มีคุณแม่ท่านหนึ่งมาเล่าประสบการณ์การรักษาพยาบาล เนื่องจากคุณแม่มีอาการคล้ายไข้หวัด จึงไปหาคุณหมอที่โรงพยาบาล ซึ่งในขณะนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 8 เดือน คุณหมอทำการตรวจคุณแม่ แล้วสั่งจ่ายยา แต่เกิดการ จ่ายยาผิด เป็นยาที่ไม่ควรให้คุณแม่ตั้งครรภ์รับประทาน
อ่านต่อ “จ่ายยาผิด เรื่องที่คุณแม่ท้องต้องระวัง” คลิกหน้า 2
อ่านต่อ “ยาที่ไม่ควรทานระหว่างตั้งครรภ์” คลิกหน้า 3
ยาที่ไม่ควรทานระหว่างตั้งครรภ์
ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ต้องระมัดระวังกันให้มากๆ เรื่องการใช้ยา ถึงแม้จะเป็นยาที่ทางโรงพยาบาลสั่งจ่ายให้เอง ก็ควรตรวจสอบก่อนว่ายานั้น คุณแม่สามารถรับประทานได้ และปลอดภัยกับลูกน้อยจริงๆ เรามาดูรายชื่อยาที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานกันเลยค่ะ
1.วิตามินเอ อาจทำให้ลูกพิการได้
2.ยารักษาสิว มีอนุพันธ์ของวิตามินเอสามารถสะสมในร่างกาย หากมีแผนที่จะตั้งครรภ์ต้องหยุดทานวิตามินเอ หรืออนุพันธ์ของวิตามินเออย่างน้อย 1 ปี
ยารักษาสิวที่ไม่ควรรับประทาน เช่น isotretinoin (Accutane, Retin-A)
3.ยากันชัก ทำให้การสร้างระบบประสาทของทารกผิดปกติ โดยเฉพาะยากันชัก “วาลโพรเอต” (Valproate) อาจทำให้ไขสันหลังไม่ปิด มีลักษณะเป็นรูเกิดขึ้น ทารกมักจะเสียชีวิตเมื่อคลอด คนไข้ที่เป็นโรคลมชักสามารถท้องได้ แต่ต้องควบคุมไม่ให้เกิดอาการชักขึ้นในระหว่างที่รับประทานยา หากไม่มีอาการชักหรือหยุดชักนานติดต่อกันอย่างน้อย 2 ปี อาจจะตั้งครรภ์ได้ แต่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน
ยากันชัก Anticonvulsants ที่ไม่ควรรับประทาน ไดแก่ พวกฮัยแดนโตอิน (Hydantoin) เช่น ไดแลนติน (Dilantin), ฟีนัยโตอิน (Phenytoin), valproic acid (Depakene, Valprotate), trimethadione (Tridione), paramethadione (Paradione), carbamazepine (Tegretol)
4.ยาปฏิชีวนะเตตราไซคลีน (Tetracycline) หรือที่ชอบเรียกกันว่า “แดงดำ” เป็นยาที่ทำให้การสร้างกระดูกในเดือนที่ 3 ของทารกในครรภ์เกิดความผิดปกติได้ เด็กกลุ่มนี้อาจจะออกมาแล้วฟันเหลืองมากทั้งฟันน้ำนมและฟันแท้ แต่ไม่ทำให้เด็กพิการ
ยาปฏิชีวนะที่ไม่ควรรับประทาน เช่น Antibiotics tetracycline (Achromycin), doxycycline, streptomycin
5.ยานอนหลับ ยาคลายเครียด เช่น อัลปราโซแลม, ไดอาซีแพม อาจทำให้ทารกปากแหว่งเพดานโหว่ ควรหยุดใช้ยาก่อนการตั้งครรภ์อย่างน้อย 3-6 เดือน
6.ยารักษาผมร่วง ฟิแนสเทอไรด์ (Finasteride) อาจทำให้อวัยวะเพศของทารกในครรภ์ผิดปกติได้
7.ยาลดความดันโลหิต ACE (angiotensin converting enzyme) อาจทำให้ลูกพิการได้
ยาลดความดันโลหิตที่ไม่ควรรับประทาน เช่น benazepril (Lotensin), captopril, enalapril, fosinopril sodium (Monopril), lisinopril (Zestril, Prinivil), lisinopril + hydrochlorothiazide (Zestoretic, Prinzide), quinapril, ramipril
8.ยาละลายลิ่มเลือด warfarin (Coumadin)
9.ยาแก้โรคซึมเศร้า Anti-depressant drug lithium (Eskalith, Lithob)
10.ยารักษาโรคเก๊าท์ Antimetabolite/anticancer drugs methotrexate (Rheumatrex) และ aminopterin
11.ยารักษาโรคข้ออักเสบ Antirheumatic agent and metal-binder (chelator) penicillamine (Cuprimine, Depen)
12.ยารักษาต่อมธัยรอยด์ Antithyroid เช่น thiouracil/propylthiouracil และ carbimazole/methimazole.
