พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 7-8 สัปดาห์ ของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง และลูกน้อยในครรภ์จะเติบโตมากขนาดไหนแล้วนะ มาดูกันเลยค่ะ
พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 7-8 สัปดาห์
อาการคนท้อง 7-8 สัปดาห์
แพ้ท้องชัดเจน เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 7-8 สัปดาห์ จะเป็นช่วงที่คุณแม่เริ่มรู้สึกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับร่างกายอย่างชัดเจน และเริ่มรู้ได้ว่ากำลังตั้งครรภ์ นั่นคือ
- เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เหม็นกลิ่นอาหารมากขึ้น
คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอาการ แพ้ท้อง โดยมีอาการวิงเวียนศีรษะ พะอืดพะอม คลื่นไส้อาเจียน เหม็นกลิ่นอาหาร แต่ละคนอาจมีอาการมากน้อยต่างกัน และอาการสำคัญคือ Morning Sick ที่ทำให้คุณแม่มีอาการแพ้ท้องได้ในตอนเช้าๆ โดยสาเหตุหลักเกิดจาก ฮอร์โมน HCG (Human Chorionic Gonadotropin) ฮอร์โมนตัวนี้จะสร้างขึ้นจากรก เมื่อตัวอ่อนของลูกน้อยฝังตัวจนเกิดการตั้งครรภ์และสร้างรก HCG จะเพิ่มขึ้นในกระแสเลือดคุณแม่เรื่อยๆ และรวดเร็ว สูงสุดในช่วงกำลังตั้งครรภ์ได้ 7-10 สัปดาห์ ทำให้คุณแม่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจนแพ้ท้องหนักในช่วงนี้นั่นเอง แต่หลังจาก 3 เดือนแรก หรือ ประมาณสัปดาห์ที่ 13-27 ฮอร์โมนในร่างกายแม่จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตามมาได้อีก ซึ่งตลอดการตั้งครรภ์จะมีฮอร์โมนสูงถึง 300 เท่าของตอนที่ยังไม่ตั้งครรภ์เลยทีเดียว
คุณแม่จึงควรทำความเข้าใจและรับมือกับอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียนด้วยการจิบน้ำขิงอุ่นๆ หรือน้ำหวานป้องกันอาการวิงเวียนคลื่นไส้ในตอนเช้า ทานขนมปังกรอบ หลีกเลี่ยง อาหารทอด อาหารมัน อาหารเค็ม อาหารกลิ่นแรง ทานอาหารน้อยๆ แต่บ่อยมื้อ เพื่อป้องกันการอาเจียน ลดความเครียด และหากรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อย เวียนศีรษะให้พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอค่ะ
- เต้านมคัดตึง
คุณแม่จะเจ็บคัดตึงเต้านมมาก เต้านมมีการขยายขนาดมากขึ้น บริเวณฐานของหัวนมหรือลานนมกว้างขึ้น มีสีเข้มขึ้นและนุ่มขึ้น
- ตกขาวมากกว่าปกติ
คุณแม่จะมีตกขาวมากกว่าปกติ เพราะมีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะเพศภายนอกและช่องคลอดมากขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังอาจสังเกตได้ว่าอวัยวะเพศมีสีเข้มยิ่งขึ้น รวมทั้งมดลูกของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่กว่าเดิมเป็นสองเท่า
สังเกตตกขาวผิดปกติหรือไม่ ? อาการตกขาวเกิดจากฮอร์โมนและการมีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงช่องคลอดเพิ่มขึ้น ทำให้ร่างกายคุณแม่สร้างมูกหรือตกขาวมากกว่าปกติ ซึ่งหากตกขาวไม่มีกลิ่น ไม่มีอาการคันถือว่าปกติ คุณแม่เพียงทำความสะอาดอวัยวะเพศด้านนอกด้วยน้ำสะอาดตามปกติก็เพียงพอ ห้ามใช้น้ำยาฆ่าเชื้อใดๆ ล้าง หรือสวนล้างเข้าไปในช่องคลอดเด็ดขาด แต่หากตกขาวมากผิดปกติ และมีกลิ่นเหม็น หรือมีอาการคัน ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที ห้ามซื้อยามาเหน็บเอง เพราะอาจเกิดอันตรายจนอักเสบหรือติดเชื้อ และส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ได้
- ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น
เนื่องจากฮอร์โมนและเลือดที่มาเลี้ยงในร่างกายคุณแม่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ระบบการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายก็เพิ่มมากเช่นกัน ดังนั้นคุณแม่จึงควรใส่ใจดูแลเรื่องโภชนาการ ให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน 5 หมู่อยู่เสมอ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม ท้องแล้ว! ต้องทำยังไงต่อ? คลิกหน้า 2
เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ ต้องไปฝากครรภ์ทันที
สำหรับการไปฝากครรภ์ครั้งแรก คุณแม่อาจจะสงสัยว่าเราต้องทำอย่างไรบ้าง ตรวจอะไรบ้าง ซึ่งจริงๆ แล้วไม่มีอะไรยุ่งยากเลยหากเรามีการเตรียมพร้อมมาอย่างดี
ประวัติสุขภาพ
อันดับแรกเมื่อพบคุณหมอคือ การซักประวัติ ดังนั้นก่อนไปพบคุณหมอ คุณแม่ลองนั่งทบทวนและจดบันทึกประวัติสุขภาพของตัวเองและครอบครัวเตรียมไว้ เวลาคุณหมอถามจะได้นึกออกตอบได้ทันที คำถามหลักๆ มีดังนี้
- ประจำเดือนคุณแม่มาปกติหรือไม่ มีระยะเวลาที่ประจำเดือนมาวันแรกถึงวันสุดท้ายมีกี่วัน และประจำเดือนมาวันสุดท้ายเมื่อไร
- มีปัญหาสุขภาพล่าสุดหรือไม่ เคยเป็นโรคทางนรีเวช เคยผ่าตัดหรือไม่
- เคยตั้งครรภ์มาก่อนหรือไม่
- โรคประจำตัว การใช้ยารักษาต่างๆ การแพ้ยา และมีปัญหาสุขภาพจิตหรือไม่
- การใช้ชีวิตประจำวันที่มีความเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้สารเสพติด
- ประวัติสุขภาพของคนในครอบครัว
รายการตรวจ
นอกจากการซักประวัติสุขภาพของคุณหมอแล้ว ในการฝากครรภ์ครั้งแรกจะมีการตรวจสุขภาพพื้นฐานต่างๆ ดังนี้
- ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง
- ตรวจร่างกายทั่วไป
- วัดความดันโลหิต
- ตรวจหน้าท้องหรืออัลตร้าซาวด์
- ตรวจปัสสาวะ
- ตรวจเลือดทั้งของคุณแม่และสามี
- ตรวจภายใน
คำถามที่ควรถาม
- การดูแลตัวเองเบื้องต้นทั้งอาหารการกิน การออกกำลังกาย กิจกรรมต่างๆ ที่ควรหลีกเลี่ยง
- น้ำหนักที่เหมาะสมระหว่างตั้งครรภ์
- ยารักษาโรคต่างๆ ที่เป็นอันตราย และการดูแลตัวเองเมื่อป่วย
- การนัดตรวจครั้งต่อไปและกำหนดคลอด
- การฉีดวัคซีนต่างๆ
- ภาวะแทรกซ้อนและอาการต่างๆ ที่ควรระมัดระวัง
- การกินวิตามินหรืออาหารเสริมต่างๆ
เหล่านี้เป็นเพียงพื้นฐานเบื้องต้นเท่านั้น ในแต่ละโรงพยาบาลอาจมีรายละเอียดแตกต่างกันไป ซึ่งปัจจุบันแต่ละแห่งมีแพ็คเกจให้คุณแม่ได้เลือกมากมาย แต่จะเลือกที่ไหน อย่างไร ขึ้นอยู่กับความสบายใจของคุณแม่ รวมถึงควรพิจารณาความใกล้ไกลของระยะทางในกรณีฉุกเฉินด้วยค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ 7-8 สัปดาห์ คลิกต่อหน้า 3
พัฒนาการ ลูกน้อยในครรภ์ 7-8 สัปดาห์
ลูกน้อยมีการพัฒนาสมองและไขสันหลัง โดยสมองส่วนหน้าของลูกน้อยซึ่งเป็นส่วนใหญ่ที่สุดและมีรอยหยักมากที่สุดกำลังเจริญเติบโตขึ้น และสร้างเซลล์สมองมากกว่า 100 เซลล์ ในทุกๆ นาที ส่วนกะโหลกนั้นยังคงโปร่งใสอยู่ โดยส่วนหัวของลูกจะมีการขยายออกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันกับสมอง รวมถึงอวัยวะสำคัญต่างๆ ก็จะเริ่มมีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วตามมาด้วย
ขนาด: 1.5- 2.0 ซม. น้ำหนัก : 2-3 กรัม
- ในสมองของลูก เซลล์ประสาทกำลังเจริญเติบโต มีการแตกกิ่งก้านสาขาและเริ่มเชื่อมต่อกัน
- ใบหน้าของลูกน้อยก็กำลังเป็นรูปร่างชัดเจนขึ้น สีของม่านตามองเห็นได้ชัดเจน ส่วนเลนส์ตาก็กำลังเป็นรูปเป็นร่าง ส่วนกลางของหูเชื่อมต่อกับหูชั้นในแล้ว
- ตับทำหน้าที่ผลิตเม็ดเลือดแดงไปก่อนจนกว่าไขกระดูกจะเจริญเติบโตพร้อมรับหน้าต่อไป
- นิ้วมือและนิ้วเท้าเป็นรูปเป็นร่างขึ้น แต่ยังคงติดกันอยู่ ส่วนข้อมือ ข้อศอก และข้อเท้ามองเห็นได้ชัดเจนแล้ว
- เปลือกตาของลูกกำลังขึ้นรูป หู ริมฝีปากบน และปลายจมูกก็ปรากฏชัดขึ้นเช่นเดียวกัน
- ระบบย่อยยังคงเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะลำไส้ ระบบหัวใจ และการไหลเวียนเลือด
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ
การใช้ยาในคุณแม่ตั้งครรภ์ และให้นมลูกน้อย
แม่ท้องดื่มน้ำมะพร้าว ช่วยให้ลูกผิวดีจริงหรือไม่?
แม่ท้องฟังเพลง คลาสสิค-โมสาร์ท ช่วยให้ทารกฉลาดขึ้นจริงหรือ?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่