คุณแม่ทุกคนนอกจากจะใส่ใจและให้ความสำคัญกับลูกน้อยแล้ว อย่าลืมให้ความสำคัญกับสุขภาพของตัวเอง ซึ่งโรคที่ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงคือ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ และมะเร็งเต้านม การดูแลตัวเองและหยุด พฤติกรรมเสี่ยงทำลายรังไข่ และมดลูก จะช่วยให้คุณแม่อยู่กับลูกน้อยไปได้อีกยาวนาน
พฤติกรรมเสี่ยงทำลายรังไข่
1.นั่งนานเกินไป
ถ้าคุณแม่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ โดยไม่ลุกยืน ยืดเส้นยืดสาย อาจจะทำให้เลือดลมไม่หมุนเวียน เลือดต่างๆ ไม่สามารถลำเลี้ยงมาหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะรังไข่
2.ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก
คุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์ตอนอายุมากๆ อาจจะทำให้การทำงานของประจำเดือนไม่ปกติ หมดเร็ว หรือช้ากว่าที่ควรจะเป็น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
3.การใช้ชีวิตประจำวัน
การที่คุณแม่ชอบรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และไม่ชอบออกกำลังกาย รวมถึงการสูดดมควันบุหรี่มือสองอยู่บ่อยๆ ก็อาจจะทำให้คุณแม่ถึงวัยหมดประจำเดือนเร็ว คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ปลา และกุ้ง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และดื่มน้ำบ่อยๆ
4.ใส่สเตย์รัดหน้าท้อง
แม่น้องเล็กเข้าใจค่ะว่าผู้หญิงทุกคนอยากรูปร่างดี แต่การใส่สเตย์รัดหน้าท้องแน่นๆ นานเกินไป อาจจะทำให้รังไข่ได้รับบาดเจ็บ บางครั้งถึงขั้นเกิดซีสต์ขึ้นมาได้
5.ภาวะความกดดันสูง
เวลาที่คุณแม่เครียด หรือมีความกดดัน นอกจากจะทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจแล้ว ยังมีโอกาสที่จะส่งผลต่อประจำเดือนที่มาไม่ปกติได้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “หยุดพฤติกรรมเสี่ยง ทำลายรังไข่ และมดลูก” คลิกหน้า 2
มะเร็งรังไข่ป้องกันได้ แค่เปลี่ยนพฤติกรรม
1.คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เพิ่มผักผลไม้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะผักที่มีสารคาร์โรทีนอยด์ เช่น มะเขือเทศ หรือแครอท เพราะจะช่วยป้องกันมะเร็งรังไข่ รวมถึงโปรตีนจากเนื้อปลา ถั่วเหลือง อาหารที่มีกากใย และธัญพืช
2.คุณแม่ควรควบคุมอาหาร ไม่ปล่อยให้น้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงในการเจ็บป่วยมากขึ้นเกือบ 2 เท่า
3.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือสูดดมควันบุหรี่ หรือไม่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่ เพราะร่างกายของคุณแม่จะได้รับสารพิษ เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
4.การวางแผนการตั้งครรภ์ และการให้นมลูก จะช่วยให้คุณแม่ป้องกันมะเร็งรังไข่ได้ เมื่อคุณแม่มีลูกเพียงพอแล้ว ก็ควรทำหมัน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะมีลูกมาก ส่งผลต่อรังไข่ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง
5.ถ้าคุณแม่ถึงวัยทอง และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ฮอร์โมนทดแทน ก็ควรหลีกเลี่ยง หรือควรใช้อย่างระมัดระวัง เพราะมีทั้งประโยชน์ และโทษได้ ถ้าจะใช้คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ และตรวจสุขภาพทุก 6-12 เดือน
เครดิต: liekr, โรงพยาบาลโพนสวรรค์
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง คลิก!!
สัญญาณเตือนโรค “มะเร็งรังไข่” ภัยเงียบที่ผู้หญิงควรรู้!
มดลูกแตก ภาวะอันตรายที่คุณแม่ต้องระวัง
ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกฟรี! ปี 2560 นี้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่