มาถึงสัปดาห์นี้ พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 25-26 สัปดาห์ คุณแม่จะแสดงอาการต่างๆ ที่บ่งบอกว่าลูกน้อยเติบโตมากขึ้น คุณแม่รับน้ำหนักมากขึ้น ซึ่งการเติบโตของลูกน้อยในแต่ละวันจะพัฒนาไปพร้อมกับสมอง ความจำ และความเก่งในหลายๆ ด้านมากขึ้นด้วยค่ะ
พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 25-26 สัปดาห์
อาการคนท้อง 25-26 สัปดาห์
-
ตะคริว
คุณแม่จะมีอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณน่อง ต้นขา หรือปลายเท้า ที่เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้ โดยมักจะเป็นบ่อยๆ ในตอนกลางคืน สาเหตุมาจากการที่ร่างกายคุณแม่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ วิธีบรรเทาอาการคือเมื่อเป็นตะคริว คุณแม่ควรค่อยๆ กระดกปลายเท้าขึ้น เพื่อให้กล้ามเนื้อที่จับตัวเหยียดตึงอยู่นั้นได้คลายออก นอกจากนี้ควรป้องกันการเกิดตะคริวด้วยการดื่มนม ทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงอย่างสม่ำเสมอค่ะ
-
น้ำหนักเพิ่มขึ้น
ในช่วงนี้น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นประมาณสัปดาห์ละ ½ กิโลกรัม ซึ่งเป็นเรื่องปกติ โดยคุณแม่สามารถรับประทานอาหารที่มีคุณค่าได้ในปริมาณที่เคยทาน ไม่ต้องกังวลว่าจะอ้วนไปหากน้ำหนักขึ้นอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน นอกจากนี้ขนาดของท้องคุณแม่ในแต่ละคนจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและรูปร่างของคุณแม่ ปริมาณน้ำคร่ำและการเติบโตของลูกน้อยในครรภ์อีกด้วย ดังนั้นแม้ว่าคุณแม่ท้องท่านอื่นจะมีอายุครรภ์เท่าๆ กัน แต่ขนาดท้องเล็กหรือท้องใหญ่จะแตกต่างกันแน่นอนค่ะ
-
ปวดชายโครง เสียดท้องน้อย
เพราะขนาดของลูกน้อยและครรภ์ที่ใหญ่ขึ้นของคุณแม่จะยกสูงและเข้าไปใกล้กับชายโครง และในขณะที่ลูกน้อยในท้องดิ้น อาจทำให้มดลูกไปกดทับกระเพาะอาหาร จนทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกและรู้สึกเสียดชายโครงด้านใดด้านหนึ่งได้
-
ผิวพรรณคล้ำ มีรอยดำง่าย
ผิวพรรณของคุณแม่ในช่วงนี้จะสีสีคลำขึ้น อาจมีฝ้าขึ้นที่ใบหน้า มีรอยดำตามข้อพับ รักแร้ และมีเส้นดำกลางหน้าท้อง โดยเฉพาะใต้สะดือลงไปชัดเจนขึ้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม โภชนาการสำคัญ แม่ท้องไตรมาส 2 คลิกต่อหน้า 2
โภชนาการสำคัญ แม่ท้องไตรมาส 2
ตอนนี้คุณแม่มีอายุครรภ์ที่อยู่ในช่วงไตรมาสที่ 2 แล้ว ซึ่งระยะนี้อาหารหรือโภชนาการของคุณแม่ก็ยังคงมีความสำคัญทั้งต่อร่างกายลูกน้อยและคุณแม่อยู่เสมอ เนื่องจากอาหารที่ส่งผ่านไปยังลูกน้อยจะไปช่วยพัฒนาโครงสร้าง ระบบเลือดและเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆ ของลูกน้อยให้เติบโตและทำงานได้ดีขึ้น ดังนั้นคุณแม่จึงยังคงต้องได้รับอาหารที่ครบ 5 หมู่ และสารอาหารสำคัญอย่างพอเพียงอยู่เสมอ ได้แก่
-
โปรตีน
โปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญที่ให้พลังงานและเสริมสร้างการเจริญเติบโต มีกรดอะมิโนจำเป็นที่ช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตของร่างกายลูกน้อย ส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์และเนื้อเยื่อ ซึ่งจะประกอบกันเป็นกล้ามเนื้อ กระดูก และอวัยวะภายในต่างๆ รวมถึงโปรตีนยังถูกนำไปสร้างเซลล์ในระบบภูมิต้านทานสร้างเอนไซม์ในกระบวนการทำงานต่างๆ ของร่างกาย คุณแม่จึงต้องรับประทานโปรตีนทุกวัน และเพิ่มขึ้นกว่าปกติเพื่อให้ได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอ เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งของคุณแม่เองและลูกน้อยตลอดการตั้งครรภ์และหลังคลอด โดยอาหารที่มีโปรตีนสูงได้แก่อาหารประเภทเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ไข่ ปลา นม ผลิตภัณฑ์จากนม ถั่ว และผลิตภัณฑ์จากถั่วต่างๆ
