พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 35-36 สัปดาห์ ในช่วงนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่ใกล้จะได้เห็นหน้าลูกน้อยกันแล้ว มาดูกันค่ะว่า คุณแม่จะมีอาการอะไรและลูกน้อยจะเก่งและเติบโตได้แค่ไหนกันแล้ว
พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 35-36 สัปดาห์
อาการคนท้อง 35-36 สัปดาห์
-
มีอาการเจ็บและชา
อาการเจ็บๆ ปวดๆ ตามร่างกาย คงเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่ายของคนท้อง เพราะไม่ว่าจะทำอย่างไรก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งอายุครรภ์มากขึ้น อาการเจ็บปวดของคุณแม่ก็ดูจะเข้มข้นมากขึ้นตามไปด้วย มาในสัปดาห์นี้ นอกจากอาการปวดบริเวณหลังหรือขาแล้ว ยังมีอาการปวดและชาที่นิ้วมือ ฝ่ามือ และข้อมือเพิ่มขึ้นมาด้วย
สาเหตุที่เกิดอาการชานั้นมาจากมีเลือดจำนวนมากมาคั่งบริเวณข้อมือ ทำให้เกิดแรงกดที่ช่องใต้กระดูกข้อมือ จนไปบีบรัดเส้นประสาท จึงทำให้เกิดอาการเหน็บชาและเจ็บจี๊ดเหมือนโดนเข็มแทง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อาการนี้คงทำให้คุณแม่ท้องรู้สึกหงุดหงิดและรำคาญไม่น้อย เรามาดูวิธีบรรเทากันดีกว่าค่ะ
- ลองสวมใส่อุปกรณ์พยุงข้อมือ (แบบเดียวกับที่ใช้ในผู้ที่มีกล้ามเนื้ออักเสบ) เพื่อช่วยให้ข้อมือเคลื่อนไหวน้อยลง ซึ่งมีให้เลือกใช้หลากหลายรูปแบบ แต่อุปกรณ์นี้สวมใส่เพียงชั่วคราวเท่านั้น ไม่ควรใส่ตลอดทั้งวัน เพราะจะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก
- นำหมอนมารองข้อมือขณะนอนหลับ
- หากคุณแม่ต้องทำงานที่ต้องเคลื่อนไหวข้อมืออย่างต่อเนื่อง เช่น การพิมพ์คีย์บอร์ด อย่าลืมพักบ่อยๆ และบีบ-คลาย เพื่อผ่อนคลายข้อมือเสมอๆ
ติดตาม อาการสำคัญอื่นๆ และโภชนาการแม่ท้อง ไตรมาสสาม คลิกต่อหน้า 2
อาการอื่นๆ
- อาจมีอาการปวดศีรษะบ่อยมากขึ้น เพราะพักผ่อนได้น้อยลง คุณแม่จึงอ่อนเพลียง่าย
- เส้นเลือดดำขอด ขึ้นที่บริเวณขา และน่อง ซึ่งทำให้คุณแม่บางคนอาจรู้สึกเจ็บได้
- เล็บยาวเร็วแต่เปราะบางกว่าปกติ คุณแม่จึงควรรับประทานอาหารที่มีสารไบโอตินเป็นประจำจะช่วยได้ เช่น กล้วย อะโวคาโด ถั่วและธัญพืช
- มีอาการเจ็บแปลบที่ท้องน้อยบ้าง หรือบางครั้งอาจเจ็บท้องหลอก และมักจะหายใจสั้น
- สายตาคุณแม่อาจสั้นขึ้น โดยมีอาการโฟกัสภาพไม่เหมือนปกติ มองเห็นเป็นภาพเบลอๆ ได้
- ขา เท้า ข้อเท้า มือ ข้อมือของคุณแม่ อาจมีอาการบวมมากขึ้น รวมถึงมีท้องผูก อาจเป็นริดสีดวงและปัสสาวะบ่อย
- อาจรู้สึกเหมือนมีแรงกดบริเวณส่วนล่างของเชิงกราน เนื่องจากลูกน้อยกำลังเตรียมตัวล่วงหน้าสำหรับการคลอด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
โภชนาการแม่ท้องไตรมาส 3
เรื่องอาหารการกินนับเป็นเรื่องสำคัญมาตั้งแต่ก่อนท้องแล้ว โดยเฉพาะในไตรมาสสุดท้าย กระบวนการสร้างอวัยวะสำคัญอย่างสมอง กระดูก กล้ามเนื้อ และปอดของลูกน้อย ถือเป็นช่วงเข้มข้นไม่แพ้กัน การเลือกสารอาหารให้ครบ เหมาะสม และพอดี จึงจำเป็นมาก
What to Eat!
