการ ท้องแข็งเพราะลูกโก่งตัว นั้นแตกต่างจากอาการท้องแข็งสาเหตุอื่น ๆ  เพราะท้องแข็งเมื่อลูกโก่งตัวจะเป็นลักษณะท้องที่แข็งจะแข็งไม่ทั่วท้อง คุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะรู้สึกท้องแข็งแบบ “บางที่แข็ง บางที่นิ่ม” ทารกในครรภ์จะดิ้นหรือโก่งตัวชนเข้ากับผนังมดลูก จนทำให้มดลูกเกิดการบีบตัว โดยจังหวะนี้คุณแม่จะมีโอกาสได้เห็นรอยนูนที่ปรากฏบนหน้าท้องตรงนั้นตรงนี้ ขึ้นอยู่กับว่าจะเจออวัยวะส่วนไหนเจ้าตัวน้อย เช่น ศอก ไหล่ เข่า หัว หรือก้น แต่ส่วนที่นูนโก่งแข็งก็มักจะเกิดจากส่วนหลังกับก้นดันออกทำให้รู้สึกว่ามดลูกเบี้ยวไปข้างหนึ่ง ในส่วนอีกด้านที่นิ่มอาจเห็นรอยนูนเล็ก ๆ หลายจุด ซึ่งเป็นส่วนของมือและเท้านั่นเอง ภาวะลูกโก่งตัวแบบนี้ถือว่าเป็นการดิ้นตามปกติของทารกในครรภ์ อาการท้องแข็งลักษณะนี้ก็ไม่ได้มีอันตรายอะไรกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์แต่แค่ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บแบบมีความสุขที่ได้สัมผัสตัวลูกผ่านผิวหน้าท้องก่อนที่จะเจอกันจริง ๆ ก็เป็นได้

เมื่อเกิดอาการท้องแข็ง แม่ท้องหลาย ๆ คน จึงมักจะไม่แน่ใจว่าใช่อาการท้องแข็งหรือไม่ โดย พญ.ธาริณี ลำลึก สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ศูนย์สุขภาพหญิง โรงพยาบาลพญาไท ได้อธิบายเกี่ยวกับอาการท้องแข็งเอาไว้ว่า อาการท้องแข็ง คือ เมื่อเอามือไปจับบริเวณท้องจะรู้สึกได้ว่าเป็นก้อน ๆ ตึง ๆ และมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ เป็นพัก ๆ ในบางรายอาจมีความแข็งมาก-น้อยแตกต่างกันออกไป หรือมีอาการปวดเกร็งเสียวช่วงท้องน้อยด้วย โดยทั่วไปแล้วจะมีอาการท้องแข็งได้ วันละ 3-4 ครั้ง ในช่วงไตรมาส 3 แต่จะไม่สม่ำเสมอ

ซึ่งอาการท้องแข็งที่เกิดขึ้นได้จากทารกโก่งตัวแล้ว อาจมีสาเหตุอื่น ๆ ได้อีก เช่น

ท้องแข็งตอนอิ่มเพราะกินเยอะไป

ในช่วงไตรมาสสุดท้ายที่ครรภ์คุณแม่ใหญ่ขึ้น ทำให้พื้นที่ในท้องมีจำกัด เมื่อคุณแม่อาจจะเกิดอาการท้องแข็งหลังกินข้าวอิ่ม อาจเป็นเพราะว่ารับประทานอาหารมากเกินไปหรือเคี้ยวไม่ละเอียดจนอาหารไม่ย่อยหรือเกิดแก๊สในกระเพาะ ซึ่งส่งผลให้มดลูกถูกอวัยวะอื่นเบียดจนแข็ง ยิ่งท้องแก่มดลูกก็ยิ่งโต กระเพาะอาหารก็ยิ่งถูกเบียดแบนมากขึ้น ทำให้รู้สึกท้องตึงหรือแน่นท้อง ดังนั้นในช่วงที่คุณแม่ท้องแก่ใกล้คลอด ควรเลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย หรือแบ่งกินเป็นมื้อเล็ก ๆ หลายมื้อ ๆ เคี้ยวให้ละเอียด ดื่มน้ำมาก ๆ ที่สำคัญควรมีการขับถ่ายเป็นประจำ กินผักผลไม้เพื่อไม่ปล่อยให้ท้องผูก

