คุณแม่ท้องออกกำลังกายได้ไหม หากกำลังสงสัยว่า แม่ท้อง ออกกำลังกาย ได้ไหม ออกกำลังกายแบบไหนปลอดภัย และต้องระวังการออกกำลังกายแบบใดบ้าง เรามีคำตอบและคำแนะนำดีๆ ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่านจะนำไปใช้ได้จริงค่ะ
แม่ท้อง ออกกำลังกาย ได้ไหม
แม่ท้อง ออกกำลังกาย ได้ประโยชน์
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอขณะตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่คุณแม่ท่องสามารถทำได้แน่นอนค่ะ แถมยังเป็นสิ่งที่ดีต่อการตั้งครรภ์อีกด้วย เพราะจะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพดีส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการที่ดีของลูกน้อยในครรภ์อีกด้วย โดยประโยชน์ของการออกกำลังกายกับแม่ท้อง นั่นคือ
- ช่วยยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้มีความยืดหยุ่น รองรับร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปขณะตั้งครรภ์
- ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ จากการที่คุณแม่ต้องรับน้ำหนักตัวที่มากขึ้น และเป็นการเตรียมพร้อมร่างกายเพื่อการคลอด
- ขณะออกกำลังกาย ระบบการไหลเวียนเลือดและการถ่ายเทออกซิเจนของคุณแม่จะทำงานได้ดีส่งผลให้เจ้าตัวเล็กในท้องคุณแม่เติบโตดีและแข็งแรงไปด้วย
- ช่วยกระตุ้นพัฒนาการและประสาทสัมผัสของลูกน้อย เนื่องจากการเคลื่อนไหวของคุณแม่จะทำให้ลูกน้อยที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำในครรภ์ได้เคลื่อนไหวหรือขยับไปมาด้วย
- เพิ่มการหลั่ง สารสุข (เอนดอร์ฟิน) เวลาที่คุณแม่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำให้คุณแม่รู้สึกสดชื่นแจ่มใสอารมณ์ดี และลูกน้อยในครรภ์ก็จะรู้สึกดีตามไปด้วย
- ลดอาการท้องผูกขณะตั้งครรภ์ และลดอาการปวดหลัง หรือปวดเมื่อยต่างๆ ได้
- ช่วยคุณแม่ในการควบคุมน้ำหนักในระหว่างตั้งครรภ์ให้เพิ่มขึ้นอย่างสมดุล
- ช่วยให้คุณแม่สามารถลดน้ำหนักกลับคืนสู่สภาพเดิม มีรูปร่างเหมือนกับตอนก่อนท้องได้โดยเร็ว
- ช่วยให้คุณแม่นอนหลับในช่วงที่ตั้งครรภ์ได้สบายมากขึ้น
ปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย
แม้คุณแม่จะสามารถออกกำลังกายได้ในขณะตั้งครรภ์ แต่ก่อนที่คุณแม่จะเริ่มออกกำลังกาย ควรปรึกษาสูติแพทย์ที่ฝากครรภ์ก่อนค่ะว่า การตั้งครรภ์ครั้งนี้ปกติ ไม่มีความเสี่ยงใดๆ เช่น อายุคุณแม่ยังไม่เกิน 35 ปี ไม่มีประวัติการแท้ง ไม่มีโรคประจำตัว ร่างกายคุณแม่แข็งแรง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งหากปรึกษาคุณหมอแล้ว คุณแม่สามารถออกกำลังกายได้ ก็ควรลงมือออกกำลังกายได้เลยค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม ออกกำลังกายแบบไหน แม่ท้องทำได้ คลิกต่อหน้า 2
แม่ท้องออกกำลังกาย แบบไหนดี
ความจริงแล้วก่อนตั้งครรภ์ คุณแม่เคยออกกําลังกายแบบไหนพอตั้งครรภ์ก็ทําได้เหมือนเดิมค่ะ เพียงแต่ต้องเป็นการออกกกำลังกายที่ไม่หนัก หักโหมมากไปกว่าเดิมซึ่งการออกกําลังกายที่คุณแม่ทำได้ เช่น
- เดิน – เป็นการออกกำลังกายที่ง่าย และสะดวกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สุด โดยคุณแม่ควรเดินเป็นประจำทุกวัน โดยเดินในสถานที่ที่มีอากาศดีๆ รู้สึกผ่อนคลาย สวมรองเท้าส้นเตี้ย เดินสักประมาณวันละ 400-500 เมตร เดินในแบบที่รู้สึกได้ออกกำลังกายโดยที่ไม่เหนื่อยเกินไปค่ะ
