ตั้งครรภ์ 2 เดือน อาการแพ้ท้องของคุณแม่จะแสดงออกเด่นชัดมากขึ้น และเซลล์สมองของร่างกายของลูกน้อยก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย เรามาดูกันค่ะว่า อาการคนท้อง 2 เดือน มีอะไรบ้าง และพัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน มีการเติบโตแค่ไหนแล้ว
ตั้งครรภ์ 2 เดือน และพัฒนาการทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 2 เดือน การเปลี่ยนแปลง อาการแม่ท้อง
-
เต้านมขยายใหญ่
คุณแม่จะรู้สึกคัดตึงเต้านมมาก เพราะในร่างกายมีปริมาณเลือดมาเลี้ยงมากจนคั่งเห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนังเป็นร่างแหสีเขียวๆ ลานหัวนมของคุณแม่จะมีสีคล้ำขึ้น และเกิดตุ่มเล็กๆ โดยรอบๆ ที่เรียกว่า ตุ่มมอนต์โกเมอรี (Montgomery) และเต้านมคุณแม่ก็เริ่มไม่ไขมันสะสม มีต่อมและท่อส่งน้ำนมที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับการตั้งครรภ์และให้นมลูกน้อยในอนาคต
-
แพ้ท้อง
เป็นอาการที่พบเป็นประจำในช่วงตั้งครรภ์ 2 เดือน โดยอาการสำคัญที่บ่งบอกว่าคุณแม่แพ้ท้อง มี 3 อย่างที่ชัดเจนคือ
แพ้ท้องตอนตื่นนอน หรือที่เรียกว่า Morning Sick คือรู้สึกมันศีรษะ เวียนหัว คลื่นไส้ในตอนเช้าๆ หลังตื่นนอน หรือเวลาลุกจากที่นอน ในขณะที่บางคนอาจเกิดอาการได้ตลอดวัน โดยเฉพาะเวลาท้องว่าง จึงอาจทำให้คุณแม่วิงเวียน เป็นลมเพราะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ซึ่งมีคุณแม่หลายท่านที่มีอาการแพ้ท้องมากจนน้ำหนักตัวลด หากรู้สึกว่าอาเจียนมาก กินอะไรไม่ได้เลย ควรไปปรึกษาแพทย์ค่ะ
อยากกินของแปลกๆ หรือกินไม่ลง คุณแม่อาจจะมีอาการอยากกินอาหารแปลกๆ ที่ไม่ค่อยได้กิน หรือบางคนมักกินอาหารไม่ลงในช่วงนี้ เป็นเพราะฮอร์โมนที่สูงขึ้นในขณะตั้งครรภ์ช่วงแรกๆ ที่ทำให้คุณแม่ไม่ค่อยรับรู้รสชาติ กินอะไรไม่ค่อยอร่อย เบื่ออาหาร ดังนั้นคุณแม่จึงต้องพยายามดูแลตัวเองเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งหากรู้สึกไม่อยากกินก็ควรกินทีละน้อยๆ แต่กินบ่อยๆ เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ โดยไม่ขาดอาหารค่ะ
อาการเหม็น คุณแม่บางท่านอาจมีความรู้สึกเหม็นกลิ่นน้ำหอมที่คุ้นเคย เหม็นกลิ่นอาหารบางชนิด เช่น กลิ่นกระเทียม กินผักบางอย่าง ทั้งๆ ที่เคยดมหรือเคยกินได้ แต่ตอนท้องช่วงนี้กลับรู้สึกได้กลิ่นทีไรอาจอาเจียนทุกที แถมคุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกเหม็นกลิ่นคุณพ่อได้อีกด้วย
-
ตกขาว
เพราะฮอร์โมนที่เพิ่มมากขึ้นตอนตั้งครรภ์นี้ ประกอบกับคุณแม่จะมีเลือดไปเลี้ยงช่องคลอดและอวัยวะเพศภายนอกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้คุณแม่มีมูกข้นเหนียวหรือตกขาว บริเวณปากมดลูกมากกว่าปกติ นอกจากนี้บริเวณอวัยวะเพศของคุณแม่จะเริ่มมีสีคล้ำขึ้นด้วย
-
อารมณ์แปรปรวน
คุณแม่มักจะมีอารมณ์อ่อนไหว ซึมเศร้า และอ่อนล้าได้ง่าย เพราะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายต่างๆ ร่วมกับความกังวลใจในการดูแลครรภ์และอื่นๆ ดังนั้นหากคุณแม่รู้สึกเหนื่อยควรพักผ่อนหย่อนใจ ไม่เครียด ทำกิจกรรมที่สร้างความสุข และหาเวลาไปเดินเที่ยวในสถานที่อากาศดีๆ เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายมีความสุขขึ้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 2 เดือน คลิกต่อหน้า 2
ตรวจปัสสาวะตอนฝากท้อง บอกอะไรบ้าง?
