AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

รก เกาะต่ำ ภาวะเสี่ยงเกือบทำให้เสียลูกรัก

ตั้งครรภ์มาแล้วหลายครั้ง หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงภาวะรกเกาะต่ำ

คุณพ่อ คุณแม่หลายคน คงกำลังเฝ้ารอที่จะได้เห็นหน้าลูกเป็นครั้งแรก หลังจากที่คลอดออกมาแล้ว แต่มีคุณพ่อ คุณแม่หลายคนที่กำลังพบเจอกับความเสี่ยงที่ไม่คาดคิด ดังตัวอย่างของ พ่อตู่ ภพธร และแม่นุช ที่เกือบจะสูญเสียลูกน้อย เมื่อพบว่ามีภาวะ รก เกาะต่ำ จึงขอนำเรื่องราวนี้มาเตือนให้ระวังกันค่ะ

รก เกาะต่ำ เกือบทำให้เสียลูกรัก

ภายหลังจากที่ตั้งหน้าตั้งตาเฝ้ารอนานถึงเก้าเดือน ล่าสุดทีมงาน Amarin Baby and Kids ต้องขอแสดงความยินดีกับ พ่อตู่ ภพธร และแม่นุชด้วยนะคะ กับข่าวคราวอันน่ายินดีเมื่อแม่นุชได้ให้กำเนิดลูกสาวพร้อมกับตั้งชื่อว่า “น้องริสา” ที่โรงพยาบาลสมิติเวชสุขุมวิท

พ่อตู่ คุณพ่อมือใหม่เผยว่า ตนเองนั้น ต้องเกือบสูญเสียลูกสาวไปเพราะ ภาวะรกเกาะต่ำ จึงเป็นเหตุให้ลูกสาวต้องคลอดก่อนกำหนด ทั้งๆ ที่กำหนดเดิมคือวันที่ 16 พฤษภาคม พร้อมกับเล่านาทีระทึกว่า “ตั้งแต่ตอนเข้าไปในห้องผ่าตัดก็ตกใจ ไม่มีช่วงเวลาแบบในหนัง เพราะมีความเสี่ยงเยอะ เห็นลูกตอนแรกก็เห็นมีเลือดมีอะไรอยู่ พอได้เห็นหน้าก็โล่งไป เพราะตอนแรกที่หมอบอกว่าอันตราย แต่หมอก็บอกว่าต้องช่วยหายใจก่อน เพราะลูกมีน้ำคร่ำในปอดเยอะ แต่ดูโดยรวมแล้วสุขภาพดี แค่ต้องกำจัดน้ำคร่ำในปอดออกไปก่อน  สรุปคือการผ่าตัดผ่านไปด้วยดี”

ต้องเกือบสูญเสียลูกสาวไปเพราะภาวะรกเกาะต่ำ จึงเป็นเหตุให้ต้องคลอดก่อนกำหนด

ส่วนสาเหตุที่ไม่สามารถโชว์รูปลูกให้ดูนั้นเป็นเพราะ น้องต้องอยู่ในห้องอบ มีสายระโยงระยางเต็มไปหมด จนดูน่ากลัว รู้สึกสงสารลูกมาก คาดว่า มะรืนนี้น่าจะออกได้แล้ว จะโชว์รูปแรกของลูกทั้งที ก็อยากโชว์รูปที่ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรงมากกว่านี้

อ่านต่อ “ทำความเข้าใจกับภาวะรกเกาะต่ำ” คลิกหน้า 2

ทำความเข้าใจกับภาวะรกเกาะต่ำ

รกเกาะต่ำ หรือภาวะรกเกาะต่ำ  หมายถึง ภาวะที่รกเกาะอยู่ที่ผนังมดลูกส่วนล่าง ใกล้กับปากมดลูก หรือปิดขวางปากมดลูก ซึ่งโดยปกติแล้วการตั้งครรภ์โดยทั่วไป รกควรจะเกาะอยู่ที่ผนังส่วนบนค่อนไปทางด้านหลังของโพรงมดลูก ทำให้ไม่มีสิ่งกีดขวางทางคลอดของทารก (บริเวณนี้เนื้อมดลูกจะหนา เลือดมาเลี้ยงได้ดี) แต่ถ้ารกเกาะอยู่บริเวณส่วนล่างของมดลูกหรือคลุมมาถึงด้านในของปากมดลูก จะเรียกว่า “ภาวะรกเกาะต่ำ” ซึ่งถือเป็นภาวะที่ไม่ปกติ ส่งผลให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนี้น้อย จึงทำให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า

