ยาลิ่มเลือดอุดตัน เสี่ยงลูกพิการ มองไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่พัฒนาการ
ยาลิ่มเลือดอุดตัน

ยาลิ่มเลือดอุดตัน เสี่ยงลูกพิการ

event
ยาลิ่มเลือดอุดตัน
ยาลิ่มเลือดอุดตัน

สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ อาจเกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคลิ่มเลือดอุดตัน เพราะมีแนวโน้มที่เลือดจะเกิดการแข็งตัวได้ง่าย โดยเฉพาะช่วงไตรมาสที่ 3 หรือเดือนที่ 6 -9 ของช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากท้องและมดลูกเกิดการขยายตัวใหญ่ขึ้น เมื่อคุณแม่เป็นลิ่มเลือดอุดตันมักกิน ยาลิ่มเลือดอุดตัน

อาการลิ่มเลือดอุดตันส่วนมากจะเกิดขึ้นในเดือนในช่วง 5 เดือนของการตั้งครรภ์ แต่จะพบบ่อยช่วง 6-9 เดือน เกิดจากการขยายของมดลูก และมีโอกาสกดทับหลอดเลือดได้ง่าย เมื่อหลอดเลือดถูกกดทับ เพราะวันๆ แม่ท้องจะนั่งอยู่กับที่ เดินน้อย และนอนนานๆ ส่งผลให้เลือดไหลตัวช้า และมีโอกาสเลือดอุดตันมากกว่าคนทั่วไป 5 – 6 เท่า

ลิ่มเลือด คือเลือดที่เป็นก้อนเล็กๆ ขวางอยู่ในหลอดเลือด ถ้าลิ่มเลือดนี้หลุดออกไปอุดเส้นเลือกใหญ่ เช่นไปอุดหลอดเลือดที่ปอด ซึ่งพบได้ 15-25% ทำให้เกิดการขาดออกซิเจน และมีโอกาสเสียชีวิตเฉียบพลัน 12-15% ส่วนแม่ท้องที่มีลิ่มเลือดอุดตันที่ขา จะทำให้ขาบวม แต่สังเกตยาก เพราะปกติแม่ท้องจะขาบวมอยู่แล้ว

แม่ท้องที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป หรือมีลูกหลายคน หรือมีโรคประจำตัว จะพบปัญหาลิ่มเลือดอุดตัน และแท้งบ่อย จึงต้องระวังเป็นพิเศษ โดยอาการเตือนจะมีขาบวม ปวดขา เดินไม่ไหว กดแล้วปวด บวมแดง

อันตรายของยาลิ่มเลือดอุดตัน

คุณแม่ท่านหนึ่ง เป็นโรคลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดที่ขาซ้าย ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล คุณหมอให้รับประทานยา ”วอฟาริน” ซึ่งเป็นยาละลายลิ่มเลือดอย่างต่อเนื่อง คุณแม่ได้อ่านเอกสารกำกับยาว่า ห้ามใช้ในคนท้อง จึงขอเปลี่ยน แต่ทางคุณหมอยืนยันว่าให้จ่ายยาตัวนี้ให้กับคุณแม่ จนกระทั่งอีก 2 เดือนต่อมา คุณแม่รู้สึกว่าลูกของตัวเองไม่ดิ้น จึงไปอัลตร้าซาวด์ คุณหมอพบว่าเด็กน้อยมีอาการผิดปกติ น้ำท่วมแกนสมอง จนสมองเหลือน้อย และมีเลือดออดที่เนื้อสมอง เนื่องจากเป็นผลกระทบของยาที่คุณหมอให้มา ลูกน้อยคลอดออกมาผิดปกติ ไม่สามารถหายใจเองได้ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา และกะโหลกศีรษะปิดไม่สนิท ตามองไม่เห็น หูไม่ได้ยิน ไม่มีพัฒนาการใดๆ เปรียบเหมือนก้อนเนื้อที่มีชีวิตเท่านั้น คุณแม่ใจแทบสลาย

ทางคุณหมอก็ออกมาชี้แจงว่า ได้ให้ยาคุณแม่รับประทานเมื่ออายุครรภ์ครบ 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือน เพราะเห็นว่าอวัยวะครบแล้ว โอกาสที่จะพบความผิดปกติมีน้อย จึงให้ยาชนิดนี้รับประทานต่อเนื่อง 6 เดือน ถึง 1 ปี จึงจะหยุดยา คุณแม่มาตามนัดทุกครั้งไม่พบความผิดปกติ จึงปรับยาเพิ่ม หลังจากนั้นคุณหมออัลตร้าซาวด์ กลับพบว่ามีอาการผิดปกติ คุณหมอจึงเปลี่ยนยาเป็น “เฮปาริน” อาการแบบนี้ทางการแพทย์จัดว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ไม่สามารถป้องกันได้

อ่านต่อ ข้อควรระวังเรื่องการใช้ยาลิ่มเลือดอุดตัน และวิธีป้องกันโรคลิ่มเลือดอุดตัน คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up