คุณแม่ตั้งครรภ์มักจะมีความระมัดระวังในทุกด้าน ทั้งเรื่องการกินอยู่และใช้ชีวิต ไม่เว้นแม้แต่การดูแลและทำฟัน ทำให้คุณแม่ที่มีปัญหาสุขภาพฟันมักสงสัยว่า แม่ท้องทำฟันได้ไหม เพราะกลัวจะส่งผลอันตรายในแง่ต่างๆ เราจึงมาอธิบายมาให้รับทราบกันค่ะ
แม่ท้องทำฟันได้ไหม
แม่ท้อง ทำฟันได้ “เพราะการรักษาฟันไม่ส่งผลอะไรถึงลูกในท้อง”
การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันก่อนและระหว่างการตั้งครรภ์เป็นเรื่องสําคัญแต่หลายครั้งที่คุณแม่บางท่านไม่ได้ใส่ใจดูแลอย่างจริงจัง แถมยังมีไม่น้อยที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการดูแลฟันในช่วงตั้งครรภ์ เช่น ปวดฟันก็ไม่ยอมไปหาหมอฟัน เพราะกังวลเรื่องการรักษาจะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยและอื่นๆ
แต่ความจริงแล้วสุขภาพช่องปากและฟันของคุณแม่ตั้งครรภ์ จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพคุณแม่เองและสุขภาพลูกน้อยได้ หากคุณแม่ไม่ดูแลฟันให้ดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์และในระหว่างตั้งครรภ์ด้วย ดังนั้นเรามาดูกันว่า แม่ท้องควรดูแลฟันอย่างไร และจะทำฟันแบบไหนได้บ้าง
แม่ท้อง ต้องดูแลเหงือกและฟันให้ดี
เพราะในขณะตั้งครรภ์ร่างกายคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของระบบฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางระบบสรีระต่างๆ ภายในร่างกายหลายอย่าง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพในช่องปากด้วย คุณแม่ท้องจึงควรได้รับการดูแลทางทันตกรรมเป็นพิเศษ มิฉะนั้นจะเกิดโรคต่างๆในช่องปากได้ โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุขภาพเหงือกและฟันที่ดีของคุณแม่เปลี่ยนไป ได้แก่
-
ร่างกายลูกน้อยต้องการแคลเซียมจากคุณแม่
นอกจากนี้ในระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ร่างกายของลูกน้อยในครรภ์จะต้องการแคลเซียมบางส่วนจากคุณแม่ไปสร้างอวัยวะและโครงสร้างร่างกายต่างๆ ทำให้แคลเซียมที่สะสมไว้ในร่างกายคุณแม่ลดลง ส่งผลให้กระดูกรองรับฟันอ่อนแอลงด้วยได้คุณแม่ท้องส่วนใหญ่จึงมักจะมีปัญหาโรคเหงือกในขณะตั้งครรภ์ได้นั่นเอง
บทความแนะนำ อาหารที่มีแคลเซียม สําหรับคนท้อง เมื่อแม่แพ้-ไม่ชอบดื่มนมวัว
-
ฮอร์โมนเปลี่ยนไป ส่งผลให้เหงือกอักเสบ
เพราะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้นทำให้มีการเปลี่ยนแปลงโดยตรงต่อหลอดเลือดขนาดเล็กของเหงือกทำให้สภาพของเหงือกเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เหงือกอักเสบ บวมแดง เลือดออกง่าย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม แม่ท้อง ทำฟัน อย่างไร คลิกต่อหน้า 2
-
แพ้ท้องก็ส่งผล
สุขภาพฟันคุณแม่ท้องก็เกี่ยวข้องกับการแพ้ท้องด้วยค่ะ เพราะในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ซึ่งคุณแม่มักจะแพ้ท้อง มีอาการอาเจียน ซึ่งการอาเจียนนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำย่อยจากกระเพาะซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดออกมาทำลายผิวเคลือบฟันได้ด้วย
-
สุขภาพช่องปากไม่ดี มีหินปูน
หากสภาพช่องปากคุณแม่มีหินปูนอยู่แล้วหรือใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ และไม่ได้รักษาสุขภาพช่องปากให้ดี จะยิ่งส่งผลทำให้เหงือกของคุณแม่มีปัญหา และทำให้เสี่ยงต่อการมีปัญหาปวดฟัน ฟันผุขณะตั้งครรภ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น
ด้วยสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่แม่ท้องต้องได้รับการดูแลรักษาทางทันตกรรมอย่างเหมาะสมและใกล้ชิดนะคะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
คนท้อง ทำฟัน อย่างไร
-
คนท้อง ทำฟัน ไตรมาสแรก
