รก เกาะต่ำ ภาวะเสี่ยงเกือบทำให้เสียลูกรัก - Amarin Baby & Kids
รก เกาะต่ำ

รก เกาะต่ำ ภาวะเสี่ยงเกือบทำให้เสียลูกรัก

event
รก เกาะต่ำ
รก เกาะต่ำ

ปัจจัยเสี่ยงรกเกาะต่ำ

  • ตั้งครรภ์มาแล้วหลายครั้ง
  • ตั้งครรภ์แฝด หรือเคยตั้งครรภ์แฝด เนื่องจากรกจะมีขนาดใหญ่ เพราะต้องทำหน้าที่นำเอาสารอาหารมาเลี้ยงลูกมากกว่าปกติ การขยายใหญ่ของรกจึงอาจทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำได้
  • ผนังมดลูกมีแผลเป็น ซึ่งเกิดจากรกเกาะต่ำในครั้งก่อน
  • การผ่าตัดคลอด (ยิ่งผ่าตัดคลอดหลายครั้งก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น)
  • การผ่าตัดมดลูกบางส่วน เนื้องอกมดลูก การทำแท้ง การขูดมดลูก
  • เลือดไปเลี้ยงผนังมดลูกไม่ดี เช่น ผลจากการใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน
  • มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ยิ่งอายุมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงมาก (คุณแม่ตั้งครรภ์อายุ 30 ปี จะมีโอกาสเกิดรกเกาะต่ำมากกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์อายุ 20 ปี มากถึง 3 เท่า)
  • คุณแม่ที่มีความผิดปกติของมดลูก เช่น มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ
  • รกมีความผิดปกติ ได้แก่ รกชนิดแผ่นใหญ่กว่าปกติหรือบางกว่าปกติ
  • เกิดการติดเชื้อในครรภ์ เช่น ซิฟิลิส เป็นต้น
  • ทารกมีภาวะซีด ร่างกายของคุณแม่จึงพยายามเพิ่มออกซิเจนไปยังลูก จึงทำให้รกเพิ่มขนาด ขยายใหญ่ขึ้น และแผ่ขยายลงมาเกาะถึงด้านล่างของมดลูก เช่น ภาวะธาลัสซีเมีย
  • ทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าขวาง
รก เกาะต่ำ
ตั้งครรภ์มาแล้วหลายครั้ง หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงภาวะรกเกาะต่ำ

วิธีป้องกันภาวะรกเกาะต่ำ

  1. เมื่อคุณแม่พบว่ามีเลือดออกทางช่องคลอดในระหว่างการตั้งครรภ์ ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ เพราะภาวะเลือดออกจากรกเกาะต่ำนี้จะมีตั้งแต่เลือดออกกะปริดกะปรอยจนถึงเลือดออกมาก โดยทั่วไปแล้วเลือดที่ออกในครั้งแรกมักจะไม่มากเหมือนครั้งหลัง ๆ หากไปพบแพทย์แล้วเลือดที่เคยออกค่อย ๆ หยุดไป และอายุครรภ์ของคุณแม่ยังไม่ถึงกำหนดคลอด (ตั้งแต่ 37 สัปดาห์ขึ้นไปยังถือว่าเป็นการคลอดตามกำหนด) แพทย์ก็จะอนุญาตให้กลับมาพักผ่อนดูแลตัวเองที่บ้านได้ โดยให้ดูแลตัวเองดังนี้
  2. นอนพักผ่อนให้มาก ๆ วันละ 8-10 ชั่วโมง ในท่านอนตะแคงซ้าย งดทำงานหนัก
  3. ห้ามมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงการสวนล้างช่องคลอด
  4. รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
  5. หลีกเลี่ยงการเบ่งถ่ายอุจจาระทุกครั้ง คุณแม่จึงต้องรับประทานอาหารที่ย่อยได้ง่ายและมีเส้นใยมาก ๆ
  6. รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก ๆ เช่น ไข่แดง ตับ และยาบำรุงเลือดซึ่งมีธาตุเหล็ก รวมถึงอาหารที่มีแคลเซียม เช่น นม ส่วนเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนทุกชนิดควรงดเลยนะคะ
  7. งดการสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด เพราะบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว
  8. ควรมาตรวจตามนัดทุกครั้ง ซึ่งการนัดจะถี่ขึ้นจากการตั้งครรภ์ปกติทั่วไป เพราะแพทย์อาจต้องทำ NST เพื่อประเมินสุขภาพของทารกทุก ๆ สัปดาห์ หากคุณแม่พบว่ามีอาการผิดปกติไปจากเดิมหรือมีเลือดออกให้ใส่ผ้าอนามัยแล้วรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดโดยทันทีค่ะ

ขอบคุณที่มา: TrueID และ MedThai

อ่านต่อเนื้อหาเพิ่มเติมที่น่าสนใจ:

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up