สำหรับ พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 9-10 สัปดาห์ ของแม่ท้องจะมีการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้มาก ทำให้คุณแม่แพ้ท้อง ร่างกายเปลี่ยนแปลง และต้องระวังหลายๆ อย่าง ไปดูกันว่ามีอะไรบ้างค่ะ
พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 9-10 สัปดาห์
อาการคนท้อง 9-10 สัปดาห์
สำหรับท้องแรก ขนาดท้องอาจยังไม่ใหญ่มากจนเป็นที่สังเกต แต่คุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าเอวหนาขึ้น กางเกงเริ่มจะคับแล้ว ร่างกายคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงคล้ายๆ กับสัปดาห์ก่อนๆ คือยังคงมีอาการคนท้อง ได้แก่ แพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนบ้าง ปวดปัสสาวะบ่อย อยากอาหาร สิวขึ้น อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ อ่อนไหว ซึมเศร้า เหนื่อยล้า เป็นต้น
แม่ท้องเปลี่ยนแปลงอย่างเข้าใจ
เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและ HCG ที่สูงขึ้นในขณะตั้งครรภ์ อุณหภูมิในร่างกายที่เพิ่มขึ้นรวมถึงมีปริมาณเลือดที่สร้างมาหล่อเลี้ยงในร่างกายคุณแม่มากขึ้น จะทำให้รูปร่างของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย ได้แก่ เต้านมเริ่มคัดตึง มีตกขาวมากขึ้นและมีมูกออกมาทางช่องคลอดจากเลือดและฮอร์โมนที่หล่อเลี้ยงช่องคลอดมากขึ้น ปัสสาวะบ่อยขึ้นเพราะมดลูกขายไปกดกระเพาะปัสสาวะ อารมณ์แปรปรวนอ่อนไหวง่าย รู้สึกง่วงอ่อนเพลียง่าย หรือหงุดหงิดและซึมเศร้าง่ายกว่าปกติ
วิธีการปรับตัวคือ ตัดความกังวลใจทั้งหมด โดยคุณแม่ควรทำใจให้สบายๆ ดูแลความสะอาดของร่างกาย ทานอาหารให้ครบถ้วน 5 หมู่ ดื่มน้ำมากๆ และพักผ่อนให้เพียงพอสม่ำเสมอ พยายามเข้าใจว่าทุกอย่างเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายปรับตัวเพื่อต้อนรับลูกน้อยในครรภ์ และหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น แล้วรีบปรึกษาแพทย์ทันที เช่น ตกขาวมากผิดปกติ มีกลิ่นและคัน มีอาการแสบขัดเวลาปัสสาวะ เป็นต้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
เตือนคุณแม่!
* 1. หากอาเจียนมาก
จนคุณแม่ดื่มน้ำหรือกินอาหารไม่ได้เลย ปัสสาวะเริ่มน้อย หัวใจเต้นเร็ว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อแก้ไขทันที เพราะอาจเกิดความผิดปกติของร่างกาย และเสี่ยงต่อการแท้งหรือโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายอื่นๆ
* 2. ไม่ยกของหนัก ไม่เครียด
คุณแม่ควรระมัดระวังอุบัติเหตุจากการกระแทก ไม่ควรทำงานหนัก ขึ้นที่สูง หรือออกกำลังกายหนัก เพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะแท้งได้
* 3. ระวัง…ภาวะแท้งคุกคาม
นั่นคืออาการเลือดออกผิดปกติในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก(สัปดาห์แรกจนถึง 12-14 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์) ซึ่งหากคุณแม่สังเกตว่ามีเลือดออกมา แม้จะเพียงเล็กน้อย ก็อาจจะเกิดจากการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก และอื่นๆ ได้ จึงควรรีบไปพบแพทย์ทันที
บทความแนะนำ 10 ข้อห้าม คนท้องอ่อนๆ ต้องระวังอะไรบ้าง?
