คุณแม่ท่านหนึ่งท้องได้ 7 เดือน ขับรถไปซื้อของตามร้านค้า ตามตลาด ไปเที่ยวต่างจังหวัด และไม่ค่อยได้นอนพักผ่อน เพราะคิดว่าไม่น่าจะเป็นอะไร จู่ๆ เลือดก็ไหลออกมา โดยที่ไม่มีอาการเจ็บท้องใดๆ จึงไปหาคุณหมอพบว่า “รกต่ำ” ต้องนอนอยู่บนเตียง ทำกิจกรรมทุกอย่างบนเตียง
รกต่ำ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “ภาวะรกเกาะต่ำคืออะไร?” คลิกหน้า 2
ภาวะรกเกาะต่ำคืออะไร?
โดยทั่วไปของคุณแม่ตั้งครรภ์ รกจะเกาะตรงส่วนบนของมดลูก ถ้ารกมาเกาะส่วนล่างของมดลูก จะเรียกว่าภาวะรกต่ำ เป็นภาวะที่ไม่ปกติ กลไกนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร อาจเป็นเพราะว่าส่วนบนของมดลูกเกิดความไม่เหมาะสม รกเลยหาส่วนอื่นที่สมบูรณ์กว่า แบ่งเป็น 4 ชนิดตามความรุนแรง
1.ชายรกใกล้ปากมดลูกมากกว่า 2 ซม.
2.รกอยู่ขอบปากมดลูกด้านใน
3.รกคลุมปากมดลูกบางส่วน
4.รกคลุมปากมดลูกด้านในทั้งหมด
เมื่อมีภาวะรกต่ำ รกจากผนังมดลูกจะเกิดการลอกตัวก่อนกำหนด หลอดเลือดบริเวณรกฉีกขาด จึงทำให้เลือดออก เห็นได้จากมีเลือดออกมาทางช่องคลอด โดยที่ไม่มีอาการเจ็บครรภ์ ส่วนมากเกิดในช่วง 7-8 เดือน
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้รกต่ำ
1.ตั้งครรภ์หลายครั้ง
2.คุณแม่อายุมาก ตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
3.เคยขูดมดลูก
4.เคยผ่าตัดคลอดลูกมาก่อน ยิ่งผ่าตัดหลายครั้งยิ่งเสี่ยงมากขึ้น
5.เคยผ่าตัดบริเวณมดลูก เช่น เนื้องอกมดลูก
6.มดลูกรูปร่างผิดปกติ
7.ตั้งครรภ์แฝด
8.ลูกน้อยในครรภ์มีภาวะซีด ร่างกายคุณแม่จึงพยายามเพิ่มออกซิเจนให้ลูก ทำให้รกเพิ่มขนาดใหญ่ขึ้น
9.ลูกน้อยในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าขวาง
10.มีการติดเชื้อในครรภ์ เช่น ซิฟิลิส
11.คุณแม่สูบบุหรี่
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “ภาวะรกเกาะต่ำอันตรายอย่างไร?” คลิกหน้า 3
ภาวะรกเกาะต่ำอันตรายอย่างไร?
ภาวะรกต่ำทำให้เลือดออกทางช่องคลอด อาจทำให้คุณแม่เสียเลือด ถ้าเลือดออกไม่มาก และหยุดไปเอง ก็สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ คุณหมอจะให้พักผ่อนให้มากๆ งดทำงานหนัก และรับประทานธาตุเหล็กทดแทนการเสียเลือด แต่ถ้าเสียเลือดมาก จะมีผลทั้งคุณแม่ และลูกน้อย ต้องให้เลือดทดแทนกับคุณแม่ อาจต้องผ่าตัดทำคลอด แม้อายุครรภ์จะไม่ครบกำหนด ถ้าลูกน้อยหัวใจเต้นผิดปกติ และช่วยไม่ทัน ลูกน้อยอาจเสียชีวิตได้ บางครั้งถ้าคุณแม่เสียเลือดมากหลังผ่าตัดทำคลอดอาจต้องตัดมดลูกออกด้วย เพื่อหยุดเลือด คุณแม่ที่เสียชีวิตเพราะมีภาวะรกเกาะต่ำพบได้ 2-3% โดยจะพบมากกับคุณแม่ที่เคยผ่าท้องคลอดมาก่อน
เมื่อรกต่ำทำอย่างไรดี?
1.เมื่อมีเลือดออกทางช่องคลอด ต้องรีบไปพบแพทย์
2.นอนพักผ่อนให้มากๆ วันละ 8-10 ชั่วโมง ในท่านอนตะแคงซ้าย งดทำงานหนัก
3.ห้ามมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงการสวนล้างช่องคลอด
4.รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
5.หลีกเลี่ยงการเบ่งถ่ายอุจจาระทุกครั้ง คุณแม่จึงต้องรับประทานอาหารที่ย่อยได้ง่ายและมีเส้นใยมากๆ
6.รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น ไข่แดง ตับ ยาบำรุงเลือด รวมถึงอาหารที่มีแคลเซียม เช่น นม
7.งดการสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด เพราะบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว
8.ถ้าคุณแม่พบว่ามีอาการผิดปกติไปจากเดิมหรือมีเลือดออกให้ใส่ผ้าอนามัยแล้วรีบไปพบแพทย์ทันที
เครดิต: facebook page คุณแม่ยังสวย, รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ประนอม บุพศิริ สูตินรีแพทย์, โรงพยาบาลนนทเวช, beautyfullallday.com, pooyingnaka.com, พ.ญ. ภัทรามาส เลิศชีวกานต์, herb-health.com
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
รกค้างในมดลูกหลังคลอด คุณแม่เสี่ยงอันตราย
มดลูกเข้าอู่ช้า และอาการผิดปกติของมดลูกหลังคลอด
มดลูกแตก ภาวะอันตรายที่คุณแม่ต้องระวัง
Save
Save
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Save
Save