คุณแม่หลายคนมีความกังวลว่าจะท้องเกินกำหนด กรณีนี้ควรใช้ต่อเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เกิน 40 สัปดาห์ เพราะถ้าปล่อยไว้รกจะเสื่อมและไม่สามารถนำอาหาร และออกซิเจนมาเลี้ยงลูกน้อยได้ หรือถ้าอยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาลแล้วเจ็บท้องคลอดก่อนอาจไม่ทัน วิธีเร่งคลอด ช่วยคุณได้
การเร่งคลอดคืออะไร?
การเร่งคลอด คือการทำให้เกิดการเจ็บครรภ์ โดยอาศัยวิธีการต่างๆ ในขณะที่คุณแม่ยังไม่เจ็บท้องคลอดเองตามธรรมชาติ การเร่งคลอดจะเป็นวิธีการที่ดีกว่าการปล่อยให้ตั้งครรภ์ไปเรื่อยๆ เพื่อช่วยชีวิตคุณแม่และลูกน้อยเอาไว้ ถ้าคุณแม่มีอายุครรภ์ได้ 40 สัปดาห์แล้วแต่ยังไม่มีอาการ หรือสัญญาณเตือนใดๆ ว่าตัวเองกำลังจะคลอด หรือเกินกำหนดคลอดแล้ว Amarin Baby & Kids มี วิธีเร่งคลอด มาฝากค่ะ
วิธีการเร่งคลอด
1.การนวดกดจุด
เป็นศาสตร์แพทย์แผนจีน ถ้ากดจุดถูกวิธี จะทำให้มดลูกบีบตัว และทำให้อยากคลอดแบบธรรมชาติ
2.การใช้น้ำมันละหุ่ง
สูดดม หรือรับประทาน สามารถทำให้มดลูกหดตัว และคลอดตามธรรมชาติ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้วิธีนี้
3.การกระตุ้นหัวนม
คุณแม่ 37% ที่ใกล้คลอด ใช้วิธีนี้ในการกระตุ้นให้คลอดตามธรรมชาติ และได้ผลภายใน 3 วัน
4.การมีเพศสัมพันธ์
เมื่อถึงจุดสุดยอด มดลูกจะบีบตัว ทำให้เกิดการคลอดตามธรรมชาติ แต่ต้องระมัดระวังภาวะแท้งคุกคาม หรือรกเกาะต่ำ ไม่ควรใช้วิธีนี้ หรือมีเพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์
อ่านต่อ “วิธีเร่งคลอดข้อ 5 – 8” คลิกหน้า 2
5.รับประทานสับปะรด
สับปะรด เป็นผลไม้ที่ช่วยย่อยอาหารที่เป็นกรดและเป็นด่าง เหมาะสำหรับรับประทานหลังอาหารที่หนักเนื้อสัตว์ ช่วยบรรเทาอาการแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย นอกจากนี้ยังช่วยขับปัสสาวะ และกระตุ้นการคลอด เพราะมีสารบรอมีเลน ช่วยทำให้ปากมดลูกอ่อนตัว และเปิดขยายออก สามารถอมแก้เจ็บคอ หรือบรรเทาคออักเสบได้ แต่คุณแม่ที่มีท้องอ่อนๆ ก็ไม่ควรรับประทาน เพราะอาจทำให้แท้งลูกได้เช่นกัน
6.การรับประทานอาหารรสเผ็ด
การรับประทานอาหารรสเผ็ดทำให้ลำไส้ทำงานหนัก ส่งผลให้ระคายเคืองเบาๆ จึงมีส่วนทำให้มดลูกบีบตัว แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าจะกระตุ้นการคลอดให้เร็วขึ้น
7.เร่งคลอดด้วยการเดิน
การเดินช่วยให้คุณแม่เจ็บท้องเร็วขึ้น เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายทำให้ตำแหน่งลูกน้อยเคลื่อนต่ำลงมาอยู่ในตำแหน่งที่จะคลอด คุณแม่ควรเดินช้าๆ อย่างผ่อนคลาย และควรมีคนเดินเล่นเป็นเพื่อน เผื่อกรณีฉุกเฉิน
8.การเล่นลูกบอล
ซื้อลูกบอลขนาดใหญ่มาเล่น ช่วยยืดกล้ามเนื้อ คล้ายๆ กับการทำโยคะ โดยนั่งบนลูกบอลแล้วโยกตัวไปมาเบาๆ ช่วยให้ลูกน้อยเคลื่อนไหวลงสู่เชิงกรานได้เร็วขึ้น
***หมายเหตุ: เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และควรทำภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ หรือปรึกษาแพทย์ประจำตัวอย่างใกล้ชิด***