พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 21-22 สัปดาห์ ในช่วงนี้คุณแม่อาจมีอาการแสบร้อนกลางอก มีปัญหาระบบการย่อยอาหาร เพราะท้องที่ใหญ่ขึ้น แต่ข่าวดีคือจะสามารถเล่น พูดคุยกับลูกน้อยในช่วงสัปดาห์นี้ได้มากขึ้น ลูกน้อยจะเริ่มตอบสนองต่อเสียงที่คุ้นเคยได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ
พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 21-22 สัปดาห์
อาการคนท้อง 21-22 สัปดาห์
- ยอดมดลูกสูง หน้าท้องขยายใหญ่ขึ้น ตอนนี้ยอดมดลูกของคุณแม่อยู่สูงกว่าสะดือครึ่งนิ้วแล้ว รวมทั้งหน้าท้องก็ใหญ่ขึ้นจนเห็นได้ชัด ทำให้คุณแม่ต้องแบกรับน้ำหนักท้องที่มากขึ้น จึงควรระมัดระวังการเปลี่ยนอิริยาบถต่างๆ โดยค่อยๆ ลุกยืน ลุกจากที่นอน ลุกจากที่นั่ง เพื่อป้องกันการล้ม และหน้ามืด
- สดชื่นแจ่มใสมากขึ้น เพราะอาการไม่สบอารมณ์ต่างๆ จากความอ่อนเพลีย เข้าห้องน้ำบ่อย หรือแพ้ท้องก็ลดน้อยลงแล้ว ทำให้คุณแม่รู้สึกกระปรี้กระเปร่ามีพลังขึ้น
- มีอารมณ์ทางเพศมากขึ้น คุณแม่บางคนอาจมีอารมณ์ทางเพศมากกว่าที่เคยเป็น ซึ่งหากไม่มีความเสี่ยงอะไร คุณแม่ก็สามารถมีเพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ได้ปกติ ในท่าที่ไม่กดทับหน้าท้องค่ะ
- อาการปวดขาหรือเป็นตะคริวเริ่มมาเยือน หาหมอนมาหนุนขาตอนนอนจะช่วยได้
- แสบร้อนกลางอก อาการแสบร้อนกลางอกจากกรดไหลย้อนนั้นถือเป็นผลข้างเคียงมาจากการตั้งครรภ์ โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายอย่างรวดเร็วแบบไม่ยั้ง ทำให้หูรูดบริเวณกระเพาะอาหารและหลอดอาหารคลายตัวมากกว่าปกติ กรดจึงไหลย้อนกลับขึ้นไปนั่นเอง
ป้องกันอาการแสบร้อนกลางอก….โดยปกติเราจะกินข้าวกันหลักๆ 3 มื้อต่อวัน แต่เมื่อมีเบบี๋ในท้องแล้ว เราอาจต้องปฏิวัติตัวเองกันใหม่ เพื่อป้องกันหรือบรรเทาให้อาการแสบๆ ร้อนๆ กลางอกลดน้อยลง เพราะอาการแบบนี้เวลาเกิดขึ้นแล้วทรมานใช่เล่น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม พัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงของแม่ท้อง คลิกต่อหน้า 2
- จัดตารางอาหารใหม่ จากที่กินอาหารหลัก 3 มื้อต่อวัน ลองเปลี่ยนมาแบ่งย่อยๆ เป็น 5 มื้อ ต่อวันแทน โดยแทรกมื้ออาหารว่างเข้าไปเป็น เช้า สาย เที่ยง บ่าย เย็น และเฉลี่ยปริมาณอาหารแต่ละมื้อให้พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป โดยเฉพาะมื้อเย็น ไม่ควรจัดหนัก หรือกินแล้วนอนเลย ห้ามเด็ดขาดค่ะ
- หนุนหมอนสูง ใช้ตามกฎแรงโน้มถ่วงเลย เพราะการนอนหมอนให้สูงจะช่วยให้กรดไหล ขึ้นมาน้อยลง
- หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด โดยเฉพาะอาหารเป็นกรด มีรสเปรี้ยว รสเผ็ดร้อน และอาหารมันๆ
- กินช้าๆ เคี้ยวละเอียดๆ ทำให้อาหารย่อยได้ง่ายขึ้น
- ระวังน้ำดื่ม คืออย่าดื่มน้ำคำข้าวคำ นอกจากจะทำให้จุกและท้องอืดแล้ว ยังกระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อนได้ด้วย
อาการกรดไหลย้อนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ข้อแนะนำที่กล่าวมาเป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้น อย่าลืมปรึกษาคุณหมอกันนะคะ
