พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 33-34 สัปดาห์ เป็นช่วงที่คุณแม่ใกล้คลอดเข้ามาทุกที โดยคุณแม่บางท่านจะเริ่มมีอาการเจ็บครรภ์เตือนกันแล้ว อยากรู้ไหมคะว่ามีอาการอย่างไร ไปติดตามกันได้เลยค่ะ
พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 33-34 สัปดาห์
อาการคนท้อง 33-34 สัปดาห์
-
เท้าบวม
สาเกตุเกิดจากน้ำหนักครรภ์ของคุณแม่ไปกดหลอดเลือดดำใหญ่ด้านหลังลำตัว ทำให้เลือดเดินกลับขึ้นเข้าสู่หัวใจไม่สะดวก ซึ่งนอกจากเท้าบวมแล้วคุณแม่อาจมีอาการหน้าแข้งบวมด้วยได้ ซึ่งหากสังเกตว่ามีอาการเท้าบวมมาก ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นส่วนหนึ่งของครรภ์เป็นพิษได้
-
ปวดหน่วงเชิงกราน
เกิดจากบริเวณข้อต่อของกระดูกเชิงกรานหย่อนตัว ทำให้คุณแม่มีอาการปวดหน่วงเชิงกราน เวลาเปลี่ยนอิริยาบถได้
-
รกสมบูรณ์
รกของคุณแม่ที่เป็นระบบสำคัญในการหล่อเลี้ยงลูกน้อยในครรภ์จะสมบูรณ์เต็มที่ พร้อมกับสร้างฮอร์โมนต่างๆ มากขึ้นเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ ช่วยในการขยายตัวของมดลูกและเตรียมพร้อมเพื่อการคลอดของคุณแม่
อาการอื่นๆ ได้แก่
- หายใจลำบาก หายใจไม่ทัน หอบ เพราะมดลูกที่มีขนาดใหญ่และลูกน้อยไปเบียดปอดของคุณแม่
- เริ่มมีน้ำนมเหลืองไหลออกมาจากหน้าอก
- ปวดปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะเล็ดเมื่อหัวเราะหรือจาม
- ปวดหลัง ปวดขา หรือข้อต่างๆ ทำให้นอนหลับยากขึ้นและอ่อนเพลีย
- สะดือคุณแม่จะตื้นขึ้น และมีสีคล้ำลง และเส้นดำกลางลำตัวก็จะมีสีเข้มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม พัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงของแม่ท้อง คลิกต่อหน้า 2
-
เริ่มเจ็บท้องเตือน
ในไตรมาสที่ 3 นี้ คุณแม่มักจะประสบกับอาการที่เรียกว่า เจ็บท้องหลอกหรือเจ็บครรภ์เตือน (Braxton Hick Contraction) เป็นการซ้อมหดรัดตัวของมดลูกเท่านั้น โดยจะเกิดขึ้นแบบไม่สม่ำเสมอและไม่มีอาการเจ็บ ซึ่งแตกต่างจากการเจ็บท้องจริง
เจ็บท้องหลอก VS เจ็บท้องจริง สังเกตอย่างไร
อาการเจ็บหลอกนี้เป็นการเตรียมความพร้อมการคลอดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แตกต่างจากการเจ็บท้องจริงตรงที่ การเจ็บท้องหลอกจะเกิดไม่นาน เพียงแค่ 30-60 วินาทีแล้วหายไป ไม่มีอาการเจ็บมาก อาจจะแค่ตึงๆ ท้องเท่านั้น และจะดีขึ้นเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ หรือดื่มน้ำเพียงพอ แต่การเจ็บท้องคลอดจริงๆ จะต้องมีการหดรัดตัวของมดลูกที่แรงขึ้น ถี่ขึ้น และเจ็บขึ้นเรื่อยๆ ร่วมกับท้องแข็งตึง ปวดร้าวบริเวณหลังมายังท้องน้อย มีมูกเลือดออกทางช่องคลอดหรือน้ำเดิน นอกจากนี้ หากคุณแม่เจ็บท้องถี่มากกว่า 4 ครั้งใน 1 ชั่วโมง หรือไม่มีอาการเจ็บ แต่มีมูกเลือดข้นไหลออกมา หรือมีอาการที่บ่งบอกว่าผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณที่แสดงถึงการคลอดก่อนกำหนดก็ได้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
