พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 17-18 สัปดาห์ เป็นช่วงที่คุณแม่จะมีความรู้สึกที่ดีที่สุดค่ะ เพราะลูกน้อยจะเติบโตดิ้นแรงจนคุณแม่รู้สึกได้แล้ว
พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 17-18 สัปดาห์
อาการคนท้อง 17-18 สัปดาห์
รู้สึกว่าลูกดิ้น
ช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกตื่นเต้นมีความสุขมากๆ ค่ะ เพราะสามารถรับรู้ได้แล้วว่าลูกดิ้นเป็นครั้งแรก เหมือนกับมีปลามาตอดตุบๆ อยู่ในท้องทีเดียวค่ะ ซึ่งหากคุณแม่กำลังท้องแรกอาจจะรู้สึกว่าลูกดิ้นได้ช้ากว่าท้องที่สองนะคะ
บ้านหมุน สาเหตุเกิดจาก
- ยืนเร็วเกินไป การลุกขึ้นยืนกะทันหัน หรือแม้แต่ยืนหรือนั่งนานเกินไป เลือดจะไปรวมกันอยู่ที่เท้าและขาส่วนล่าง จึงทำให้เลือดไหลกลับไปที่หัวใจไม่ทัน ประกอบกับมีความดันเลือดต่ำลง
- นอนหงาย มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นจะไปกดทับหลอดเลือดเส้นใหญ่ ทำให้เลือดไหลเวียนช้าลง
ดื่มน้ำน้อยและกินอาหารไม่เพียงพอ
- การกินน้อยเกิน ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป ทำให้เวียนหัว การขาดน้ำก็เช่นกัน
- ร้อนเกินไป การแช่น้ำร้อนในอ่าง อาบน้ำร้อน อยู่ให้ห้องร้อนๆ อยู่ท่ามกลางผู้คนแออัด ทำให้หลอดเลือดขยายและความดันเลือดต่ำ
ออกกำลังกายหนักเกินไป
การออกกำลังกายหนักเกินไปทำให้หายใจไม่ทัน หายใจสั้น จึงเวียนหัวได้ อาการวิงเวียนศีรษะที่เกิดขึ้นนี้สามารถเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นบ่อยๆ เพราะอาจมีอันตรายจากอุบัติเหตุ หรือหากมีอาการอื่นร่วม เช่น ตาพร่ามัว ปวดหัวรุนแรง ปวดหน้าอก หายใจสั้น เลือดออก เป็นต้น ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพราะอาจเป็นสัญญาณผิดปกติที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม การเปลี่ยนแปลงของแม่ท้อง 17-18 สัปดาห์ คลิกหน้า 2
ท้องใหญ่ขึ้น
เพราะมดลูกจะลอยสูงขึ้นจากอุ้งเชิงกราน จากการเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ที่เพิ่มขึ้น โดยคุณแม่จะสามารถคลำยอดมดลูกได้แล้วค่ะ
เริ่มเห็นเส้นดำกลางหน้าท้อง
คุณแม่จะสังเกตเห็นเส้นสีดำขึ้นบริเวณผิวหนังตรงกลางหน้าท้องแล้ว โดยเส้นดังกล่าวเกิดจากฮอร์โมนในขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีสีเข้มขึ้นเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น แต่จะสามารถจางลงได้หลังคลอดค่ะ
หัวใจทำงานหนักขึ้น
หัวใจของคุณแม่ต้องทำงานหนักอีกเท่าตัว สำหรับรองรับปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นในร่างกาย เพื่อให้เกิดความสมดุลตามความต้องการของอวัยวะสำคัญต่างๆ ที่ต้องการเลือดมาหล่อเลี้ยง เช่น มดลูก ผิวหนัง และอื่นๆ
หัวนมเริ่มดำคล้ำ
สีของหัวนมคุณแม่จะเริ่มดำคล้ำขึ้นชัดเจน มีความไวต่อการสัมผัส รู้สึกเจ็บง่าย และยังเห็นเส้นเลือดดำที่เป็นริ้วสีเขียวบริเวณเต้านมชัดเจนขึ้น
อาการอื่นๆ
- มดลูกเริ่มเบียดลำไส้และกระเพาะอาหารมากขึ้น
- มีอาการปวดขาเนื่องจากทารกไปกดทับเส้นประสาทไซอาติก ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ที่อยู่บริเวณใต้มดลูกยาวลงไปจนถึงขา
- เหงื่อออกมากเนื่องจากการไหลเวียนโลหิตเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงเลือดกำเดาไหล ซึ่งจะหายไปหลังคลอด
- ทรงตัวลำบากมากขึ้นเพราะศูนย์ถ่วงร่างกายเปลี่ยนไป
- มีอาการตาแห้ง ควรใช้น้ำตาเทียมหยอดเพื่อลดอาการระคายเคือง
เตือนคุณแม่ !
