ตั้งครรภ์ 3 เดือน คุณแม่บางคนอาจจะเริ่มแพ้ท้องน้อยลง หรือบางคนยังมีอาการแพ้ท้องอยู่ แต่จะมีอาการที่ดีมากขึ้น เพราะฮอร์โมนเริ่มปรับสภาพให้สมดุลมากขึ้นแล้ว ส่วนพัฒนาการทารกในครรภ์ 3 เดือนนี้จะเติบโตแค่ไหน ไปดูกันค่ะ
ตั้งครรภ์ 3 เดือน และพัฒนาการทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 3 เดือน การเปลี่ยนแปลง อาการแม่ท้อง
-
อ่อนไหวง่าย
คุณแม่ยังคงมีอารมณ์แปรปรวน อ่อนไหวง่าย ด้วยเพราะฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับความเปลี่ยนแปลงในร่างกาย และความกังวลใจต่างๆ แต่อารมณ์ที่แปรปรวน อ่อนไหวง่าย เศร้าง่ายของคุณแม่ช่วงนี้จะดีขึ้นเมื่อเข้าสู่การตั้งครรภ์ในเดือนที่ 4
-
ถ่ายยาก
คุณแม่บางท่านอาจเริ่มมีอาการท้องผูก ถ่ายยาก เนื่องจากมดลูกเริ่มขยายตัวจนส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร คุณแม่จึงควรรับประทานอาหารที่มีกากใยให้มาก และดื่มน้ำมากๆ ด้วยค่ะ
-
ดูแลผิวพรรณ ป้องกันท้องลาย
ในช่วงตั้งครรภ์เดือนที่ 3 นี้ หน้าท้องของคุณแม่กำลังจะเริ่มยืดตัวและขยายขนาดขึ้น และในเดือนต่อๆไป ผิวหนังหน้าท้องก็จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงอาจทำให้ผิวบริเวณหน้าท้อง ต้นขา ต้นแขน หรือสะโพกของคุณแม่แห้งและแตกลายได้ ดังนั้นจึงควรป้องกันผิวแห้งแตกลายตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการทาโลชั่นบำรุงผิวทุกวันเพื่อให้ผิวมีความชุ่มชื้นรองรับการยืดขยายได้ดี ปกป้องผิวจากความแห้งกร้านอันเป็นสาเหตุของการแตกลายในอนาคตได้ค่ะ
-
หลีกเลี่ยงสารเคมีอันตราย
คุณแม่ท้องควรหลีกเลี่ยงไม่สัมผัสหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีอันตรายซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ได้ เช่น สีทาบ้าน ยาฆ่าแมลง ที่มีส่วนประกอบของสารเคมีอันตรายที่อาจทำให้ลูกพิการได้ โดยหากจำเป็นต้องใช้ ควรให้ผู้อื่นเป็นคนฉีดพ่น ส่วนคุณแม่ตั้งครรภ์ก็ควรออกไปให้ห่างจากบริเวณนั้น และรอจนกว่ากลิ่นของยาฆ่าแมลงหมดแล้ว หรือทิ้งระยะเวลาไว้สักพักให้นานพอ จึงค่อยกลับเข้ามาในห้องหรือบริเวณที่ฉีดยาฆ่าแมลงค่ะ
นอกจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบางชนิดยังมีสารอันตรายที่ทำมาจากสารเคมีเช่น คลอรีน แอมโมเนีย และอื่นๆ ที่มีผลช่วยกำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรก ซึ่งสารเคมีเหล่านี้อาจไปบั่นทอนสุขภาพลูกน้อยในครรภ์ได้ ดังนั้นหากคุณแม่หลีกเลี่ยงได้ก็ไม่ควรไปสัมผัส หรือสูดดมน้ำยาเหล่านั้นโดยตรง และงดใช้งาน โดยให้คนอื่นสัมผัสหรือใช้งานแทนจะดีที่สุดค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 3 เดือน คลิกต่อหน้า 2
น้ำหนักที่ดีของแม่ท้อง
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเหมาะสมตามน้ำหนักรูปร่างและอายุครรภ์ตลอด 9 เดือน เพื่อไม่ให้ลูกน้อยและคุณแม่เองมีปัญหาสุขภาพและอื่นๆ มาดูกันว่าหากคุณแม่น้ำหนักไม่เหมาะสม จะส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง
- น้ำหนักที่ขึ้นน้อยเกินไป ทำให้ลูกน้อยขาดสารอาหาร ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการพัฒนาร่างกาย คุณแม่เองก็จะเจ็บป่วย สุขภาพไม่ดี หรือไม่แข็งแรงพร้อมต่อการคลอดลูกน้อย จนเกิดปัญหาในอนาคตได้
- น้ำหนักที่เพิ่มมากเกินไป ทำให้ลูกตัวใหญ่มากเกินไป คลอดเองยาก มีโอกาสผ่าตัดคลอด