ท้องแข็งเพราะมดลูกบีบตัว

อาการท้องแข็งแบบนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกในท้องดิ้นมากที่สุด การที่ลูกดิ้นมากก็อาจมีส่วนไปกระตุ้นทำให้มดลูกบีบตัวบ่อยขึ้น มีลักษณะท้องแข็งทั่วท้องทั้งหมด ไม่ได้แข็งเป็นบางจุด นิ่มเป็นบางจุด เหมือนอาการท้องแข็งเพราะลูกโก่งตัว ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวดท้องเหมือนปวดประจำเดือน และเมื่อพ้นช่วง 32-34 สัปดาห์นี้ไป ก็จะมีอาการท้องแข็งน้อยลง ปกติแล้วอาการแบบนี้จะไม่เกิดกับคุณแม่ที่ท้องอ่อน ดังนั้น สำหรับแม่ท้องแก่ใกล้คลอดควรสังเกตอาการในช่วงนี้ดูว่า มีอาการท้องแข็งนานประมาณ 10 นาทีต่อครั้ง ติดต่อกัน 4-5 ครั้ง เป็นชุด ๆ หรือเปล่า ลักษณะแบนนี้หากเกิดถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ท้องแข็งจนรู้สึกแน่น หายใจไม่สะดวกและอาการไม่หายไป อาการท้องแข็งแบบนี้ถือว่ามีปัญหา ควรจะรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้มดลูกจะบีบตัวจนปากมดลูกเปิดซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องคลอดก่อนกำหนดได้

อ่านต่อ อาการท้องแข็งที่ต้องรีบไปหาหมอ คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อาการท้องแข็งที่ต้องรีบไปหาหมอ

นอกจากท้องแข็งเพราะมดลูกบีบตัวแล้ว ยังมีสาเหตุของอาการท้องแข็งอื่น ๆ เช่น คุณแม่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรืออาจเกิดขึ้นได้จากมดลูกไม่แข็งแรง มดลูกมีโครงสร้างไม่ปกติ มีเนื้องอกมดลูก หรือเกิดจากครรภ์แฝด เด็กตัวใหญ่ น้ำคร่ำมาก หรือแม้แต่มีตกขาว มีการอักเสบของปากมดลูก ก็เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย และมากกว่า 30% คือมดลูกเกิดการบีบรัดตัวขึ้นเองโดย “ไม่ทราบสาเหตุ” ดังนั้นคุณแม่ควรสังเกตตัวเองหากหากท้องแข็งบ่อยมากกว่าปกติ หรือเดี๋ยวแข็งเดี๋ยวหายติด ๆ กันเป็นชุด ก็ควรไปหาคุณหมอเพื่อหาสาเหตุของอาการท้องแข็ง เช็กสุขภาพของทั้งคุณแม่และลูกในท้องว่าแข็งแรงดีหรือเปล่า รวมไปถึงพิจารณาการคลอดเพื่อคำนึงถึงความปลอดภัยของทั้งแม่และลูกเป็นหลัก

ท้องแข็งแบบไหนควรไปหาหมอ

ดูแลตัวเองอย่างไรเพื่อป้องกันอาการท้องแข็ง

อย่างไรก็ตาม อาการท้องแข็งที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้หมายถึงเวลาใกล้คลอดเสมอไป อาจเป็นภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นกับแม่และเบบี๋ในท้องที่ส่งผลต่อการคลอดก่อนกำหนดได้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อคุณแม่รู้สึกท้องแข็งอาจเป็นสัญญาณเตือนให้คุณแม่เริ่มดูแลและสังเกตตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นท้องแข็งใกล้คลอดหรือท้องแข็งแบบผิดปกติ เพื่อที่จะได้เตรียมตัวให้พร้อมไปพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาได้ทันเวลานะคะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.momandbaby.netwww.komchadluek.net

อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

 ท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ เรื่องที่แม่ท้องต้องระวัง !!

6 วิธีลด อาการท้องแข็ง ไม่อยากคลอดก่อนกำหนด อย่าทำสิ่งนี้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids