ตั้งครรภ์ 6 เดือน คุณแม่ตั้งครรภ์ 6 เดือน จะมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยมีอาการต่างๆ ที่อาจมาทำให้คุณแม่รู้สึกหงุดหงิดใจ แต่ทุกอย่างมีวิธีแก้ไขปัญหาให้บรรเทาเบาบางลงได้แน่นอนค่ะ รวมทั้ง พัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน ก็เก่งและฉลาดจนสามารถตอบโต้คุณแม่ได้แล้วด้วย
ตั้งครรภ์ 6 เดือน และพัฒนาการทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 6 เดือน การเปลี่ยนแปลง อาการแม่ท้อง
-
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
คุณแม่ท้องช่วงนี้อาจมีโอกาสเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ เกิดจากกล้ามเนื้อในทางเดินระบบปัสสาวะหย่อนตัวลงได้ ดังนั้น คุณแม่จึงควรดื่มน้ำให้พียงพอ ไม่อั้นปัสสาวะ และหารู้สึกปัสสาวะแสบขัด ควรไปพบแพทย์
-
รู้สึกแสบกระเพาะอาหาร
เนื่องจากกรดที่ช่วยย่อยอาหารในกระเพาะของคุณแม่ลดน้อยลง ทำให้อาหารยังคงค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานขึ้น นอกจากนี้เวลาที่ลูกดิ้นยังทำให้เกิดการกดทับของกระเพาะอาหาร เกิดเป็นกรดไหลย้อนจนทำให้คุณแม่รู้สึกแสบร้อนกระเพาะอาหาร และอาจมีอาการท้องผูกร่วมได้อีกด้วย
-
ปวดชายโครง
เพราะขนาดของท้องคุณแม่ที่ใหญ่ขึ้นจนเข้าใกล้ชายโครง จึงทำให้คุณแม่มีอาการเจ็บปวดและเสียดชายโครงด้านใดด้านหนึ่งได้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 6 เดือน คลิกต่อหน้า 2
-
น้ำหนักขึ้นเร็ว
ช่วงนี้คุณแม่จะมีน้ำหนักขึ้นรวดเร็วกว่าในช่วง 3 เดือนแรกค่อนข้างมาก โดยส่วนใหญ่คุณแม่จะมีน้ำหนักขึ้นถึงประมาณสัปดาห์ละ ½ กิโลกรัมเลยทีเดียว โดยลูกน้อยของคุณแม่จะแบ่งน้ำหนักของคุณแม่ในช่วงเดือนที่ 4-5-6 นี้ประมาณ 1 กิโลกรัม นอกนั้นจะเป็นน้ำหนักของรก น้ำคร่ำ น้ำหนักของเต้านมที่ขยาย น้ำหนักของมดลูก รวมทั้งปริมาณเลือดและน้ำในร่างกายคุณแม่ที่เพิ่มมากขึ้น
-
ตะคริว
คุณแม่ตั้งครรภ์ 5-6 เดือนขึ้นไป มักจะเริ่มมีอาการตะคริว ที่เกิดจากการหดรัดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณน่อง ต้นขา และปลายเท้า ซึ่งจะเป็นได้บ่อยเวลากลางคืน สาเหตุเกิดจากคุณแม่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ และอาจยืนหรือเดินมากเกินไป วิธีแก้ไขคือ เมื่อเป็นตะคริวควรรีบกระดกปลายเท้าขึ้น เพื่อให้กล้ามเนื้อที่จับตัวแข็งเป็นก้อนคลายตัวและเหยียดออก รวมทั้งควรดื่มนมหรือกินอาหารที่มีแคลเซียมให้มากเพียงพอ
-
เส้นเลือดขอด
เมื่อคุณแม่อายุครรภ์มากขึ้น ทำให้มดลูกขยายใหญ่ จนไปกดทับหลอดเลือดดำในช่องท้อง ส่งผลให้ความดันในหลอดเลือดสูงขึ้น และหลอดเลือดเล็กๆ บริเวณโคนขาและน่องของคุณแม่ โป่งพอง จนเห็นเป็นเส้นเลือดขอด วิธีการดูแลหรือป้องกันคือ ไม่นั่งหรือยืนห้อยขานานๆ และเวลานอนควรหนุนเท้าให้สูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้เลือดไหลเวียนกลับมาที่หัวใจได้ดีขึ้น