เมื่อขนาดครรภ์ใหญ่ขึ้น ศูนย์ถ่วงร่างกายเปลี่ยนไป ทำให้ทรงตัวไม่อยู่ ควรงดใส่รองเท้าส้นสูง และควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยงที่จะทำให้หกล้มได้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ 17-18 สัปดาห์ คลิกหน้า 3
พัฒนาการทารกในครรภ์ 17-18 สัปดาห์
คุณแม่รู้ไหมคะว่า จำนวนเซลล์ประสาทของลูกน้อยในครรภ์ เริ่มเท่ากับผู้ใหญ่แล้ว โดยเซลล์ประสาทในสมองจะถูกห่อหุ้มด้วยชั้นไขมัน เรียกว่า ไมอีลีน ซึ่งจะช้วยในการสร้างและนำสัญญาณเข้าออก ผ่านสมอง นอกจากนี้ ลูกน้อยยังมีการพัฒนาปุ่มรับรสบนลิ้นและนอกจากนี้แม้ดวงตาของลูกน้อยจะยังคงห่างกัน แต่ลูกเริ่มรับรู้แสงได้แล้ว เพราะจอตา (Retina) เริ่มไวต่อแสง
ขนาด: ประมาณ 12-14 เซนติเมตร น้ำหนัก: 120-190 กรัม
- ขนแล็นนูโก (ขนชั่วคราว) ขึ้นปกคลุมร่างกายและศีรษะ
- มีการสร้างสารไขมันขึ้นเพื่อปกป้องผิวที่บอบบางของลูกจากการกระแทกและควบคุมอุณหภูมิร่างกาย
- สายสะดือยาวขึ้น หนาขึ้น และแข็งแรงขึ้น
- ต่อมเหงื่อเริ่มพัฒนาในสัปดาห์นี้
- กระดูกอ่อนต่างๆเริ่มแข็งขึ้น โดยเริ่มจากขาก่อน รวมถึงกระดูกที่หูชั้นในด้วย ลูกจึงได้ยินเสียงได้มากขึ้นและมีปฏิกริยาตอบสนองต่อเสียงดังนั้น
- ลูกน้อยเริ่มดิ้นแรงขึ้นจนคุณแม่รู้สึกได้ รวมถึงม้วนตัว กลิ้งตัวไปมา เตะ ต่อย หาว ดูดนิ้ว สะอึก
- หากลูกเป็นผู้หญิง มดลูกและท่อรังไข่จะสร้างเสร็จสมบูรณ์และอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง หากเป็นผู้ชาย จะสามารถมองเห็นอวัยวะเพศได้ชัดเจน
อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ
ประโยชน์ของการดื่มน้ำอุ่น ที่ดีต่อสุขภาพคุณแม่
ปากมดลูกเปิดเป็นยังไง แม่ท้องรู้ไว้ก่อนเข้าห้องคลอด!
ผ่าคลอด หรือ คลอดธรรมชาติ แบบไหนดีกว่ากัน?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่