- แคลเซียมและวิตามินดี จำเป็นต่อการสร้างกระดูกและฟัน โดยเฉพาะวิตามินดีจะช่วยให้ร่างกายดูดซับแคลเซียมได้ดี โดยมีอยู่ในแสงแดด และอาหาร เช่น นม ปลาที่มีกรดไขมัน เป็นต้น
- เหล็ก จำเป็นมากต่อการผลิตเลือดให้เพียงพอต่อแม่และลูก และป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจาง โดยคุณหมอมักจะให้คุณแม่กินเป็นอาหารเสริมอยู่แล้ว
- ไขมัน จำเป็นต่อสมองและการมองเห็นของลูก ควรเลือกกินไขมันดีที่มีอยู่ในปลา วอลนัตผักใบเขียว น้ำมันคาโนล่า
- โปรตีน จำเป็นมากต่อการเจริญเติบโตและการสร้างอวัยวะต่างๆ พบได้ในเนื้อสัตว์ต่างๆ ชีส โยเกิร์ต
- วิตามินซี จำเป็นต่อการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอและช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังคลอด
- กรดโฟลิก จำเป็นมากตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์และระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่และลูกน้อยต้องการกรดนี้เพื่อสร้างและซ่อมดีเอ็นเอให้สามารถทำงานได้อย่างปกติ รวมทั้งยังช่วยผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วย
What to Drink!
- น้ำเปล่าสะอาด ไม่มีน้ำอะไรจะดีไปกว่าการดื่มน้ำสะอาดธรรมดา ยิ่งในระหว่างตั้งครรภ์ร่างกายของคุณแม่ควรได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เพราะ H2O ช่วยเพิ่มปริมาณเลือดและสร้างน้ำคร่ำที่ช่วยปกป้องลูกน้อยในครรภ์
ติดตาม พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ 35-36 สัปดาห์ คลิกต่อหน้า 3
พัฒนาการทารกในครรภ์ 35-36 สัปดาห์
หนูเริ่มดิ้นน้อยลง … เพราะลูกน้อยเริ่มจะมีตัวโตเต็มที่คับครรภ์คุณแม่ ทำให้ถูกจำกัดพื้นที่ในการเคลื่อนไหว จึงทำให้เคลื่อนไหวขยับตัวได้ลำบากมากขึ้น ทำให้คุณแม่อาจรู้สึกได้ว่าลูกดิ้นน้อยลง แต่ก็ยังรู้สึกถึงแรงเตะหรือดิ้นของลูกได้อย่างชัดเจน
ขนาด: ประมาณ 42-45 เซนติเมตร น้ำหนัก: 1,700-2,000 กรัม
- ผิวหนังของลูกน้อยยังคงสร้างชั้นไขมันอยู่เรื่อยๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายลูกน้อยให้อบอุ่น โดยยังคงมีไขสีขาวเหลืออยู่บ้างบริเวณลำตัวและหลัง เพื่อช่วยหล่อลื่นให้ลูกน้อยคลอดได้ง่ายขึ้น
- สายสะดือของลูกน้อยจะมีสารคล้ายยางที่มีความยืดหยุ่นเพื่อห่อหุ้นเส้นเลือดไว้ และสารนี้เองจะช่วยไม่ให้สายสะดือหักงอ หรือพันกัน เลือดจึงสามารถส่งไปเลี้ยงลูกน้อยในครรภ์ได้เพียงพออยู่เสมอ
- กะโหลกศีรษะของลูกยังคงอ่อนนุ่มและยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ คุณแม่จึงเห็นได้ว่าเด็กแรกคลอดยังมีจุดที่กะโหลกบุ๋มอยู่
- ตับของลูกทำหน้าที่ได้ด้วยตัวเองแล้ว รวมถึงไตที่พัฒนาอย่างสมบูรณ์เช่นกัน
- ขนอ่อนตามร่างกายของลูกเริ่มร่วงจนเกือบหมดแล้ว อาจยังหลงเหลือยู่บ้างตามบริเวณ ไหล่ ขา แขนและมีรอยย่นตามลำตัวบ้าง ซึ่งเมื่อขนอ่อนหลุดหมดขนจริงก็กำลังขึ้นแทนที่
อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ
ไขข้อข้องใจ! อุ้งเชิงกรานแคบ คลอดเองได้ไหม
อาการหนาวสั่นหลังคลอดลูก เกิดจากอะไร?
มดลูกเข้าอู่ช้า และอาการผิดปกติของมดลูกหลังคลอด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่