ซึ่งภาวะที่ว่านี้ พบได้ในหญิงตั้งครรภ์ประมาณ 1 ใน 200 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์มาแล้วหรือคลอดหลาย ๆ ครั้ง (ยิ่งครรภ์หลัง ๆ จะยิ่งมีโอกาสพบได้มากขึ้น) หรือในครรภ์แฝด รวมถึงคุณแม่ที่มีความผิดปกติของปากมดลูก เช่น มีก้อนเนื้องอกในมดลูกหรือมีแผลเป็นที่ตัวมดลูก หรือเคยมีประวัติผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องมาก่อนก็อาจทำให้การเกาะตัวของรกกับผนังมดลูกผิดปกติไป เมื่อคุณแม่ใกล้คลอดจึงมักทำให้เกิดอาการตกเลือด ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ได้

ภาพแสดงตัวอย่างภาวะรกเกาะต่ำ เครดิตภาพ : biology-forums.com

อาการที่พบ :

สำหรับความผิดปกติของภาวะรกเกาะต่ำนั้น จะไม่กระทบกระเทือนต่อการตั้งครรภ์ในระยะแรกๆ แต่เมื่อคุณแม่เข้าสู่ระยะใกล้คลอด มดลูกจะเริ่มมีขนาดใหญ่มากขึ้น ปากมดลูกก็จะเริ่มบางและยืดขยายออก ทำให้รกที่เคยเกาะแน่นนั้นมีรอยปริ และเกิดการแยกตัวจากบริเวณปากมดลูก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่รกเกาะ จึงเป็นสาเหตุให้คุณแม่มีเลือดออกเป็นพัก ๆ โดยไม่มีอาการเจ็บท้องแต่อย่างใด ส่วนใหญ่แล้วจะพบมากในช่วงไตรมาส 3  ซึ่งในระยะแรกหรือในระยะที่เป็นนั้น เลือดจะออกไม่มาก หรืออาจจะออกน้อยจนแทบไม่มีเลยก็ได้ค่ะ นั่นหมายถึงคุณแม่สามารถคลอดลูกได้ตามปกติค่ะ แต่หากคุณแม่ตกเลือด มีเลือดไหลออกมากจนเกินไปนั้น อาจทำให้เกิดภาวะช็อก หรืออาจทำให้ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน และเสียชีวิตในครรภ์ได้

อ่านต่อ “ปัจจัยเสี่ยง และวิธีป้องกัน” คลิกหน้า 3

ปัจจัยเสี่ยงรกเกาะต่ำ

ตั้งครรภ์มาแล้วหลายครั้ง หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงภาวะรกเกาะต่ำ

วิธีป้องกันภาวะรกเกาะต่ำ

  1. เมื่อคุณแม่พบว่ามีเลือดออกทางช่องคลอดในระหว่างการตั้งครรภ์ ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ เพราะภาวะเลือดออกจากรกเกาะต่ำนี้จะมีตั้งแต่เลือดออกกะปริดกะปรอยจนถึงเลือดออกมาก โดยทั่วไปแล้วเลือดที่ออกในครั้งแรกมักจะไม่มากเหมือนครั้งหลัง ๆ หากไปพบแพทย์แล้วเลือดที่เคยออกค่อย ๆ หยุดไป และอายุครรภ์ของคุณแม่ยังไม่ถึงกำหนดคลอด (ตั้งแต่ 37 สัปดาห์ขึ้นไปยังถือว่าเป็นการคลอดตามกำหนด) แพทย์ก็จะอนุญาตให้กลับมาพักผ่อนดูแลตัวเองที่บ้านได้ โดยให้ดูแลตัวเองดังนี้
  2. นอนพักผ่อนให้มาก ๆ วันละ 8-10 ชั่วโมง ในท่านอนตะแคงซ้าย งดทำงานหนัก
  3. ห้ามมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงการสวนล้างช่องคลอด
  4. รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
  5. หลีกเลี่ยงการเบ่งถ่ายอุจจาระทุกครั้ง คุณแม่จึงต้องรับประทานอาหารที่ย่อยได้ง่ายและมีเส้นใยมาก ๆ
  6. รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก ๆ เช่น ไข่แดง ตับ และยาบำรุงเลือดซึ่งมีธาตุเหล็ก รวมถึงอาหารที่มีแคลเซียม เช่น นม ส่วนเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนทุกชนิดควรงดเลยนะคะ
  7. งดการสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด เพราะบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว
  8. ควรมาตรวจตามนัดทุกครั้ง ซึ่งการนัดจะถี่ขึ้นจากการตั้งครรภ์ปกติทั่วไป เพราะแพทย์อาจต้องทำ NST เพื่อประเมินสุขภาพของทารกทุก ๆ สัปดาห์ หากคุณแม่พบว่ามีอาการผิดปกติไปจากเดิมหรือมีเลือดออกให้ใส่ผ้าอนามัยแล้วรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดโดยทันทีค่ะ

ขอบคุณที่มา: TrueID และ MedThai

อ่านต่อเนื้อหาเพิ่มเติมที่น่าสนใจ:

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids