ยาที่คนท้องใช้ได้แต่ต้องระวัง
ยาลดการอักเสบ เช่น ไอบูโปรเฟน เอ็นเสด หรือยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์กัดกระเพราะ ถ้าไม่จำเป็นให้ใช้ยาพาราเซตามอลแทน หรือใช้เป็นยาทาภายนอกแทนจะปลอดภัยกว่ายากิน
กลุ่มยาแก้อักเสบในแบบรับประทาน ในช่วงไตมาสแรกไม่ค่อยมีผลข้างเคียง แต่ต้องระวังเมื่อใช้ในเดือนที่ 7-9 ของการตั้งครรภ์ อาจทำให้มดลูกไม่บีบตัว ทำให้การคลอดบุตรยากขึ้น
การใช้ยาในขณะให้นมบุตร
1.ยาอะไรที่ผลิตขึ้นสำหรับเด็ก คุณแม่สามารทานได้
2.เลี่ยงยาที่ออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยานอนหลับ ยาต้านเศร้า
3.ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
ยาหลายชนิดสามารถที่จะแพร่กระจายที่น้ำนมได้ แนะนำให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนม ก่อนกินยาควรให้นมลูกก่อนหรือบีบน้ำนมไว้แล้วค่อยกินยา และยาที่กินควรเป็นยาที่ออกฤทธิ์สั้นประมาณ 2-3 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาพอดีที่จะให้นมบุตรอีกครั้ง
ยาทาภายนอกมีผลต่อทารกในครรภ์หรือไม่?
โดยทั่วไปแล้วยาทาภายนอกจะแสดงฤทธิ์เฉพาะบริเวณที่เราทา การดูดซึมเข้ากระแสเลือดค่อนข้างต่ำ แต่ก็ไม่ควรประหมาด ถ้าเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง
ถ้าคุณแม่รู้ตัวว่ากินยาอะไรในช่วงก่อนการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะยาคุมกำเนิด ยานอนหลับ หรือยาอะไรก็แล้วแต่ที่คุณแม่รับประทานอยู่ แล้วเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นมา สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือ รีบไปฝากครรภ์ และแจ้งแพทย์หรือสูติแพทย์ที่ดูแลว่าได้กินยาตัวไหนในช่วงก่อนตั้งครรภ์อยู่ เพื่อแพทย์จะได้ติดตามและประเมินผลต่อไป
ทางที่ดีที่สุดในการป้องกันการกินยาคือการดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้แข็งแรง เพราะยาเกือบทุกชนิดเป็นอันตรายกับคุณแม่ท้อง และลูกน้อยทั้งนั้นค่ะ
อ่านเพิ่มเติมคลิก!!
เตือนภัยพ่อแม่!! รับยามาผิด ลูกมีสิทธิ์ถึงตาย!!
“ยาระหว่างตั้งครรภ์” ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย
Food and Medicine อาหารและยาที่ไม่ควรกินร่วมกัน
เครดิต: Intra Songkiatikul, medicthai, DrugsafetyKK_KM, siamhealth