- น้ำหนักที่เพิ่มมากเกินไป ทำให้ลูกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย และสัมพันธ์กับการเสี่ยงต่อโอกาสคลอดก่อนกำหนด
- น้ำหนักที่เพิ่มมากเกินไป ทำให้คุณแม่อ้วน หลังคลอดก็ยังมีน้ำหนักตัวเกินและคงค้างอยู่สูง ลดน้ำหนักและกลับมารูปร่างสวยงามเหมือนก่อนคลอดได้ยากตามมาด้วย
เพื่อให้ลูกน้อยและคุณแม่สุขภาพดีไม่เสี่ยงโรคภัย มาดูกันว่าขณะตั้งครรภ์คุณแม่ควรจะมีน้ำหนักเท่าไรดี
น้ำหนักตัวแม่ท้องตลอด 9 เดือน
ก่อนที่จะรู้ว่าน้ำหนักขณะตั้งครรภ์ควรเพิ่มขึ้นเท่าไร คุณแม่ต้องมาคำนวณดัชนีมวลกาย(BMI) กันก่อนค่ะ
ดัชนีมวลกาย(BMI) =น้ำหนักคุณแม่ (กก.) หาร/ ความสูง (เมตร2)
ยกตัวอย่างการคำนวณ สมมุติว่าคุณแม่หนัก 50 กก. และสูง 165 ซม.
ก่อนอื่นต้องแปลงส่วนสูงเป็นเมตรก่อนค่ะ
โดย 165 ซม. เท่ากับ 1.65 เมตร
ก็นำค่ามาเทียบในสูตรข้างต้นได้เลย
= 50 / (1.65 x 1.65)
= 50 / 2.72
= 18.38
ค่า BMI ของคุณแม่ก็จะเท่ากับ 18.38 นั่นเองค่ะ
เมื่อคุณแม่คำนวณแล้ว มาดูกันค่ะว่าน้ำหนักตัวคุณแม่ก่อนตั้งครรภ์เป็นอย่างไร และคุณแม่ควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่าไรตลอดการตั้งครรภ์ ?
- ค่า BMI น้อยกว่า 5 >คุณแม่มีน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์น้อยกว่าปกติ
ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 12.5 – 18 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.51 กิโลกรัม
- ค่า BMI 18.5 – 22.9 >คุณแม่มีน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ปกติหรือสมส่วน
ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 11.5 – 16 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.42 กิโลกรัม
- ค่า BMI 23 – 29.9 >คุณแม่มีน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์เกินมาตรฐาน
ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 7 – 11.5 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.28 กิโลกรัม
- ค่า BMI 30 >คุณแม่มีภาวะอ้วน
ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 5 – 9 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.22 กิโลกรัม
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม พัฒนาการทารกในครรภ์ 3 เดือน คลิกต่อหน้า 3
พัฒนาการทารกในครรภ์ 3 เดือน
- ลูกน้อยช่วงนี้จะมีความยาวประมาณ 4-9 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 45-48 กรัม
2. เซลล์สมองมีการแบ่งตัวและมีเส้นใยประสาทที่ยื่นกิ่งก้านสาขามากมาย
3. ศีรษะเริ่มโตขึ้น โดยจะมีความยาวประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของความยาวลำตัว
4. อวัยวะต่างๆ เริ่มขยายขนาด มีการพัฒนาหน้าตา นัยน์ตา มีคาง หน้าผากชัดเจนขึ้น
5. กระดูกของลูกน้อยบางส่วนเริ่มมีแคลเซียมมาสะสมมากขึ้นแล้ว
6. ขากรรไกรของลูกในครรภ์ เริ่มมีเหง้าของฟันแท้ทั้ง 32 ซี่ ซ่อนอยู่ในปุ่มเหงือกแล้ว
7. ผิวหนังเริ่มมีขนอ่อนขึ้นปกคลุมร่างกายลูกน้อย
8. ใบหูของลูกน้อยมีการเคลื่อนตัวขึ้นมาตามการเหยียดของคอ จนมาอยู่ถึงตำแหน่งตรงข้างศีรษะของลูกแล้วค่ะ
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ
การเปลี่ยนแปลงของเต้านมขณะตั้งครรภ์ ความลับที่แม่ท้องควรรู้
ตั้งครรภ์ 19-20 สัปดาห์ และพัฒนาการทารกในครรภ์
คุณแม่ท้อง ก็ขาดสารอาหาร ได้นะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่