13.ยาแก้แพ้ เช่น ปีเปอราซีน (Piperazine) ซัยคลิซีน (Cyclizine) จะทำให้แท้ง และคลอดก่อนกำหนด ลูกออกมาตัวเล็ก บางครั้งอาจพิการรุนแรง
14.วัคซีนป้องกันฝีดาษ คางทูม หัดเยอรมัน สำหรับคุณแม่ที่ยังไม่ตั้งครรภ์ต้องคุมกำเนิด 3 เดือนหลังจากฉีดวัคซีนเหล่านี้ เพราะจะทำให้มีโอกาสแท้งลูกสูง
15.แอมเฟตามีน (Amphetamine) ทำให้ลูกน้อยพิการแต่กำเนิด มีผลต่อระบบหลอดเลือด หัวใจ และทางเดินน้ำดี
อ่านต่อ “ยาใช้ได้แต่ต้องระวัง การใช้ยาขณะให้นม และยาทาภายนอก” คลิกหน้า 3
ยาที่คนท้องใช้ได้แต่ต้องระวัง
ยาลดการอักเสบ เช่น ไอบูโปรเฟน เอ็นเสด หรือยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์กัดกระเพราะ ถ้าไม่จำเป็นให้ใช้ยาพาราเซตามอลแทน หรือใช้เป็นยาทาภายนอกแทนจะปลอดภัยกว่ายากิน
กลุ่มยาแก้อักเสบในแบบรับประทาน ในช่วงไตมาสแรกไม่ค่อยมีผลข้างเคียง แต่ต้องระวังเมื่อใช้ในเดือนที่ 7-9 ของการตั้งครรภ์ อาจทำให้มดลูกไม่บีบตัว ทำให้การคลอดบุตรยากขึ้น
การใช้ยาในขณะให้นมบุตร
1.ยาอะไรที่ผลิตขึ้นสำหรับเด็ก คุณแม่สามารทานได้
2.เลี่ยงยาที่ออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยานอนหลับ ยาต้านเศร้า
3.ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
ยาหลายชนิดสามารถที่จะแพร่กระจายที่น้ำนมได้ แนะนำให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนม ก่อนกินยาควรให้นมลูกก่อนหรือบีบน้ำนมไว้แล้วค่อยกินยา และยาที่กินควรเป็นยาที่ออกฤทธิ์สั้นประมาณ 2-3 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาพอดีที่จะให้นมบุตรอีกครั้ง
ยาทาภายนอกมีผลต่อทารกในครรภ์หรือไม่?
โดยทั่วไปแล้วยาทาภายนอกจะแสดงฤทธิ์เฉพาะบริเวณที่เราทา การดูดซึมเข้ากระแสเลือดค่อนข้างต่ำ แต่ก็ไม่ควรประหมาด ถ้าเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง
ถ้าคุณแม่รู้ตัวว่ากินยาอะไรในช่วงก่อนการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะยาคุมกำเนิด ยานอนหลับ หรือยาอะไรก็แล้วแต่ที่คุณแม่รับประทานอยู่ แล้วเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นมา สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือ รีบไปฝากครรภ์ และแจ้งแพทย์หรือสูติแพทย์ที่ดูแลว่าได้กินยาตัวไหนในช่วงก่อนตั้งครรภ์อยู่ เพื่อแพทย์จะได้ติดตามและประเมินผลต่อไป
ทางที่ดีที่สุดในการป้องกันการกินยาคือการดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้แข็งแรง เพราะยาเกือบทุกชนิดเป็นอันตรายกับคุณแม่ท้อง และลูกน้อยทั้งนั้นค่ะ
อ่านเพิ่มเติมคลิก!!
เตือนภัยพ่อแม่!! รับยามาผิด ลูกมีสิทธิ์ถึงตาย!!
“ยาระหว่างตั้งครรภ์” ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย
Food and Medicine อาหารและยาที่ไม่ควรกินร่วมกัน
เครดิต: Intra Songkiatikul, medicthai, DrugsafetyKK_KM, siamhealth