รพ.สต.ในเขต อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ร่อนหนังสือแจ้ง อสม. เตือนประชาชน โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ ห้ามเดินทางข้ามไป อ.สร้างคอม จ.อุดรธานี ที่อยู่ติดกัน หลังจากที่พบชาวอำเภอสร้างคอมป่วยติดเชื้อ ไวรัสซิกา เพราะเดินทางไปทำงานที่ไต้หวัน และถูกกักตัวไว้แล้ว
พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ ระบุว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัสซิกาในประเทศไทย อยู่ระหว่างการควบคุมโรคใน 2 จังหวัด คือ จ.อุดรธานี และ จ.บึงกาฬ แต่มีผู้ติดเชื้อเพียง 1-2 คน ยังถือว่าสถานการณ์อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และถ้า อีก 28 วันแล้วยังไม่พบผู้ป่วยเพิ่มก็สามารถพื้นที่ปลอดโรคได้ แต่ก็ห้ามเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงเพื่อความปลอดภัย
รายงานการพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกาใน 9 จังหวัด แต่สามารถควบคุมได้แล้ว 7 จังหวัดคือ นนทบุรี นครราชสีมา พิษณุโลก สุโขทัย กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ และกาญจนบุรีส่วน 2 จังหวัดที่อยู่ระหว่างการควบคุมคือ จ.อุดรธานี
ชมคลิป “เตรียมประกาศพื้นที่ปลอดเชื้อไวรัสซิกา มิ.ย.59”
ไข้ซิกา โรคนี้เกิดจากเชื้อ ไวรัสซิกา ที่แพร่เชื้อผ่านการถูกยุงกัด โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การระบาดของไวรัสซิกาเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการป้องกันยุงกัด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายในบ้าน นอนกลางวันหรือกลางคืนต้องกางมุ้งทุกครั้ง และต้องมีการวินิจฉัยทางการแพทย์ โดยจะต้องมีการทดสอบในห้องปฏิบัติการ
อ่านต่อ “ไวรัสซิกา มาประเทศไทยแล้ว เตือนพ่อแม่ให้ระวัง” คลิกหน้า 2
ไวรัสซิกา แพร่กระจายผ่านทางสัตว์หรือแมลง ติดต่อเมื่อโดนสัตว์หรือแมลงกัดต่อย ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือปากโดยไม่มีการป้องกัน
ในกรณีส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ เมื่อมีอาการ อาการจะไม่รุนแรงและเป็นไม่ถึง 1 สัปดาห์
อาการดังกล่าว ได้แก่ มีไข้ หนาวสั่น เบื่ออาหาร มีเหงื่อ เป็นผื่น เจ็บที่ข้อต่อ ตาแดง อ่อนล้า
อาจมีอาการปวด เช่น ปวดกระบอกตา ปวดข้อ หรืออาการปวดกล้ามเนื้อ
ในผู้ป่วยบางรายไวรัสซิกาอาจก่อให้เกิดโรคอัมพาต (Guillain-Barre Syndrome หรือกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร)
ในสตรีตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดตามมา
โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนหรือวิธีการรักษาเฉพาะทาง แต่จะเน้นไปที่การบรรเทาอาการป่วย รวมถึงการพักผ่อน การให้น้ำ และการใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้และอาการปวด ควรหลีกเลี่ยงแอสไพรินและยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) เช่น ไอบูโปรเฟน สามารถรักษาได้ภายในระยะเวลาเป็นวันหรือสัปดาห์
อ่านเพิ่มเติมคลิก!!
“ไวรัสซิก้า” โรคร้ายใหม่จากยุงลาย ต้นเหตุทารกในครรภ์กะโหลกยุบ
เครดิต: stwebsite, Tnews, สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่, องค์การอนามัยโลก(WHO)