ติดตาม อาหารและยาต้องห้ามของแม่ท้อง คลิกต่อหน้า 2
* 4. อาหารและยาต้องห้ามของแม่ท้อง
คุณแม่ควรงดอาหารที่ไม่มีคุณค่าและอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย ได้แก่
* อาหารหมักดอง และอาหารรสจัด เช่น ผลไม้ดอง อาหารเผ็ด เพราะอาจมีสารพิษปนเปื้อน มีเกลือในปริมาณสูง ระคายเคืองกระเพาะอาหารและลำไส้ จนทำให้คุณแม่ท้องเสีย และความดันโลหิตสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่แต่งกลิ่น สี ผงชูรส หรือมีสารกันบูด ซึ่งมีสารเคมีที่เป็นอันตราย ทำให้แพ้และก่อโรคภัยร้ายได้
* เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เบียร์ ไวน์ น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง และเครื่องดื่มบำรุงกำลัง ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ได้รับน้ำตาลมากเกินไป
* ขนมและอาหารที่หวานจัด ทำให้ร่างกายสะสมน้ำตาล ทำให้น้ำหนักคุณแม่เพิ่มขึ้นมากเกินไป จนเป็น เบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ หรืออื่นๆ ได้
* ยาและวิตามิน ที่ซื้อทานเอง เช่น ยาปฏิชีวนะ ยารักษาสิว วิตามิน อาหารเสริม ยาจีน ล้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพลูกน้อยในครรภ์ ทำให้ลูกเจริญเติบโตผิดปกติ และเกิดความพิการได้ ดังนั้น คุณแม่จึงต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งที่จะทานยา และไม่ควรซื้อยามาทานเอง
บทความแนะนำ ยาที่แม่ท้องต้องระวังเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ลูกในครรภ์
ตรวจปัสสาวะตอนฝากครรภ์…รู้อะไรบ้าง
ตรวจโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ คุณแม่ท้องหลายๆ คนมักเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบโดยไม่รู้ตัว เพราะไม่มีอาการใดๆ บ่งบอกเลย ดังนั้นจึงต้องนำปัสสาวะของคุณแม่ไปตรวจว่ามีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียหรือไม่ หากพบว่ามี ก็จะมีการนำปัสสาวะไปวิเคราะห์ว่าเป็นแบคทีเรียตัวใด จากนั้นจึงจะรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะต่อไป
ตรวจน้ำตาล การตรวจพบน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินกำหนด บ่งบอกว่าคุณแม่อาจเสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งภาวะนี้สามารถควบคุมได้ หากคุณแม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ตรวจโปรตีน การตรวจพบโปรตีนหรือที่เรียกว่า ไข่ขาว ปนอยู่ในปัสสาวะ เป็นอีกข้อหนึ่งที่บ่งชี้ว่าคุณแม่ท้องมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
ตรวจหาคีโตน คีโตนมักจะมีในปัสสาวะของคนที่เป็นโรคเบาหวานแบบควบคุมไม่ได้ ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือมีการอดอาหารเป็นเวลานาน ดังนั้นหากคุณแม่ท้องที่เข้าข่ายว่าอาจเป็นเบาหวาน หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียนจนกินอะไรไม่ได้ น้ำหนักลดขณะตั้งครรภ์ จึงต้องตรวจวัดระดับคีโตนในปัสสาวะ สำหรับคุณแม่ที่กินอาหารไม่ได้เลย คุณหมอก็จะให้อาหารและยาผ่านทางหลอดเลือดดำ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ 9-10 สัปดาห์ คลิกต่อหน้า 3
พัฒนาการทารกในครรภ์ 9-10 สัปดาห์
ในช่วงสัปดาห์นี้อวัยวะสำคัญต่างๆ จะเริ่มมีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว นั่นคือ หัวใจของลูกน้อยจะมีโครงสร้างสำคัญครบถ้วนและเต้นแรงขึ้น อวัยวะภายในครบถ้วนทั้งหมด กระเพาะอาหาร ตับ ม้าม มีการพัฒนา ลำไส้เริ่มทำงาน โครงสร้างของกล้ามเนื้อต่างๆ ก็เริ่มมีการเติบโตและสมบูรณ์มากขึ้น โดยลูกน้อยจะได้รับสารอาหารผ่านทางรกและสายสะดือนั่นเอง
ขนาด : 2.5 – 3 เซนติเมตร น้ำหนัก : 3-4 กรัม
ใบหน้าลูกน้อยมีการพัฒนาขึ้นอย่างชัดเจน เริ่มมีเค้าโครงหน้าปรากฏ จมูก ปาก โพรงจมูก ช่องปาก นอกจากนี้ก็เริ่มพัฒนาส่วนต่างๆ
- ศีรษะตั้งตรงขึ้นและพัฒนาอย่างเต็มที่ โดยส่วนหัวของลูกยังคงโตมากเมื่อเทียบกับลำตัว ในขณะที่ลำตัวก็เริ่มที่จะค่อยๆ ยืดยาวออก
- หูของลูกน้อยยื่นออกมากว่าเดิม รวมทั้งมีการเต้นของหัวใจที่เร็วมาก คืออัตราการเต้นของหัวใจลูกน้อยในครรภ์จะเต้นเร็วกว่าคุณแม่ประมาณเท่าตัวคือ 140-150 ครั้งต่อนาที
- ลูกน้อยในครรภ์จะเริ่มขยับตัวและตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกได้แล้ว แต่คุณแม่ยังไม่รู้สึกกับการเคลื่อนไหวนี้ จึงยังไม่รู้ว่าลูกดิ้นค่ะ
อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ
ลูกน้อยเสียชีวิตในครรภ์ ภาวะที่คุณแม่ต้องระวัง
ทารกขาดวิตามินบี 12 เสียชีวิต เพราะแม่รักสุขภาพกินแต่ผัก
อาการคนท้อง แบบแปลกๆ ที่เกิดมักเกิดกับแม่ตั้งครรภ์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่