สำหรับการคลอดก่อนกำหนดนั้น ปัจจัยหรือตัวแปรหลากหลายที่ไปกระตุ้นหรือนำไปสู่การคลอดก่อนเวลาได้ มีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ
ปัจจัยเสี่ยง คลอดก่อนกำหนด แม่ต้องระวัง
- สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และใช้ยาที่เป็นอันตราย เช่น ยาสมุนไพรบางชนิด เป็นต้น
- น้ำหนักเกินหรือน้อยเกิน รวมถึงมีภาวะทุพโภชนาการ หรือขาดสารอาหาร
- ยืนนานเกินไป หรือยกของหนักเกินไป
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- มีภาวะเครียดสูง
- คุณแม่ท้องมีอายุต่ำกว่า 17 ปี หรืออายุมากกว่า 35 ปี หรือมีประวัติเคยคลอดก่อนกำหนด
- การติดเชื้อต่างๆ เช่น โรคทางเพศสัมพันธ์ โรคทางทันตกรรม
- ทารกในครรภ์มีความผิดปก ตั้งครรภ์แฝด
- ปากมดลูกบาง ปากมดลูกหลวม ภาวะรกเกาะต่ำ ฮอร์โมนไม่สมดุล
- โรคทางพันธุกรรม เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไตหรือตับ โรคเบาหวาน
บางครั้งการคลอดก่อนกำหนดก็อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่สุขภาพดี ซึ่งผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็ยังไม่รู้สาเหตุแน่ชัดว่ามาจากอะไร แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ การรู้จักสังเกตตัวเอง และไวต่อความผิดปกติที่เกิด แล้วรีบไปหาหมอ ก็จะช่วยให้คุณแม่และลูกน้อยปลอดภัยมากขึ้นค่ะ
ติดตาม พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ 33-34 สัปดาห์ คลิกต่อหน้า 3
พัฒนาการทารกในครรภ์ 33-34 สัปดาห์
หนูกะพริบตาได้แล้ว ….ลูกน้อยช่วงวัยนี้เริ่มที่จะเปิด-ปิดเปลือกตา เริ่มกะพริบตาถี่ๆ ได้แล้ว เพราะรูม่านตาเริ่มขยายและหรี่ได้ หากมีแสงสว่างจ้ามากระทบที่ตาลูก รูท่านตาจะหรี่เล็กลง และมีการฝึกปรับการมองเห็นให้คมชัดขึ้นได้ด้วย
สัดส่วนร่างกายของลูกน้อยจะเท่ากับทารกครบกำหนดคลอดแล้ว แต่ร่างกายลูกยังต้องการใช้เวลาในการพัฒนาการทำงานของอวัยวะต่างๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งหากลูกน้อยคลอดออกมาในช่วงนี้ก็อาจยังมีปัญหาในเรื่องการหายใจได้ค่ะ
ขนาด: ประมาณ 39- 41 เซนติเมตร น้ำหนัก: 1,300-1,600 กรัม
- ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของลูกเริ่มทำงานอย่างสมบูรณ์ สามารถมองเห็น ได้ยิน รับรส ได้กลิ่น และสัมผัสได้ดีขึ้น
- ผม ผิว ลูกน้อยเริ่มมีผมขึ้นดกดำเต็มศีรษะ ผิวเริ่มสวยเป็นสีชมพู เพราะมีไขมันสีขาวมาสะสมใต้ผิวหนังมากขึ้น โดยไขมันเหล่านี้จะช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายลูกน้อย รวมทั้งช่วยควบคุมอุณหภูมิเมื่อลูกคลอด
- ลูกมีเล็บมือและเล็บเท้าสมบูรณ์ โดยเล็บมือของลูกจะงอกออกมายาวจนถึงปลายนิ้วเล็กๆ แล้ว แต่เล็บเท้าที่งอกออกมาอาจจะยังไม่ยาวมาจนปิดปลายนิ้ว
- ขนาดตัวของลูกใหญ่จนเกือบเต็มพื้นที่ของมดลูก
- ลูกน้อยใช้เวลานอนหลับรอบละ 20-40 นาที
อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ
ตัวเหม็นหลังคลอด สาเหตุเกิดจากอะไร?
การดูแลผิวพรรณหลังคลอด ให้กลับมาสวยมีน้ำมีนวล
ปัสสาวะอักเสบหลังคลอด อาการที่ไม่ควรมองข้าม!!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่