- ท้องผูก ระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่อาจท้องผูกได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาหารมีใยอาหารน้อยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่มากขึ้นส่งผลกระทบต่อลำไส้จนทำให้อาหารเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ช้าลง รวมทั้งการที่มดลูกไปกดทับลำไส้และลำไส้ใหญ่ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวช้าลง จนทำให้คุณแม่ท้องผูกและไม่ขับถ่ายได้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
การป้องกันและแก้ไข เมื่อแม่ท้องท้องผูก
- กินอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ และดื่มน้ำมากๆ เพราะจะช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มและขับถ่ายได้ง่ายขึ้น หรืออาจเสริมด้วยการดื่มน้ำผลไม้ เช่น น้ำลูกพรุนบ้าง
- ออกกำลังกาย สม่ำเสมอ เช่น การเดินหรือบริหารร่างกายเบาๆ20-30 นาทีต่อวัน จะช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ของคุณแม่ทำงานได้ดีขึ้น
- หากคุณแม่ทานวิตามินต่างๆ หรือธาตุเหล็กเสริม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าสามารถทานได้หรือไม่เพราะวิตามินและธาตุเหล็กมีส่วนทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวช้าลง
- หากท้องผูกรุนแรงควรสอบถามแพทย์ว่ายาระบายชนิดใดที่สามารถทานได้อย่างปลอดภัยระหว่างตั้งครรภ์
ติดตาม พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ 21-22 สัปดาห์ คลิกต่อหน้า 3
พัฒนาการทารกในครรภ์ 21-22 สัปดาห์
ในช่วงสัปดาห์นี้คุณแม่จะรู้สึกได้ว่าลูกน้อยดิ้นเก่งขึ้น เพราะระบบกล้ามเนื้อและประสาทของลูกได้พัฒนาประสานสัมพันธ์กัน และมีการยืดหดตัวอย่างแรงจนคุณแม่รู้สึกได้ว่าลูกดิ้นแรง และในระหว่างนี้ ร่างกายของลูกจะเริ่มสร้างภูมิคุ้นกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อของโรคต่างๆ และมีการสร้างความสมบูรณ์ของอวัยวะต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
คุณแม่ต้องหมั่นสังเกตการดิ้นของลูกว่าสม่ำเสมอหรือไม่ หากรู้สึกว่าลูกดิ้นขาดช่วงไป หรือไม่ดิ้นจนผิดปกติอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงปัญหาต่างๆ ที่อาจตามมา จึงควรรีบไปพบแพทย์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
หนูโตแต่ร่างกาย อวัยวะภายในยังไม่สมบูรณ์
แม้ลูกน้อยในครรภ์คุณแม่จะเติบโตภายนอกเหมือนเด็กแรกคลอดแล้ว แต่ในช่วงนี้ลูกยังไม่สามารถมีชีวิตอยู่ภายนอกโพรงมดลูกของคุณแม่ได้เพราะปอดและระบบการทำงานในอวัยวะบางอย่างยังไม่สมบูรณ์ เช่น ระบบการหายใจ ระบบย่อยอาหาร และอื่นๆ
ขนาด: ประมาณ 18 – 20 เซนติเมตร น้ำหนัก: 350-500 กรัม
- ระบบไหลเวียนโลหิตของลูกน้อยพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว รวมถึงคิ้วและเปลือกตาด้วย
- สายสะดือของลูกน้อยในครรภ์จะหนาและยาวขึ้นเรื่อยๆ
- ระบบย่อยของลูกน้อยกำลังฝึกฝนการย่อยอย่างเต็มที่ โดยลูกน้อยสามารถรบรสต่างๆ ผ่านน้ำคร่ำได้ และยังสามารถกลืนและคายน้ำคร่ำของตัวเองได้ด้วย
- ลูกน้อยมีไขเคลือบผิวแล้ว โดยต่อมไขมันของลูกจะสร้างไขสีขาวคล้ายเทียน เพื่อช่วยปกคลุมผิวหนัง และทำให้ผิวของลูกน้อยอ่อนนุ่มขึ้น
- ลูกน้อยตอบสนองต่อเสียงที่คุ้นเคยของคุณพ่อคุณแม่ได้ เพราะหูของลูกมีการพัฒนามากขึ้น
อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ
6 อาหาร ช่วยแม่ท้องเร่งคลอดแบบธรรมชาติ
ท่านอนที่ดีที่สุดสำหรับแม่ท้อง และเคล็ดลับที่จะช่วยให้แม่ท้องหลับสบายตลอดคืน
เตือนจากแม่ถึงแม่!! ลูกแพ้อาหาร เพราะแม่ท้องโด๊ปอาหารกลุ่มเสี่ยงมากเกินไป