“น้ำคร่ำน้อย อันตรายไหม”… เชื่อว่าคนท้องทุกคนต่างก็อยากให้การตั้งครรภ์ตลอด 9 เดือนเป็นการตั้งครรภ์คุณภาพ แต่บางครั้งระหว่างการตั้งครรภ์ก็ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่าจะมีอาการแทรกซ้อนทางสุขภาพอะไรเกิดขึ้นบ้าง ทีมงาน Amarin Baby and Kids มีภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการตั้งครรภ์ นั่นคือภาวะน้ำคร่ำน้อย !! อยากรู้ไหมว่า น้ำคร่ำน้อย อันตรายไหม มีคำตอบที่นี่ค่ะ
น้ำคร่ำน้อย อันตรายไหม
รู้ไหมว่า…น้ำคร่ำคืออะไร ? น้ำคร่ำ (Amniotic fluid) ที่ทางการแพทย์เรียกว่า น้ำทูนหัวทารก น้ำคร่ำ เป็นของเหลวที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำ ซึ่งทารกจะอาศัยอยู่ในถุงน้ำคร่ำที่เป็นเสมือนบ้านหลังแสนอบอุ่นของลูก ทารกน้อยจะลอยตัวอยู่ในถุงน้ำคร่ำ ที่เป็นเกราะป้องกันอันตรายต่างๆ ที่จะมากระทบกระเทือนต่อทารกให้รับบาดเจ็บ ยิ่งในอายุครรภ์อ่อนๆ เสี่ยงต่อการแท้งได้ง่าย
Good to know… “ภาวะน้ำคร่ำน้อย จะมีผลต่ออัตราการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะถ้าเกิดตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆ อัตราเสียชีวิตมากถึงร้อยละ 90”
น้ำคร่ำมีประโยชน์อย่างไรกับทารกน้อยในครรภ์ ?
- เป็นเกราะป้องกันอันตรายให้กับทารกในครรภ์
2. ป้องกันแรงกระแทกที่อาจได้รับจากภายนอกครรภ์
3. ช่วยรักษาอุณหภูมิคงที่ให้ทารกน้อยในครรภ์
4. ช่วยลดการกดทับสายสะดือจากตัวทารก
5. ช่วยให้ทารกเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ
คุณแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำคร่ำน้อย ?
ส่วนมากแล้วคุณแม่ท้องจะไม่รู้ว่าตัวเองมีน้ำคร่ำน้อยผิดปกติ การสังเกตว่าน้ำคร่ำน้อยหรือไม่นั้น ให้สังเกตดูที่ลักษณะการเติบโตของครรภ์ หากขนาดครรภ์ไม่โตขึ้นตามอายุครรภ์
อ่านต่อ >> “น้ำคร่ำน้อย เกิดจากอะไร ?” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
น้ำคร่ำน้อย เกิดจากสาเหตุใด ?
- อายุครรภ์ เกินกำหนด
- ภาวะรกเสื่อม
- ภาวะขาดน้ำของแม่ขณะตั้งครรภ์
- ภาวะถุงน้ำคร่ำรั่ว หรือแตกก่อนครบกำหนดคลอด
- เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม
น้ำคร่ำน้อย อันตรายไหม มีผลกระทบอย่างไร ?
- น้ำคร่ำที่น้อยกว่าปกติ มีผลทำให้ทารกเคลื่อนไหวไม่สะดวก ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกได้ตั้งแต่ในครรภ์
2. สายสะดือถูกกดทับทำให้ทารกขาดออกซิเจน จนเสียชีวิตในครรภ์
3. มีความเสี่ยงที่คุณแม่จะคลอดลูกก่อนกำหนด
ป้องกันภาวะน้ำคร่ำน้อยได้อย่างไร ?
- ก่อนมีการตั้งครรภ์ควรตรวจสุขภาพ และปรึกษาแพทย์
2. เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ ควรพบแพทย์และฝากครรภ์ทันที
3. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่
เพื่อป้องกันไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ แนะนำให้คุณแม่ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ และระหว่างตั้งครรภ์ก็ให้สังเกตร่างกายถึงความผิดปกติต่างๆ หากพบควรรีบพบคุณหมอทันที ทั้งนี้ก็เพื่อให้การตั้งครรภ์ตลอด 9 เดือน เป็นการตั้งครรภ์คุณภาพ…ด้วยความห่วงใยค่ะ
อ่านต่อบทความน่าสนใจคลิก !!
วิธีนับอายุครรภ์ ที่ถูกต้องแม่นยำ ที่แม่ท้องควรรู้!
ตรวจเจาะน้ำคร่ำ คัดกรองแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง!
อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ เรื่องที่แม่ท้องต้องระวัง !!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ้างอิงข้อมูลจาก
รศ.พญ.ประนอม บุพศิริ สูตินรีแพทย์.http://haamor.com/th/ภาวะน้ำคร่ำน้อย/