ตั้งครรภ์ 8 เดือน พัฒนาการทารกในครรภ์คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ 8 เดือนนี้ เติบโตมากและอยากจะออกมาดูโลกเต็มที่แล้วค่ะ แต่เพื่อการคลอดคุณภาพและสุขภาพที่ดี ร่างกายและพัฒนาการระบบหายใจของลูก ยังต้องการเวลาพัฒนาอีก 1 เดือน จึงจะทำให้ลูกน้อยแรกคลอดมีสุขภาพสมบูรณ์พร้อมที่สุดค่ะ
ตั้งครรภ์ 8 เดือน และพัฒนาการทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 8 เดือน การเปลี่ยนแปลง อาการแม่ท้อง
-
การหายใจ
หากช่วงนี้ลูกน้อยในครรภ์คุณแม่เคลื่อนศีรษะลงมาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมบริเวณช่องเชิงกรานในท่าเตรียมคลอดแล้ว คุณแม่จะรู้สึกได้ว่าหายใจสะดวกขึ้น แต่หากลูกน้อยยังไม่กลับศีรษะลงหรือขยับตัวลงมาเตรียมคลอด จะทำให้คุณแม่ยังรู้สึกหายใจลำบากอยู่ เนื่องจากมดลูกที่ขยายใหญ่มากช่วงนี้จะไปเบียดพื้นที่ภายในช่องท้อง กดทับกล้ามเนื้อ กะบังลม และปอดบางส่วนนั่นเอง
-
ปวดหน่วงช่องเชิงกราน
คุณแม่อาจมีความรู้สึกปวดหน่วงเชิงกรานเวลาเปลี่ยนอิริยาบถ หรือเดินได้ค่ะ เพราะบริเวณข้อต่อของกระดูกเชิงกรานคุณแม่จะหย่อนตัวลง จึงทำให้รู้สึกปวดหน่วงช่องท้องได้บ้างบางเวลา
-
น้ำหนักตัวเพิ่ม
คุณแม่ในช่วงนี้อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอีก 2-3 กิโลกรัมจากเดิม โดยจะมีน้ำหนักของลูกน้อยในครรภ์ถึง 3-4 กิโลกรัม ส่วนที่เหลือจะเป็นน้ำหนักของรก เต้านมที่ขยายใหญ่ น้ำหนักของมดลูก และปริมาณเลือดกับน้ำในร่างกายที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้คุณแม่เองยังมีไขมันที่สะสมอยู่ในตัวเท่ากับน้ำตัวของลูกน้อยอีกด้วย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม การเปลี่ยนแปลง อาการแม่ท้อง 8 เดือน คลิกต่อหน้า 2
-
เจ็บท้อง มดลูกแข็งตัว
คุณแม่บางท่านจะมีอาการท้องแข็งเกิดขึ้นได้บ้าง เนื่องจากมดลูกมีอาการแข็งตัวเป็นพักๆ แล้วก็หายไปเอง ซึ่งอาการนี้จะทำให้คุณแม่ไม่เจ็บมาก และไม่เจ็บถี่เหมือนอาการเจ็บท้องคลอด แต่หากคุณแม่รู้สึกท้องแข็งมาก เจ็บถี่ และเจ็บมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นอาการที่บอกว่าเจ็บท้องคลอดได้
-
หมอนัดตรวจครรภ์บ่อยขึ้น
ในช่วงใกล้คลอดนี้คุณหมอจะนัดตรวจครรภ์หรือฝากครรภ์ถี่ขึ้น เป็นทุกๆ 1-2 สัปดาห์ ซึ่งมักจะเพื่อติดตามการเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ ความพร้อมในการคลอด และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ของคุณแม่ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ตรวจไข่ขาวในปัสสาวะ และตรวจวัดความดันโลหิตว่าสูงเกินกว่า 140/90 อีกทั้งดูว่ามีอาการบวม หรือไม่ เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของครรภ์เป็นพิษ