-
ท้องอืด แน่นท้อง
เพราะฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปขณะตั้งครรภ์จะส่งผลต่อการทำงานของระบบการย่อยอาหารในร่างกายคุณแม่ ทำให้ย่อยอาหารได้ช้าลง หรือใช้เวลานานขึ้น หลังอาหารคุณแม่จึงมักมีอาการแน่นท้องท้องอืดง่าย จึงควรป้องกันแก้ไขด้วยการกินอาหารที่ย่อยง่าย กินในปริมาณน้อยๆ ในแต่ละครั้ง แต่แบ่งเป็นทานหลายๆ มื้อ เพื่อไม่ให้รู้สึกแน่นท้องหรือท้องอืด เพราะอาหารไม่ย่อยค่ะ
-
ปวดเสียดท้องน้อย
เกิดจากการที่มดลูกของคุณแม่มีอาการหดเกร็ง เพราะคุณแม่เปลี่ยนอิริยาบถในทันทีทันใด เช่น ลุกนั่งเร็วๆ หรือยืนทันที ทำให้คุณแม่เกิดอาการปวดเสียดบริเวณท้องน้อย
-
ผิวคล้ำ มีเส้นดำกลางท้อง
ผิวพรรณของคุณแม่ท้องช่วงนี้อาจจะมีสีคล้ำขึ้น ใบหน้าดูคล้ำขึ้น หรือมีฝ้า กระขึ้น มีรอยดำตามข้อพับ รักแร้ และเริ่มเห็นเส้นดำกลางท้องที่ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะเส้นดำใต้สะดือลงไป
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม พัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน คลิกต่อหน้า 3
พัฒนาการทารกในครรภ์ 6 เดือน
** พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ช่วงนี้จะมีความยาว 28-32 ซม. และหนักประมาณ 700-800 กรัม
** ร่างกายลูกเติบโตมีแขนขาสมบูรณ์ได้สัดส่วน แขนขาเริ่มมีกล้ามเนื้อที่สมบูรณ์มากขึ้น
** ลำตัวของลูกน้อยเริ่มได้สัดส่วนกับศีรษะ แม้ว่าร่างกายจะยังดูผอม แต่ลูกก็เติบโตขึ้นมากจากเดือนที่ผ่านๆ มา ทำให้ศีรษะของลูกที่เคยดูใหญ่กว่าลำตัว ตอนนี้ดูสมดุลกับขนาดลำตัวที่เจริญเติบโตรวดเร็ว
** ลูกน้อยมีความสามารถในการได้ยินเสียงที่มีความถี่ในระดับที่เกินการได้ยินของผู้ใหญ่ และจะมีความไวต่อคลื่นเสียงที่มีความถี่สูงมากๆ อีกด้วย โดยลูกมักจะเคลื่อนไหวตัวขึ้น-ลงตามจังหวะการพูดคุยของคุณแม่ และจังหวะการเดินหรือทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ
** ลูกน้อยเริ่มฝึกการหายใจด้วยตัวเองแต่ยังทำได้ไม่สมบูรณ์ดี
** ลูกน้อยมีระบบประสาทที่ทำงานเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากประสบการณ์ภายนอกได้แล้ว โดยสามารถรับรู้สัมผัส และแสงจากภายนอกครรภ์คุณแม่ได้
** เมื่อลูกน้อยรับรู้สิ่งต่างๆ จากประสาทสัมผัสได้ ก็เริ่มที่จะเคลื่อนไหวตอบโต้ต่อสิ่งที่มากระตุ้นได้ด้วย
** เมื่อคุณแม่สื่อสารกับลูกน้อยด้วยการลูบคลำหน้าท้อง ใช้มือสัมผัสไปตามส่วนลูกดิ้น จะช่วยทำให้ลูกรู้สึกถึงการสื่อสารจากคุณแม่ได้ค่ะ
อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ
เคล็ดลับ ท้อง สุขภาพดี ลูกน้อยแข็งแรง
การเปลี่ยนแปลงของเต้านมขณะตั้งครรภ์ ความลับที่แม่ท้องควรรู้
2 เรื่องสำคัญ แม่ท้องต้องทำ เพื่อให้ลูกเกิดมาครบ 32 และมีสมองดี
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่