- ว่ายน้ำ – เป็นการออกกำลังกายที่ดีสำหรับการตั้งครรภ์ เนื่องจากน้ำจะช่วยพยุงน้ำหนักของคุณแม่ไว้ได้บางส่วน โดยคุณแม่อาจจะเดินเล่นในน้ำ หรือลอยตัวว่ายน้ำในท่าง่ายๆ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อในร่างกายทุกส่วนให้แข็งแรง แต่ต้องระมัดระวังไม่แช่น้ำนานจนเกินไปด้วยนะคะ ส่วนกรณีการดำน้ำลึกนั้น ไม่ขอแนะนำให้คุณแม่ทำค่ะ
- โยคะ – จะช่วยให้ร่างกายของคุณแม่มีความสมดุล กล้ามเนื้อได้ยืดเหยียดและผ่อนคลาย ฝึกการหายใจให้มีสติ สมาธิ และผ่อนคลาย และช่วยลดอาการเจ็บปวดจากการคลอดได้ด้วย ซึ่งหากคุณแม่อยากจะทำโยคะควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญถึงท่าทางในการทำโยคะที่เหมาะสมกับคุณแม่ตั้งครรภ์ด้วยค่ะ
- เต้นรำเบาๆ – คุณแม่สามารถเต้นรำในจังหวะเบาๆ สบายๆ เต้นรำที่มีการเคลื่อนไหวช้าๆ ประกอบเพลงเพราะๆ ได้ แต่คุณแม่ต้องงดเว้นการเต้นรำในจังหวะที่เร็ว แรง ไม่การเต้นรำที่ต้องมีการหมุนตัว หรือจังหวะที่เสี่ยงต่อการลื่มล้มและเกิดอุบัติเหตุ
งดออกกำลังหนักๆ และกีฬาอันตราย
คุณแม่ตั้งครรภ์ ไม่ควรยกเวท หรือออกกำลังกายจนหักโหม รวมทั้งต้องห้ามเล่นกีฬาที่มีความอันตราย เช่น การวิ่งจ๊อกกิ้งที่เร็วและแรง ขี่ม้า ขี่จักรยาน ซิตอัพ กระโดดเชือก ตีเทนนิส ฯลฯ กีฬาหรือกิจกรรมที่ต้องกระโดด วิ่งเร็วๆ โดยไม่ควรทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงกระแทก การออกกำลังที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ การกระทบกระทั่งรุนแรงที่หน้าท้อง หรือต้องใช้การเกร็งที่หน้าท้อง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม ข้อควรระวัง เมื่อแม่ท้องออกกำลังกาย คลิกต่อหน้า 3
ข้อควรระวังเมื่อ แม่ท้องออกกำลังกาย
คุณแม่ควรออกกำลังกายอย่างถูกต้องเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด และไม่หักโหมเกินไป ควรออกกำลังกายในแบบที่เราทำได้ โดยที่ไม่ต้องทำให้เหมือนคนอื่น เพราะร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน วิธีการออกกำลังวิธีการหนึ่งอาจใช้ไม่ได้ในอีกคนหนึ่ง
ที่สำคัญคือต้องพิจารณาภาวะของการตั้งครรภ์ว่า คุณแม่มีภาวะรกเกาะต่ำที่มีเลือดออกมีตั้งครรภ์แฝดหรือมีอาการเจ็บท้องก่อนกําหนด มีประวัติการแท้ง และมีโรคประจำตัวหรือไม่ หากมีกรณีเหล่านี้ควรหลีกเลี่ยงการออกกําลังกายแต่ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์ปกติไม่มีอาการใดๆ แทรกซ้อนก็สามารถทําได้แต่จำเป็นต้องระมัดระวังให้มากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสามเดือนแรกและสามเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เพราะการออกกำลังกายที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดการแท้งคุกคามหรือคลอดก่อนกำหนดได้ หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอายุมากกว่า 35 ปี โอกาสแท้งก็จะสูงกว่าปกติ การออกกำลังกายต้องเพิ่มความระวังให้มากขึ้น
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ
เลี้ยงลูก+ทำงานบ้าน+ออกกำลังกาย ทำพร้อมกันได้นะคะ ^_^ (มีคลิป)
รวมวิธีดูแลตัวเองง่ายๆ เมื่อ แม่ท้อง ไม่สบาย
โลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก ในแม่ตั้งครรภ์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่