เข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ เมื่อคุณแม่ ตั้งครรภ์ 7 เดือน จะเริ่มมีอาการนอนไม่หลับ ปวดหลัง ขาและเท้าบวม ร่วมกับอาการอื่นๆ ซึ่งเราก็จะได้แนะนำวิธีการบรรเทาอาการและแก้ไขมาให้คุณแม่ เพื่อให้สามารถรับมือกับการตั้งครรภ์ในช่วงนี้ได้อย่างมีคุณภาพค่ะ
ตั้งครรภ์ 7 เดือน และพัฒนาการทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 7 เดือน การเปลี่ยนแปลง อาการแม่ท้อง
-
นอนไม่หลับ
เพราะคุณแม่มีท้องที่ใหญ่และเริ่มรู้สึกอุ้ยอ้ายอึดอัด ทำให้นอนหลับได้ไม่สบายตัว คุณแม่จึงไม่สามารถนอนหลับสนิทได้ตลอดคืน หากคุณแม่มีอาการเพลียง่วงนอนตอนกลางวันเพราะนอนไม่หลับตอนกลางคืน ควรหาเวลางีบหลับกลางวันบ้างสักพัก เพื่อไม่ให้ร่างกายอ่อนเพลีย จนไม่สบายหรือหน้ามืดเป็นลม
-
ร่างกายเริ่มสร้างน้ำนม
ร่างกายของคุณแม่จะมีการเริ่มสร้างหัวน้ำนมขึ้นแล้ว เพื่อเตรียมพร้อมต้อนรับลูกน้อย หากบังเอิญมีการคลอดก่อนกำหนด และเพื่อสร้างสะสมไว้ให้ลูก คุณแม่จึงอาจสังเกตเห็นว่ามีน้ำนมสีเหลืองใสๆ ออกมาจากหัวนมได้
-
ปวดหลัง
เนื่องจากร่างกายคุณแม่มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับที่กระดูกเชิงกรานซึ่งเป็นส่วนรับน้ำหนักด้านล่างมีการขยายตัวเตรียมคลอด ทำให้หลังของคุณแม่ต้องรับน้ำหนักเต็มที่ นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้ฐานรับน้ำหนักกระดูกสันหลังที่กระดูกเชิงกรานมีการเคลื่อนตัวคลอนแคลน ทำให้คุณแม่ปวดหลัง และอาจรู้สึกปวดกระดูกหัวหน่าวและบริเวณก้นกบได้อีกด้วย ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการปวดมากขึ้น คุณแม่จึงควรสวมรองท้าเตี้ยๆ ที่เดินสบาย เดิน นั่ง ยืนให้ถูกท่า ไม่เปลี่ยนอิริยาบถทันที ไม่ยกของหนัก และไม่นั่งเก้าอี้หรือนอนเตียงที่นุ่มจนเกินไป ซึ่งจะยิ่งเพิ่มอาการปวดหลังมากขึ้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
-
สังเกตความดันและครรภ์เป็นพิษ
ในช่วงตั้งครรภ์คุณหมอควรหมั่นเช็กความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากหากมีภาวะความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์จะเสี่ยงต่อการเป็นครรภ์เป็นพิษ โดยจะมีอาการบวมมากที่บริเวณใบหน้า แขนและขา เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว น้ำหนักตัวเพิ่มอย่างรวดเร็ว มีความดันโลหิตสูง และหากมีอาการรุนแรงจะทำให้เกิดอาการชักและหมดสติ จนถึงกับคลอดก่อนกำหนด คุณแม่และลูกน้อยมีภาวะอันตรายที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้อีกด้วย
ครรภ์เป็นพิษ จึงเป็นภาวะเสี่ยงที่อันตรายอย่างยิ่งสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ดังนั้น คุณแม่จึงควรหมั่นไปฝากครรภ์สม่ำเสมอ ไปพบแพทย์และปรึกษากรณีมีอาการผิดปกติต่างๆ คอยสังเกตร่างกายว่าบวมมากเกินไปหรือไม่ ปวดศีรษะเวียนหัวผิดปกติหรือเปล่า เพื่อการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรงจนไม่สามารถรักษาได้ทันท่วงที
-
ถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
อาการถ่ายปัสสาวะบ่อยจะกลับมาหาคุณแม่อีกครั้งในช่วงนี้ เพราะมดลูกที่ขยาย ประกอบกับน้ำหนักตัว และการดิ้นของลูกน้อยในครรภ์จะไปกดลงบนกระเพาะปัสสาวะของคุณแม่ ทำให้คุณแม่มีอาการถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
ติดตาม คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 7 เดือน คลิกต่อหน้า 2
-
ขาและเท้าบวม
ขาและเท้าของคุณแม่ท้อง ต้องรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ แถมยังต้องเดิน ยืน และอื่นๆ ตลอดทั้งวัน ทำให้ขาของคุณแม่อาจจะมีทั้งเส้นเลือดขอดและเกิดอาการปวดเมื่อยล้าไปทั่วขาได้ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้าย หรือการตั้งครรภ์ในเดือนที่ 7-8-9 ซึ่งคุณแม่มักจะมีอาการขาและเท้าบวม
