รกเกาะต่ำ ภาวะรุนแรงที่สุดของการตั้งครรภ์ - Amarin Baby & Kids

รกเกาะต่ำ ภาวะรุนแรงที่สุดของการตั้งครรภ์

Alternative Textaccount_circle
event

รกเกาะต่ำ ภาวะรุนแรงที่สุดของการตั้งครรภ์ พบได้ 1 คนในการตั้งครรภ์ประมาณ 200 คน หลายคนคงพอได้ยินภาวะนี้มาบ้าง มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ภาวะรกเกาะต่ำ คืออะไร แล้วเหตุใดถึงเรียกได้ว่าเป็นภาวะที่รุนแรงที่สุด

ภาวะรกเกาะต่ำ

รกเกาะต่ำ ภาวะรุนแรงที่สุดของการตั้งครรภ์

ปกติแล้วรกจะเกาะบริเวณส่วนบนของมดลูก เมื่อคลอดลูกมดลูกส่วนบนซึ่งมีกล้ามเนื้อแข็งแรง จะบีบตัวทำให้เลือดจากแผลที่รกเกาะนั้นหยุด แต่สำหรับ รกเกาะต่ำ คือ รกเกาะบริเวณส่วนล่างของมดลูก หรือเกาะบริเวณปากมดลูก นอกจากทำให้มีเลือดออกตั้งแต่ตั้งครรภ์แล้ว ยังอาจเกิดการตกเลือดหลังคลอดด้วย เพราะเมื่อมดลูกหดรัดตัว ส่วนล่างของมดลูกที่มีกล้ามเนื้อน้อย ก็ไม่สามารถห้ามเลือดจากแผลที่รกเกาะต่ำได้ ซึ่งการเสียเลือดทำให้มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของแม่ โดยพบร้อยละ 0.3

และภาวะรกเกาะต่ำนี้จะเกิดอันตรายมากขึ้น ทำให้แม่เสี่ยงชีวิตมากขึ้น ถ้ามีการฝังตัวของรกที่ผิดปกติร่วมด้วย กับ ภาวะรกติด หรือ รกเกาะมดลูกแน่น (Placenta Accreta, Placenta Increta) ซึ่งในบางรายรกอาจจะกินทะลุออกนอกมดลูก (Placenta Percreta) ทำให้เกิดการตกเลือดอย่างรุนแรง

หากการตัดมดลูกไม่สามารถห้ามเลือดได้ก็ต้องรักษาโดยการผูกเส้นเลือดแดงอินเทอร์นอลอีลีแอค ที่ไปเลี้ยงบริเวณอุ้งเชิงกราน การผูกเส้นเลือดนั้นอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะเส้นเลือดแดงอินเทอร์นอลอีลีแอค ติดกับเส้นเลือดดำใหญ่ ต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการผูกเส้นเลือด

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

สาเหตุการเกิดภาวะ รกเกาะต่ำ คืออะไร

ไม่มีใครทราบสาเหตุแน่ชัดของภาวะรกเกาะต่ำ แต่มักจะเกิดได้ในกรณีเหล่านี้

  • แม่อายุมาก โดยพบว่าแม่ที่ตั้งครรภ์อายุมาก 30,35 และ 40 ปีขึ้นไป เสี่ยงต่อการเกิดรกเกาะต่ำสูงเป็น 2.5,3.2 และ 4.4 เท่า ตามลำดับ เมื่อเทียบกับแม่ตั้งครรภ์ อายุ 20-29 ปี
  • มีลูกหลายคน แม่ที่มีลูกมากกว่า 5 คนขึ้นไป พบภาวะรกเกาะต่ำร้อยละ 5
  • รกฝังตัวไม่ปกติ โดยมาฝังในส่วนล่างของมดลูก ทั้งนี้อาจเกิดจากเคยทำแท้ง เคยขูดมดลูก สูบบุหรี่ ตั้งครรภ์แฝด หรือ รกมีขนาดใหญ่ผิดปกติ
  • เคยผ่าตัดคลอด ถ้าคุณแม่คนไหน เคยผ่าท้องคลอดหลายท้อง ก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดรกเกาะต่ำสูง โดยพบว่าผ่าท้องคลอด 1ท้อง 2 ท้อง 3 ท้อง 4 ท้อง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดรกเกาะต่ำร้อยละ 0.65,1.5,2.2 และ 10 ตามลำดับ
  • ตั้งครรภ์ครั้งที่แล้วเคยมีรกเกาะต่ำ ตั้งครรภ์นี้จึงมีโอกาสเกิดรกเกาะต่ำร้อยละ 4-8

ติดตาม ผลกระทบจากภาวะรกเกาะต่ำ ที่มีต่อทารก คลิกต่อหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up