เข้าสู่การตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 กันแล้ว เรามาดูกันค่ะว่า พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 15-16 สัปดาห์ ของคุณแม่ท้องจะเป็นอย่างไร และลูกน้อยในครรภ์จะมีพัฒนาการดีแค่ไหนกันแล้ว
พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 15-16 สัปดาห์
อาการคนท้อง 15-16 สัปดาห์
-
ภูมิคุ้มกันทำงานช้าลง
เข้าสู่ไตรมาสที่ 2 อย่างเต็มตัวแล้ว คุณแม่ท้องหลายๆ คนอาจรู้สึกว่าทำไมช่วงนี้ถึงป่วยง่ายจัง เดี๋ยวก็เป็นหวัด เดี๋ยวก็คัดจมูก สาเหตุสำคัญที่ช่วงนี้รู้สึกอ่อนแอกว่าปกติ นั่นเพราะระบบภูมิคุ้มกันทำงานช้าลง ซึ่งการที่ระบบนี้ทำงานช้าลงนั้นกลับส่งผลดีต่อลูกน้อยในครรภ์ หมายความว่าร่างกายของคุณแม่จะไม่ไปกำจัด ปฏิเสธ หรือมองว่าลูกในครรภ์เป็นสิ่งแปลกปลอม แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้การต้านทานต่อเชื้อโรคต่างๆ ของคุณแม่ลดต่ำลงไปด้วย จึงทำให้คุณแม่เป็นหวัด คัดจมูก เจ็บคอได้ง่าย ซึ่งหากดูแลตัวเองดีๆ อาการหวัดก็จะหายไปได้เอง แต่หากเป็นไข้หนักอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกได้ ดังนั้น หากใครสงสัยว่าจะมีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส ควรรีบไปพบแพทย์ทันที และไม่ควรซื้อยาแก้หวัดมากินเอง เพราะยาบางตัวอันตรายหรืออาจได้รับตัวยามากเกินความจำเป็น
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หากคุณแม่ท้องคนไหนยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มาก่อน ในช่วงสัปดาห์นี้สามารถรับวัคซีนนี้ได้แล้ว ซึ่งสามารถคุ้มกันโรคได้นาน 1 ปี ไข้หวัดใหญ่นับเป็นเรื่องน่าห่วงสำหรับแม่ท้อง เพราะอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เช่น ปอดบวม เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นต้น เพราะฉะนั้นอย่าลืมแจ้งแพทย์หรือขอคำแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่นะคะ
บทความแนะนำ กลุ่มเสี่ยง ไข้หวัดใหญ่ ที่ควรได้รับวัคซีนทุกปี
-
น้ำหนักเพิ่ม หุ่นเปลี่ยนไป
เพราะน้ำหนักของคุณแม่จะขึ้นมาประมาณ 2.5 กิโลกรัม และขนาดท้องก็เริ่มเห็นชัดเจน ถึงเวลาต้องเปลี่ยนไซส์เสื้อผ้าและเสื้อชั้นในแล้วค่ะ
-
มีอาการปวดแปลบที่ท้องน้อยเป็นบางครั้ง
หรือปวดเวลาเปลี่ยนอิริยาบถเร็วเกินไป เพราะมดลูกของคุณแม่ขยายตัว ซึ่งจะทำให้อึดอัดเริ่มหายใจลำบากเล็กน้อย เพราะมดลูกที่ขยายไปเบียดกะบังลมและปอด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม การเปลี่ยนแปลงของแม่ท้อง 15-16 สัปดาห์ คลิกต่อหน้า 2
-
หัวใจเต้นเร็วขึ้น
โดยอัตราการเต้นของหัวใจคุณแม่จะเพิ่มขึ้น 20% เพื่อผลิตออกซิเจนให้ลูกน้อยนำไปใช้ค่ะ
-
อาจมีอาการภูมิแพ้จากการตั้งครรภ์
ทำให้คัดจมูก คันจมูก จาม ล้วนเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและการไหลเวียนโลหิตที่มากขึ้น บางคนมีอาการเลือดกำเดาไหล เกิดจากการสูบฉีดโลหิตเพิ่มขึ้นและหลอดเลือดมีการขยายตัวบริเวณจมูก
-
เหงือกบวมและอักเสบ
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอีกเช่นกัน ควรหมั่นดูและรักษาความสะอาดของช่องปากอย่างสม่ำเสมอ
-
หน้าอกขยายใหญ่อย่างต่อเนื่อง
เพราะต่อมน้ำนมเริ่มทำงานและเส้นเลือดดำบริเวณหน้าอกก็มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น เพราะมีการไหลเวียนของเลือดเพิ่มมากขึ้น
-
ปวดหลัง
พอท้องใหญ่ขึ้น ศูนย์ถ่วงของร่างกายจึงเปลี่ยนไป หลังต้องแอ่นเพื่อรักษาสมดุลให้ร่างกายสามารถทรงตัวได้ จึงทำให้เกิดอาการปวดหลังตามมา ยิ่งน้ำหนักเยอะ ยิ่งปวดมาก
เตือนคุณแม่!
หากมีอาการหายใจไม่ทัน หรือหายใจไม่ออก ประกอบกับนิ้วเปลี่ยนเป็นสีม่วง หรือรู้สึกตัวใจเต้นแรงจนเหมือนจะหลุดออกมา คุณแม่ต้องรีบไปหาหมอทันที
มีเพศสัมพันธ์ได้นะ การมีเพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์ ไม่เป็นอันตรายใดๆ ต่อลูกในท้อง อีกทั้งในช่วงต้นๆ ไตรมาสที่ 2 นี้ คุณแม่บางคนจะมีอารมณ์เซ็กซี่เป็นพิเศษ ดังนั้นทั้งคุณแม่และคุณพ่อควรหาเวลามีความสุขด้วยกันบ้างนะคะ โดยท่าที่ควรหลีกเลี่ยงคือท่ามิชชันนารี เพราะจะไปเพิ่มแรงกดทับที่เส้นเลือดดำซึ่งเป็นส่วนที่นำออกซิเจนไปให้ลูกน้อย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ 15-16 สัปดาห์ คลิกต่อหน้า 3
พัฒนาการทารกในครรภ์ 15-16 สัปดาห์
ลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่ในช่วงนี้เริ่มเติบโต แถมยังเก่งและฉลาดขึ้นแล้วค่ะ เพราะหูและกระดูกบริเวณหูของลูกน้อยย้ายตำแหน่งจากบริเวณคอมาอยู่ที่ศีรษะแล้ว และกระดูกในหูของลูกมีความแข็งขึ้นแล้ว ทำให้สามารถได้ยินเสียงต่างๆได้ เช่น เสียงหัวใจเต้นของแม่ เสียงพูดคุยภายนอกครรภ์ หรือเสียงหายใจ ดังนั้นคุณแม่ลองสร้างความผูกพันด้วยการพูดคุยกับลูก เล่านิทานให้ฟัง หรืออ่านข่าว ก็ได้เช่นกัน แรกๆ อาจเขินหน่อย แต่ต่อไปจะชินเอง
ขนาด: ประมาณ 10-12 เซนติเมตร น้ำหนัก: 70-100 กรัม
- ลูกน้อยเริ่มฝึกหายใจโดยใช้น้ำคร่ำผ่านจมูกและทางเดินหายใจส่วนบน เช่น คอหอย โพรงจมูกเป็นต้น ซึ่งจะช่วยพัฒนาถุงลมในปอดได้ดี
- กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าก็เริ่มทำงานเช่นกัน ทำให้ลูกน้อยรู้จักขมวดคิ้ว รวมถึงดวงตาสามารถขยับตาไปด้านข้างไปมาได้ แต่เปลือกตายังคงปิดอยู่ แถมรู้จักหลบแสงที่ผ่านเข้ามาด้วยการเอามือมาบังด้วย ส่วนเล็บมือก็พัฒนาเป็นรูปร่างเช่นกัน
- ขนอ่อนที่เรียกว่า ลานูโก (Lanugo) ขึ้นปกคลุมทั่วร่างกายเพื่อให้ลูกน้อยอบอุ่นและรักษาอุณหภูมิร่างกายให้คงที่ ขนอ่อนนี้จะหายไปก่อนลูกคลอดออกมา รวมถึงมีขนคิ้วแล้วด้วย
- ตอนนี้แขนและขาทำงานได้สัมพันธ์มากขึ้น ลูกน้อยสามารถขยับได้อย่างคล่องแคล่ว รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณหลังก็พัฒนาขึ้นมาก ทำให้ลูกน้อยสามารถยืดตัวได้ดีขึ้นมากค่ะ
- ถึงแม้ตาของลูกจะยังปิดอยู่ แต่ลูกสามารถรับรู้ถึงแสงที่ผ่านเข้ามาได้ และรู้จักหลบหนีแสงที่ส่องเข้ามาอีกด้วย
- อวัยวะเพศของลูกน้อยพัฒนาสมบูรณ์แล้ว สามารถอัลตร้าซาวด์เพื่อดูเพศของลูกได้ค่ะ
อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ
อาการนอนผวาในทารก สาเหตุ และวิธีแก้ไข
สารอาหารเพื่อสุขภาพแม่ท้อง ดีต่อทารกและคุณแม่ตลอดการตั้งครรภ์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่