นอกจากนี้อาจมีการอัลตราซาวนด์เพื่อดูว่าลูกน้อยแข็งแรงสมบูรณ์เติบโตมีน้ำหนักตัวเหมาะสมแค่ไหน รวมถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจลูก ดังนั้นคุณแม่จึงควรให้ความร่วมมือในการตรวจจากคุณหมอเพื่อสุขภาพที่ดีของแม่ลูกและการเตรียมพร้อมคลอดอย่างมีคุณภาพ
-
ฮอร์โมนสูง รกสมบูรณ์
ตั้งแต่ตั้งครรภ์เดือน 8 เป็นต้นไป รกซึ่งเป็นระบบหล่อเลี้ยงลูกน้อยจะมีความพร้อมสมบูรณ์เต็มที่ พร้อมทั้งสร้างฮอร์โมนชนิดต่างๆ ในระดับสูง เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ รองรับการขยายตัวของมดลูกที่เพิ่มขึ้น และเตรียมพร้อมต่อการคลอดในเดือนหน้า
-
สะดือตื้นขึ้น เห็นเส้นดำกลางท้องชัดเจน
หน้าท้องของคุณแม่จะยืดขยายใหญ่ขึ้น จนผิวหนังบริเวณท้องตึง เห็นสะดือตื้นขึ้น และเส้นดำกลางท้องจะมีสีคล้ำเข้มขึ้นอย่างชัดเจน หากคุณแม่รู้สึกว่าผิวแห้งตึงและคัน ควรหมั่นทาโลชั่นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและป้องกันไม่ให้เกิดริ้วรอยแตกลายเพิ่มมากขึ้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม พัฒนาการทารกในครรภ์ 8 เดือน คลิกต่อหน้า 3
พัฒนาการทารกในครรภ์ 8 เดือน
- ลูกน้อยในครรภ์ช่วงนี้จะมีความยาวช่วงลำตัวประมาณ40-45 ซม. และหนักประมาณ 1,500-2,500 กรัม
- ลูกน้อยจะอยู่ในท่ากลับหัวลงมาอยู่ที่เชิงกราน เพื่อเตรียมพร้อมคลอดในเดือนต่อไป
- ลูกน้อยมีอวัยวะทุกส่วนที่พัฒนาจนสมบูรณ์ ยกเว้นปอดที่ยังทำงานไม่เต็มที่ หากลูกต้องคลอดในเดือนที่ 8 นี้อาจมีปัญหาเรื่องการหายใจอยู่ แต่ก็มีโอกาสรอดชีวิตสูง
- สมองของลูกน้อยในช่วงนี้กำลังพัฒนาและเรียนรู้ได้ดีขึ้นมาก ทั้งการจดจำ การฟังและอื่นๆ
- ลูกน้อยเริ่มกะพริบตาได้แล้ว โดยจะเริ่มเปิด-ปิดเปลือกตากะพริบตาถี่ๆ และเพ่งมองจุดที่สนใจได้เพราะรูม่านตาเริ่มขยายและหรี่ได้ ดวงตาจะมีการฝึกปรับให้คนชัดในขณะที่ได้รับแสงสว่างจ้าและในที่มืด
- ผิวพรรณของลูกน้อยจะเริ่มเรียบตึง จากที่เคยมีรอยย่นจะเริ่มหายไป ผิวเริ่มเป็นสีชมพูเพราะมีไขมันสีขาวมาสะสมใต้ผิว ส่วนผมของลูกจะขึ้นเต็มศีรษะ เล็บมือของลูกจะงอกยาวออกมาจนถึงปลายนิ้วแล้ว
- ลูกน้อยอาจดิ้นน้อยลงได้ เพราะตัวลูกที่โตคับครรภ์คุณแม่ทำให้มีพื้นที่ในการดิ้น หรือเคลื่อนไหวได้น้อยลง
- แม้ร่างกายและอวัยวะของลูกน้อยทั้งหมดจะครบถ้วนและมีสัดส่วนเท่าเด็กครบกำหนดคลอดแล้ว แต่ลูกน้อยในครรภ์ยังต้องการเวลาอีกระยะหนึ่งเพื่อให้มีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น และรอให้การทำงานของทุกส่วนสมบูรณ์เต็มที่พร้อมคลอดอย่างปลอดภัยจริงๆ
อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ
เครื่อง MRI เอ็มอาร์ไอ สแกนดูทารกในครรภ์แนวใหม่ เห็นชัดเว่อร์!
จะเตรียมตัวตั้งท้อง ควรกิน และไม่กินอะไรบ้าง?
10 ข้อห้าม คนท้องอ่อนๆ ต้องระวังอะไรบ้าง?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่