AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

รกเกาะต่ำ ภาวะรุนแรงที่สุดของการตั้งครรภ์

รกเกาะต่ำ ภาวะรุนแรงที่สุดของการตั้งครรภ์ พบได้ 1 คนในการตั้งครรภ์ประมาณ 200 คน หลายคนคงพอได้ยินภาวะนี้มาบ้าง มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ภาวะรกเกาะต่ำ คืออะไร แล้วเหตุใดถึงเรียกได้ว่าเป็นภาวะที่รุนแรงที่สุด

รกเกาะต่ำ ภาวะรุนแรงที่สุดของการตั้งครรภ์

ปกติแล้วรกจะเกาะบริเวณส่วนบนของมดลูก เมื่อคลอดลูกมดลูกส่วนบนซึ่งมีกล้ามเนื้อแข็งแรง จะบีบตัวทำให้เลือดจากแผลที่รกเกาะนั้นหยุด แต่สำหรับ รกเกาะต่ำ คือ รกเกาะบริเวณส่วนล่างของมดลูก หรือเกาะบริเวณปากมดลูก นอกจากทำให้มีเลือดออกตั้งแต่ตั้งครรภ์แล้ว ยังอาจเกิดการตกเลือดหลังคลอดด้วย เพราะเมื่อมดลูกหดรัดตัว ส่วนล่างของมดลูกที่มีกล้ามเนื้อน้อย ก็ไม่สามารถห้ามเลือดจากแผลที่รกเกาะต่ำได้ ซึ่งการเสียเลือดทำให้มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของแม่ โดยพบร้อยละ 0.3

และภาวะรกเกาะต่ำนี้จะเกิดอันตรายมากขึ้น ทำให้แม่เสี่ยงชีวิตมากขึ้น ถ้ามีการฝังตัวของรกที่ผิดปกติร่วมด้วย กับ ภาวะรกติด หรือ รกเกาะมดลูกแน่น (Placenta Accreta, Placenta Increta) ซึ่งในบางรายรกอาจจะกินทะลุออกนอกมดลูก (Placenta Percreta) ทำให้เกิดการตกเลือดอย่างรุนแรง

หากการตัดมดลูกไม่สามารถห้ามเลือดได้ก็ต้องรักษาโดยการผูกเส้นเลือดแดงอินเทอร์นอลอีลีแอค ที่ไปเลี้ยงบริเวณอุ้งเชิงกราน การผูกเส้นเลือดนั้นอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะเส้นเลือดแดงอินเทอร์นอลอีลีแอค ติดกับเส้นเลือดดำใหญ่ ต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการผูกเส้นเลือด

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

สาเหตุการเกิดภาวะ รกเกาะต่ำ คืออะไร

ไม่มีใครทราบสาเหตุแน่ชัดของภาวะรกเกาะต่ำ แต่มักจะเกิดได้ในกรณีเหล่านี้

ติดตาม ผลกระทบจากภาวะรกเกาะต่ำ ที่มีต่อทารก คลิกต่อหน้า 2

ทั้งนี้คุณหมอจะวินิจฉัย ภาวะรกเกาะต่ำ จากอาการเลือดออกในขณะตั้งครรภ์ ร่วมกับการตรวจทางอัลตรา
ซาวนด์ อย่างไรก็ตาม สำหรับอาการเลือดออก ในบางรายจะมีเลือดออกทางช่องคลอดตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ แต่ส่วนใหญ่มักมีเลือดออกช่วงตั้งครรภ์ 7 เดือนไปแล้ว ซึ่งเวลาเลือดออกจะไม่มีอาการเจ็บปวด

ผลกระทบจากภาวะ รกเกาะต่ำ ที่มีต่อทารก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ติดตาม ผลกระทบจากภาวะรกเกาะต่ำ ที่มีต่อแม่ คลิกต่อหน้า 3

 

 

ผลกระทบจากภาวะรกเกาะต่ำ ที่มีต่อแม่

ในกรณีที่ตรวจพบภาวะรกเกาะต่ำ แพทย์มักจะให้ข้อมูลคนไข้และญาติว่าเป็นภาวะที่เสี่ยงอันตราย หากจำเป็นอาจต้องตัดมดลูก เพื่อห้ามเลือดในระยะหลังคลอด

การรักษาภาวะรกเกาะต่ำ

หากมีภาวะรกเกาะต่ำต้องผ่าตัดคลอด เย็บห้ามเลือดบริเวณแผลที่รกเกาะ หากเลือดไม่หยุดต้องตัดมดลูก ซึ่งพบได้ร้อยละ 6-25 ของคนไข้ที่เป็นรกเกาะต่ำทั้งหมด หากห้ามเลือดไม่ได้ ต้องผูก หรือ ยิงสารเข้าไปอุดตันเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงอวัยวะในอุ้งเชิงกราน

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

รวมวิธีดูแลตัวเองง่ายๆ เมื่อ แม่ท้อง ไม่สบาย

การเปลี่ยนแปลงของเต้านมขณะตั้งครรภ์ ความลับที่แม่ท้องควรรู้

ปวดหลัง อาการยอดฮิตที่แม่ท้องต้องรับมือ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids