AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ตั้งครรภ์ 1-2 สัปดาห์ และพัฒนาการทารกในครรภ์

หลังจากที่เตรียมตัวตั้งครรภ์กันมานาน คราวนี้สมใจแล้ว ก็เริ่มมาดูกันสิว่า ในช่วงเริ่มแรกของ พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 1-2 สัปดาห์ ภายในท้องของคุณแม่มีอะไรเกิดขึ้นกันบ้าง

พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 1-2 สัปดาห์

ในช่วง ตั้งครรภ์ 1-2 สัปดาห์แรก เกิดขึ้นจากไข่ของคุณแม่ผสมเข้ากับเชื้ออสุจิของคุณพ่อ จากนั้นก็จะไปฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก เจริญเติบโตกลายเป็นตัวอ่อน ซึ่งการตั้งครรภ์ในช่วง 1-2 สัปดาห์นี้ จะทำให้ประจำเดือนของคุณแม่ขาดหายไป เนื่องจากไม่มีการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก แต่เยื่อบุดังกล่าวจะเจริญเติบโตและทำหน้าที่เป็นผนังช่วยให้ไข่ที่ผสมแล้วมายึดเกาะและฝังตัว ไข่ที่ฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกนี้ก็จะเติบโตเป็นตัวอ่อน ซึ่งก็คือลูกน้อยทารกในครรภ์ของคุณแม่ที่กำลังจะพร้อมออกมาดูโลกในอีก 9 เดือนต่อไปนั่นเอง

ลูกน้อยอยู่ในครรภ์ แต่คุณแม่อาจยังไม่รู้

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 1-2 สัปดาห์  อาจจะยังไม่รู้เลยว่ากำลังตั้งครรภ์ เพราะยังไม่มีอาการแพ้ท้อง โดยจะมีอาการที่รู้สึกได้บ้าง เช่น  ประจำเดือนยังไม่มา ตกขาว ปัสสาวะบ่อย มีเลือดออก ฯลฯ ซึ่งคุณแม่อาจจะไม่ได้สังเกตแต่ความเป็นจริง ลูกน้อยของคุณแม่เริ่มเข้าสู่ขั้นตอน พัฒนาการ การฝังตัวและเริ่มมีการเจริญเติบโตแล้ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงภายในจะมีการสร้างรก และถุงน้ำคร่ำรวมถึงสายสะดืออีกด้วย

ในช่วงนี้อาการเริ่มแรกอาจจะยังไม่สามารถใช้ที่ตรวจครรภ์ตรวจพบเจอได้ เนื่องจากฮอร์โมนตั้งครรภ์ที่กำลังสร้างยังไม่สูงเพียงพอ การตรวจปัสสาวะเพื่อดูการตั้งครรภ์จึงยังไม่พบ รวมทั้งคุณแม่ส่วนใหญ่จะยังไม่รู้ตัวหรือสังเกตอาการในระยะแรกได้ค่ะ

แต่หากผ่านพ้นไปแล้วสัก 3-4 สัปดาห์ อาการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่แสดงว่ากำลังตั้งครรภ์จะมากขึ้น รวมถึงฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่ก็จะมีสูงมากพอที่จะตรวจการตั้งครรภ์ทางปัสสาวะได้แล้ว  โดยแนะนำให้ตรวจในช่วงเช้า ก่อน 10.00 น.จะเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนของการตั้งครรภ์สูงที่สุดของวันค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ เรื่องการเปลี่ยนแปลงของแม่ท้อง คลิกหน้า 2


อาการคนท้อง 1-2 สัปดาห์

อาการประจำเดือนขาด

โดยปกติในหนึ่งรอบเดือนมีระยะเวลา 21-35 วันขึ้นอยู่กับแต่ละคน แต่หากประจำเดือนมีการขาดไปนานกว่า 10 วันเป็นที่สงสัยได้ว่าอาจมีอาการท้องเกิดขึ้น เนื่องจากเมื่อมีการปฏิสนธิเกิดขึ้นร่างกายจะผลิตฮอร์โมน โปรเจสเตอโรนเป็นจำนวนมากเพื่อยับยั้งการเกิดประจำเดือนและส่งเสริมการฝั่งตัวของตัวอ่อน แต่การที่ประจำเดือนขาดนั้นไม่ได้เป็นการยืนยันแน่นอนว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นเพราะอาจมีสาเหตุมาจากอย่างอื่น เช่น ความเครียด การขาดอาหาร การใช้ยาคุมกำเนิดเป็นต้นซึ่งอาการเหล่านี้มีผลต่อทำให้ฮอร์โมนในร่างกายมีความผิดปกติ

อาการเลือดออกทางช่องคลอด

มักมีอาการเลือดออกกะปริดกะปรอยทางช่องคลอด ในช่วง 11-12 วันหลังจากมีการปฏิสนธิ เนื่องจากตัวอ่อนมีการฝังตัวบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูก ลักษณะของเลือดที่ออกมาจะมีสีแดงจางและจะหยุดไหลไปเองใน 1-2 วัน โดยจะต้องไม่มีอาการปวดเกร็งท้องร่วมด้วย หากพบว่าเลือดไหลไม่หยุดร่วมกับอาการปวดเกร็งท้องควรรีบปรึกษาแพทย์

อาการตกขาว

ผู้หญิงทั่วไปมักมีอาการตกขาวเป็นปกติ เนื่องจากร่างกายจะมีการสร้างของเหลวออกมาเพื่อหล่อลื่นปากช่องคลอดตลอดเวลา และเมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมากขึ้นจึงทำให้เกิดตกขาวในปริมาณมากขึ้นตาม ลักษณะของตกขาวปกติจะมีสีขาวขุ่นหรือครีมแต่หากตกขาวมีการเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว เหลืองควรรีบปรึกษาแพทย์เพราะอาจเกิดการติดเชื้อได้ ในระยะนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ควรดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์สม่ำเสมอ เพื่อสุขอนามัยที่ดี

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ เรื่องพัฒนาการทารกในครรภ์ คลิกหน้า 3

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-2 สัปดาห์

เรียกหนูว่า “ตัวอ่อน”

หลังจากไข่และสเปิร์มผสมกันแล้ว ก็จะเกิดการแบ่งตัวของเซลล์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นก็จะเคลื่อนตัวจากท่อนำไข่เข้ามาสู่โพรงมดลูก และเริ่มฝังตัวอยู่ที่เยื่อบุมดลูก ลูกน้อยในครรภ์ช่วงนี้จะเรียกว่าเป็น “ตัวอ่อน” โดยลูกน้อยหรือตัวอ่อนนี้จะได้รับสารอาหาร พร้อมกับขับถ่ายของเสียผ่านทางเยื่อหุ้มรก ที่กำลังจะพัฒนาเป็นรกกับเส้นเลือดในผนังมดลูกของคุณแม่

ซึ่งเซลล์ของตัวอ่อนจะมีการแบ่งตัวออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่หนึ่งจะพัฒนากลายเป็น รก และถุงเยื่อหุ้มทารก หรือถุงน้ำคร่ำ ซึ่งมีหน้าที่ปกป้องลูกน้อย เป็นทางผ่านของอาหารและของเสีย พร้อมกับมีบทบาทในการสร้างฮอร์โมนสำคัญและจำเป็นต่อการตั้งครรภ์อีกด้วย ซึ่งเซลล์ส่วนที่พัฒนาไปเป็นรกนี้จะยึดเกาะกับผนังโพรงมดลูกได้แน่นหนา มั่นคง กลายเป็นรกที่คอยปกป้องและอุดมไปด้วยอาหารที่สมบูรณ์สำหรับลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่นั่นเอง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

หนูเริ่มมีไขสันหลัง

เซลล์ของตัวอ่อนอีกส่วนหนึ่งจะพัฒนาไปเป็นตัวทารกน้อยระยะแรก โดยจะค่อยๆ เริ่มมีการพัฒนาและสร้างอวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ

โดยในช่วงสัปดาห์ที่ 2 หลังการปฏิสนธิ ร่างกายลูกน้อยจะเริ่มมีการสร้างไขสันหลังและส่วนหลัง โดยจะพัฒนาไปเป็นโครงสร้างกระดูกสันหลัง และสมอง รวมถึงลูกน้อยเริ่มมีหัวใจดวงเล็กจิ๋วแล้ว

ขนาด: มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

อ่านต่อบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

อาการต่าง ๆ ช่วงตั้งครรภ์ ที่เกิดมักเกิดกับแม่ตั้งครรภ์

7 พฤติกรรมแม่ท้อง กระตุ้นลูกในครรภ์ฉลาด

เป็นเบาหวานแล้วตั้งครรภ์ อันตรายแค่ไหน?