หากคุณแม่ท้องในช่วง 3 เดือนแรก มีปัญหาเรื่องฟันจริงๆ การทำทันตกรรมใดๆ ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์นี้ ส่วนใหญ่จะทำเฉพาะกรณีที่จำเป็นหรือที่ทำง่ายๆ ไม่ซับซ้อนยุ่งยากเท่านั้น เช่น การอุดฟัน การขูดหินปูน เนื่องจากคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงแรกมักจะมีอาการแพ้ท้อง ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว การทำฟันจึงอาจทำให้คุณแม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ทำฟันไม่ได้นาน หรือทำฟันได้ไม่สะดวก
** หากมีการถ่ายภาพรังสีเอ็กซเรย์ฟัน คุณแม่จะต้องได้รับการปกป้องร่างกายและครรภ์จากเสื้อตะกั่ว เพื่อป้องกันรังสี และวิธีการนี้จะทำเฉพาะกรณีจำเป็นจริงๆ เท่านั้น
-
คนท้อง ทำฟัน ไตรมาสที่สอง
การรักษาฟันและเหงือกที่ยุ่งยากขึ้นและต้องใช้เวลานาน เช่น การใส่ฟันปลอม การรักษารากฟัน การอุดฟันยากๆ การรักษาโรคเหงือกที่รุนแรง ควรจะทำการรักษาในระยะที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ในช่วง 4 ถึง 6 เดือน เพราะเป็นช่วงที่คุณแม่ไม่ค่อยมีอาการแพ้ท้อง และร่างกายเริ่มปรับเปลี่ยนต่อการตั้งครรภ์ได้ดี รวมถึงท้องคุณแม่ก็ยังไม่ใหญ่มากจนทำให้รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง เวลาที่ต้องนอนทำฟันค่ะ
-
คนท้อง ทำฟัน ไตรมาสที่สาม
สำหรับในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกอึดอัดไม่สบายตัวในการนอนราบนานๆ เพื่อทำฟัน จึงควรหลีกเลี่ยงการทำฟันในช่วงนี้ ยกเว้นกรณีจำเป็นจริงๆ ก็อาจทำทันตกรรมได้ โดยทำในแบบที่เป็นการรักษาง่ายๆ และต้องทำในช่วงเวลาสั้นๆ และต้องพลิกตัวบ่อยๆ
ติดตาม คําแนะนําในการดูแลฟันแม่ท้อง คลิดต่อหน้า 3
คนท้อง ทำฟัน ฉีดยาชาได้ไหม
การให้ยาในทางทันตกรรมนั้นมีความปลอดภัยสูงไม่ว่าจะเป็นยาชาเฉพาะที่หรือยาปฏิชีวนะ รวมถึงการให้ยาแก้ปวดที่ปลอดภัยต่อแม่ตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามคุณแม่ตั้งครรภ์ควรดูแลสุขภาพฟันให้ดีอยู่เสมอ และเมื่อพบปัญหาก็ไม่ควรปล่อยปละละเลย ไปปรึกษาทันตแพทย์แต่เนิ่นๆเพื่อช่วยให้การดูแลรักษาฟันในขณะที่มีเจ้าตัวน้อยอยู่ในครรภ์ ทำได้ง่ายขึ้น
คําแนะนําในการดูแลฟันแม่ท้อง
- ก่อนตั้งครรภ์คุณแม่ควรตรวจสุขภาพฟันและรักษาให้เรียบร้อย
2. หากยังไม่ได้ตรวจและรักษาฟันก่อนตั้งครรภ์เมื่อตั้งครรภ์แล้วก็ไปตรวจและรับการรักษาได้ตามปกติเพียงแต่คุณแม่ต้องบอกทันตแพทย์ก่อนว่ากําลังตั้งครรภ์ เพื่อที่คุณหมอจะได้นัดหมายเวลาในการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งแม้คุณแม่ท้องจะทําฟันได้ทุกไตรมาสแต่เพื่อความสะดวกและสบายตัวของคุณแม่ที่สุด ควรทำทันตกรรมในช่วงไตรมาสที่สองหรืออายุครรภ์ 4-6 เดือน
3. แม้คุณแม่ท้องจะไม่มีปัญหาสุขภาพฟัน แต่ควรไปพบทันตแพทย์อย่างน้อย 1 ครั้ง ขณะตั้งครรภ์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก และดูแลรักษาสุขภาพฟันได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีโรคแทรกซ้อนเสี่ยงเรื่องการติดเชื้อเช่นเบาหวานยิ่งควรต้องพบหมอฟันก่อนเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อจากปัญหาสุขภาพฟัน
4. อาการเลือดออกตามไรฟันเวลาแปรงฟันและเหงือกมีสีแดง ไม่ใช่เรื่องปกติ แต่เป็นเรื่อง ‘ผิดปกติ’ เพราะการที่เหงือกมีสีแดงหมายความว่าเหงือกกำลังบวมแดงจากการอักเสบ จึงมีเลือดออกจากไรฟันได้ง่าย รวมทั้งอาการเลือดออกตามไรฟันก็เกิดได้จากเหงือกอักเสบมีหินปูนมากด้วย ซึ่งการมีหินปูนและเหงือกอักเสบถือเป็นการติดเชื้อชนิดหนึ่งที่มีงานวิจัยว่าอาจจะส่งผลทำให้การตั้งครรภ์และการคลอดไม่ปกติได้
ดังนั้นหากคุณแม่มีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบทันตแพทย์ เพื่อปรึกษาวิธีการรักษา ตลอดจนวิธีการดูแลเหงือกและฟันที่คุณแม่ควรทำอย่างเหมาะสมค่ะ
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ
ท่านอนที่ดีที่สุดสำหรับแม่ท้อง และเคล็ดลับที่จะช่วยให้แม่ท้องหลับสบายตลอดคืน
5 เครื่องดื่มบำรุงครรภ์และเครื่องดื่มต้องห้ามสำหรับคนท้อง
9 ผัก ผลไม้สีแดง สารต้านอนุมูลอิสระสูง ดีต่อสุขภาพคุณแม่
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่