เราจึงขอนำเสนอวิธีการบรรเทาการบวมและลดอาการปวดเมื่อยมาฝากค่ะ
- ควรยกขาให้สูงในขณะที่คุณแม่พักผ่อน เช่น หากนอนก็ให้ใช้หมอนมารองขาทั้งสองไว้ให้สูงกว่าศีรษะ หากกำลังนั่งให้ใช้เก้าอี้ตัวเล็กมาวางรองขาสองข้างไว้ค่ะ
- ในช่วงระหว่างวัน พยายามหมุนหรือดัดปลายเท้าให้ชี้ขึ้นและชี้ลงบ้าง เพื่อลดอาการเป็นตะคริว ป้องกันกล้ามเนื้อหดเกร็ง
- หมั่นนวดเบาๆ ที่น่องและขา โดยอาจให้คุณพ่อมาช่วยนวดให้ เพื่อให้เลือดบริเวณขาไหลเวียนได้ดี และลดอาการบวม
- บริหารข้อเท้า เวลานอนหรือนั่ง ด้วยการเหยียดขาออกไป แล้วหมุนข้อเท้าไปมา จะช่วยแก้อาการปวดเมื่อยให้ดีขึ้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
-
เตรียมของใช้ที่จำเป็น
ในช่วงที่คุณแม่ยังเดินได้สะดวก ไม่รู้สึกว่าท้องใหญ่หรือเคลื่อนไหวลำบากในช่วงตั้งครรภ์ 7 เดือนนี้ เป็นช่วงเหมาะสมที่คุณแม่จะมาจัดเตรียมของใช้ที่จำเป็นในการคลอด และการเตรียมพร้อมต้อนรับลูกน้อย เพราะหากคุณแม่มาเลือกซื้อหรือเตรียมในช่วงตั้งครรภ์ 8-9 เดือนใกล้คลอด คุณแม่อาจจะเหนื่อยง่าย เดินช้อปปิ้งหรือทำอะไรลำบาก และเพื่อเตรียมไว้ป้องกันเหตุฉุกเฉินหรือเมื่อต้องคลอดอย่างฉุกละหุก จึงแนะนำให้คุณแม่เตรียมซื้ออุปกรณ์ของใช้ในการเลี้ยงลูกน้อยไว้ล่วงหน้าก่อนเลยค่ะ นั่นคือ
- ของใช้ของลูกน้อยที่บ้าน – เสื้อผ้าลูก ผ้าอ้อม เครื่องนอน อุปกรณ์การให้นม อุปกรณ์อาบน้ำและทำความสะอาดสำหรับเด็กต่างๆ และของใช้สำหรับคุณแม่ที่บ้าน เช่น ถุงเก็บน้ำนม ผ้าคลุมให้นม เป็นต้น
- เอกสารสำคัญต่างๆ เช่น ใบฝากครรภ์ บัตรประจำตัวโรงพยาบาล บัตรประชาชน เอกสารที่ต้องใช้เพื่อทำสูติบัตรลูก เบอร์โทรศัพท์สำคัญของคนในครอบครัว และเบอร์ฉุกเฉินต่างๆ
- ของใช้ส่วนตัวคุณแม่เมื่อไปคลอด ทั้ง แปรงสีฟัน ยาสีฟัน เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ลิบมัน ฯลฯ พร้อม เสื้อผ้าของใช้ลูกน้อยตอนกลับบ้านหลังคลอด ได้แก่ ผ้าอ้อม ผ้าห่อตัว เสื้อผ้า ถุงมือถุงเท้า หมวกเด็กอ่อน
ติดตาม พัฒนาการทารกในครรภ์ 7 เดือน คลิกต่อหน้า 3
พัฒนาการทารกในครรภ์ 7 เดือน
** ลูกน้อยในครรภ์ช่วงนี้จะมีความยาว 33-38 ซม. และหนักประมาณ 1,000-1,200 กรัม
** ลูกน้อยมีเนื้อสมองพร้อมรอยหยักที่เกิดจากการเติบโตและการเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทต่างๆ มากมาย ทำให้มีคลื่นสมองและระบบประสาทที่สมบูรณ์มากขึ้น และการพัฒนาของสมองนี้เองทำให้ลูกสามารถเรียนรู้ที่จะตอบโต้กับคุณแม่และสื่อความต้องการด้วยการเตะหรือดิ้นได้เก่งขึ้น หากคุณแม่กินอาหารช้าหรือผิดเวลาไป และเมื่อมีเสียงดังมากๆ ค่ะ
** ลูกน้อยจะเริ่มฝึกหายใจด้วยการใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องเป็นจังหวะขึ้นลง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการหายใจด้วยตัวเองตอนแรกคลอด
** ลูกน้อยมีผิวพรรณที่เริ่มเต่งตึงสดใส เพราะมีไขมันมาสะสมใต้ผิวหนังมากยิ่งขึ้น ทำให้รอยเหี่ยวย่นตามใบหน้าและลำตัวเริ่มจางหายไป รวมทั้งยังมีผมที่งอกยาว มีขนคิ้ว ขนตาขึ้นอย่างสมบูรณ์อีกด้วย
** ลูกน้อยมีความสามารถในการรับรู้ เริ่มมีการมองเห็นและการได้ยินที่ดี
** ลูกน้อยเริ่มหมุนลำตัว มาอยู่ในท่าที่เอาศีรษะลงเพื่อเตรียมคลอดแล้ว
อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ
แผลผ่าคลอดอักเสบ ปวด คัน เป็นหนอง ต้องทำอย่างไร?
การเปลี่ยนแปลงของเต้านมขณะตั้งครรภ์ ความลับที่แม่ท้องควรรู้
ปวดหลัง อาการยอดฮิตที่แม่ท้องต้องรับมือ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่