AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

นักวิจัยเตือน! แม่ท้องรับควันพิษมาก… อาจส่งผลต่อสมองและอารมณ์ของลูก

ควันพิษ ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่อันตรายต่อแม่ท้องและลูกน้อย ซึ่งหากคุณแม่ได้รับควันพิษจากท่อไอเสียของรถรยต์มากเกินไป ก็อาจส่งผลร้ายไปถึงอารมณ์ของลูกในท้องเมื่อคลอดออกมาแล้ว!!

นักวิจัยเตือน! แม่ท้องรับควันพิษมาก อาจส่งผลถึงอารมณ์ของลูก

มลภาวะมีผลต่อการตั้งครรภ์อย่างไร?

มลภาวะคือสภาพอากาศที่มีก๊าซ ควัน ฝุ่นหรือสารเคมีในอากาศสูง ซึ่งคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ที่อยู่ในมลภาวะจะมีอุบัติการณ์ของการคลอดก่อนกำหนด และทารกตัวเล็กกว่าคนทั่วไปเล็กน้อย โดยเฉพาะพวก สารตะกั่ว ที่มักพบในสีทาบ้าน หรืออาจปนเปื้อนมาในอาหาร อากาศ และน้ำ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์และโรงงานอุตสาหกรรม

หากแม่ท้องสูดอากาศที่มีสารตะกั่วเข้าไป จะเป็นอันตรายต่อระบบสืบพันธุ์ เพราะสารตะกั่วจะสะสมอยู่ในกระดูกและเม็ดเลือดได้นาน สามารถซึมผ่านรกไปสู่ทารกในท้องได้ โดยระดับตะกั่วในสายสะดือจะมีค่าเท่ากับระดับตะกั่วในเลือดของแม่

ซึ่งพิษของสารตะกั่วจะทําลายสมองและระบบประสาท ตับ ไต หัวใจ ทางเดินอาหาร ทําให้ทารกแรกเกิดมีอาการพิการทางสมอง ตาบอด หูหนวก หรือเสียชีวิตได้ นอกจากนี้สารตะกั่วยังไปทําลายอวัยวะต่าง ๆ หรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของอวัยวะบางส่วนของทารกด้วย

นอกจากทารกในท้อง จะสามารถรับสารตะกั่วจากแม่ได้ทางสายสะดือแล้ว เด็กอาจได้รับสารตะกั่ว จากการหยิบสิ่งที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนเข้าปาก หรือรับจากน้ำนมแม่ที่มีสารตะกั่วได้เช่นกัน คุณแม่ท้องจึงต้องระมัดระวังไม่ไปในสถานที่หรือกินอาหารในที่ที่ใกล้กับแหล่งที่มีควันพิษจากรถยนต์หรือโรงงานอุตสาหกรรม และควรพกผ้าปิดจมูกติดตัวไว้เพื่อป้องกันมลพิษเสมอ

อ่านต่อ >> “ผลร้ายของควันพิษที่ส่งผลต่อลูกน้อยหลังคลอด” คลิกหน้า 2

อ่านต่อ “บทความอื่นน่าสนใจ” คลิก!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ทั้งนี้ ควันพิษ ไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกเท่านั้น ผลการศึกษาจากศูนย์สุขภาพเด็กของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกาชี้ว่าการรับมลพิษทางอากาศในช่วงตั้งครรภ์อาจส่งผลให้เด็กที่คลอดออกมามีปัญหาด้านความคิด, อารมณ์ และพฤติกรรมได้ในอนาคต

ทีมวิจัยได้ทำการศึกษาผลเสียของสารพิษในกลุ่ม โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic aromatic hydrocarbon–PAH) ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เช่น เขม่าควันไฟ, ไอเสียของเครื่องยนต์ และควันบุหรี่ เป็นสารพิษที่ค่อนข้างร้ายแรง และเป็นสารเริ่มต้นของสารก่อมะเร็ง

Must read : แม่แชร์! ลูกเสียชีวิตเพราะ ควันบุหรี่ ของคนในบ้าน!
Must read : พ่อแม่สูบบุหรี่ วิจัยชี้! เสี่ยงลูกมีสมาธิสั้นและมีพฤติกรรมในทางลบได้ง่าย

ทีมวิจัยได้ทำการทดสอบและติดตามคุณแม่และเด็กกว่า 462 คู่ ในเมืองนิวยอร์ก ตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงช่วงวัย 3,5,7,9 และ 11 ขวบพบว่า เด็กที่คุณแม่ได้รับสาร PAH ขณะตั้งครรภ์เชื่อมโยงกับอาการสมาธิสั้น, อาการวิตกกังวล, ซึมเศร้าและไม่มีสมาธิ รวมถึงผลต่อพฤติกรรมที่ผิดปกติซึ่งมาจากภาวะขาดการควบคุมตนเอง

ในขณะที่ตัวเลขเด็กในปัจจุบันพบว่า 1 ใน 6 มักมีโรคหรืออาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ออทิสติก สมาธิสั้น สมองช้า หรือสมองพิการ ฯลฯ ระดับมลพิษระดับต่ำ ไม่ว่าจะเป็น ตะกั่ว และสารปรอท ที่มีผลต่อสมองนั้น เป็นที่รับรู้กันมาหลายทศวรรษ จึงมีการออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดการแพร่กระจายของมลพิษนี้ให้เหลือน้อยที่สุด

ดร.ฟิลิปเป แกรนด์จีน นักวิจัยจากคณะสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเซาท์เดนมาร์ก ยังระบุอีกว่ามีสารเคมีอย่างน้อย 202 ชนิดที่เป็นอันตรายต่อสมอง แต่ยังไม่รู้ชัดว่าการสัมผัสสารเคมีเหล่านี้ในระดับต่ำส่งผลอย่างไร? จึงควรมีการจำกัดระดับการสัมผัสสารเคมีเหล่านี้สำหรับคุณแม่ที่กำลังครรภ์และเด็กเล็ก ซึ่งมีความอ่อนไหวในเรื่องของพัฒนาการทางสมอง และบอบบางต่ออันตรายจากสารเคมี

ด้าน ดร.แกรนด์จีน ซึ่งเป็นศาสตราจารย์รับเชิญของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดด้วย กล่าวว่า สมองคนเราเป็นอวัยวะล้ำค่าและบอบบาง ความเสียหายแม้เพียงจำกัดอาจส่งผลร้ายแรงได้ การกำหนดระดับการสัมผัสสารเคมีอาจเป็นเรื่องยาก แต่จำเป็นต้องทำเพื่อปกป้องพัฒนาการทางสมองของคนรุ่นต่อไป

เพราะปัจจุบันก็มีสารเคมีไม่กี่ชนิดที่ถูกควบคุม อย่างเช่นตะกั่วและสารปรอท เพื่อปกป้องเด็ก ขณะที่สารเคมีอีก 200 ชนิดที่รู้กันว่าอันตรายต่อสมอง กลับไม่ถูกควบคุมเพื่อปกป้องตัวอ่อนในท้องแม่และเด็กเล็ก

อย่างไรก็ดีขึ้นชื่อว่า ควันพิษ ซึ่งเป็นมลภาวะ ไม่เคยส่งผลดีต่อใคร แต่ผลร้ายนั้นอาจจะมากกว่าและส่งผลยาวนานกว่าที่ตาเห็น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรเลี่ยงสภาวะแวดล้อมที่มีมลพิษเท่าที่จะทำได้

อ่านต่อ “บทความอื่นน่าสนใจ” คลิก!


ที่มา www.sciencedaily.com
เรื่อง : พิมพ์ภัทร
ภาพ : Shutterstock

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.manager.co.th