-
เหล็ก
คุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงนี้จะต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น เพื่อผลิตเลือดที่จะช่วยนำออกซิเจนไปเลี้ยงรก และส่วนต่างๆ ของร่างกายคุณแม่และลูกน้อย เช่น ช่วยนำสารอาหารไปเลี้ยงลูกน้อยในครรภ์ เพิ่มการไหลเวียนเลือดของตัวคุณแม่ นอกจากนี้ร่างกายคุณแม่เองก็จำเป็นต้องสะสมธาตุเหล็กไว้เพื่อเตรียมพร้อมกับการเสียเลือดในช่วงหลังคลอด ดังนั้นคุณแม่จึงควรกินอาหารที่มีธาตุเหล็กให้เพียงพอตลอดการตั้งครรภ์ ควบคู่กับกินอาหารที่มีวิตามินซีเพื่อช่วยให้ร่างกายมีการดูดซึมธาตุเหล็กไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก ได้แก่ เนื้อแดง ไข่แดง ตับ ผักโขม ปลาทะเล หอย ฟักทอง งาดำ และมะเขือพวง
-
วิตามินซี
เป็นวิตามินสำคัญที่ช่วยในการสร้างภูมิต้านทาน เสริมสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อให้เติบโตและแข็งแรงช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และยังมีบทบาทช่วยให้รกของคุณแม่แข็งแรง พร้อมกับช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กให้นำไปใช้ในร่างกายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาหารประเภทที่อุดมด้วยวิตามินซี ได้แก่ ผลไม้ เช่น ส้ม ฝรั่ง มะเขือเทศ กีวี สับปะรด มะขามป้อม มะละกอ ส้มโอ ผักใบเขียว และอื่นๆ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ 25-26 สัปดาห์ คลิกต่อหน้า 3
5 พัฒนาการทารกในครรภ์ 25-26 สัปดาห์
1. หนูแยกเสียงได้แล้ว
ลูกน้อยในช่วงสัปดาห์นี้จะยังคงมีการเติบโตและร่างกายกำลังพัฒนาการทำงานของอวัยวะต่างๆ อย่างช้าๆ รวมถึงอวัยวะหูภายนอกของลูกก็พัฒนาสมบูรณ์แล้วคุณแม่จึงควรพูดคุยกับลูกบ่อยๆ เพื่อให้ลูกจดจำเสียงคุณพ่อคุณแม่ได้ เพราะลูกน้อยสามารถแยกเสียงของพ่อแม่กับเสียงของผู้คนรอบข้างและยังสามารถตอบสนองต่อเสียงด้วยความรักความผูกพันต่อกันได้อีกด้วย
2. มีขนาดเท่ากับผักกาดดอก
ยาวประมาณ 22 – 28 เซนติเมตร น้ำหนักอยุ๋ที่ 400-600 กรัม และจากผิวลูกน้อยที่เคยดูโปรงใส จะเริ่มทึบและมีสีผิวแดงมากขึ้น แต่ผิวลูกจะยังคงเหี่ยวย่นอยู่ เพราะยังมีไขมันสะสมอยู่น้อย ขณะเดียวกันผิวของลูกน้อยก็เริ่มที่จะค่อยๆ สะสมไขมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3. เคลื่อนไหวร่างกายได้ตามจังหวะการเคลื่อนไหวของคุณแม่
ลูกน้อยจะสามารถเคลื่อนไหวร่างกายขึ้น-ลงได้ตามจังหวะการเคลื่อนไหวของคุณแม่ และตามเสียงพูดคุยของคุณพ่อคุณแม่ แถมลูกน้อยยังเก่งจนสามารถกระโดดโยกตัวขึ้นลงในน้ำคร่ำตามจังหวะเพลงหรือเสียงที่ได้ยินอีกด้วย
4. รูจมูกเริ่มเปิด
ลูกน้อยเริ่มฝึกการหายใจโดยมีการขยับกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ เช่น กล้ามเนื้อกะบังลม กล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง เพื่อฝึกการทำงานให้เต็มที่หลังคลอด
5. ลูกน้อยมีอวัยวะเพศที่พัฒนาสมบูรณ์
ซึ่งหากลูกเป็นผู้ชาย จะมีการสร้างฮอร์โมนเพศชาย (เทสโทสเตอโรน)จากลูกอัณฑะเพิ่มมากขึ้น
อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ
2 เรื่องสำคัญ แม่ท้องต้องทำ เพื่อให้ลูกเกิดมาครบ 32 และมีสมองดี
การใช้ยาในคุณแม่ตั้งครรภ์ และให้นมลูกน้อย
อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ เรื่องที่แม่ท้องต้องระวัง !!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่