-
บอกถึงภาวะการตั้งครรภ์
เนื่องจากในปัสสาวะของคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีปริมาณฮอร์โมน HCG (Human Chorionic Gonadotropin) อยู่สูงมาก โดยฮอร์โมนตัวนี้จะสร้างขึ้นเพื่อคอยดูแลฟูมฟักตัวอ่อนหรือลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่ให้เติบโต ดังนั้นเวลาที่คุณแม่ตรวจปัสสาวะก็จะทำให้พบฮอร์โมนตัวนี้ค่ะ
-
บอกน้ำตาลในปัสสาวะ
เพราะในปัสสาวะคุณแม่จะบอกปริมาณน้ำตาลในร่างกายได้ หากตรวจปัสสาวะแล้วพบว่ามีน้ำตาลในปัสสาวะสูงมาก อาจแสดงว่าคุณแม่มีภาวะของโรคเบาหวานหรืออื่นๆ ได้นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามบางครั้งการตรวจปัสสาวะอาจบอกค่าไม่ได้ชัดเจนนัก แพทย์จึงอาจขอตรวจปริมาณน้ำตาลในร่างกายแม่ด้วยวิธีอื่นๆ เพิ่มเติมได้ เช่น ตรวจเลือด หรืออื่นๆ
-
บอกโปรตีนในไข่ขาว
การตรวจปัสสาวะของคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อดูโปรตีนในไข่ขาว เป็นการบอกถึงภาวะเสี่ยงต่ออาการครรภ์เป็นพิษ หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ ดังนั้นเพื่อตรวจเช็กความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่การตรวจปัสสาวะในระหว่างตั้งครรภ์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม พัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน คลิกต่อหน้า 3
พัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน
- พัฒนาการลูกน้อยช่วงนี้จะมีความยาวประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 3-4 กรัม
- ลูกน้อยมีเค้าโครงหน้าแบบจิ๋วๆ เพราะร่างกายมีการพัฒนาเค้าโครงของใบหน้า มีลูกตาดำรางๆ มีจมูก ริมฝีปาก และหู ที่กำลังพัฒนาเป็นหูชั้นนอกและหูชั้นใน
- ลูกตาดำของลูกน้อยทั้ง 2 ข้างยังมีความห่างกันอยู่มาก
- สมองและไขสันหลังของลูกน้อยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีการสร้างเส้นใยสมองและระบบประสาทที่เชื่อมต่อกันโยงใยมากมาย
- ส่วนศีรษะของลูกน้อยจะยังคงโตมากเมื่อเทียบกับลำตัว จึงทำให้ศีรษะโน้มถ่วงก้มลงไปชิดหน้าอก
- ชั้นผิวหนังของลูกน้อยที่ห่อหุ้มทั่วร่างกาย จะแบ่งออกเป็น 2 ชั้น โดยผิวหนังจะยังคงเป็นสีทึบเพราะกำลังมีการพัฒนาต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน และอาจเริ่มมีขนเล็กๆ งอดออกมาจากรูขุมขน
- หัวใจลูกน้อยเริ่มเต้นแรงจนได้ยินเสียงแล้ว แถมอวัยวะยังมีครบทั้งหมดแล้วด้วย เพียงแต่ยังเติบโตและทำงานได้ไม่สมบูรณ์
- จากที่ตัวงอคล้ายกุ้งในเดือนแรก หางจะเริ่มหายไป มีแขนขาที่เริ่มแยกให้เห็นนิ้วมือ และข้อมือด้วย
- ลูกน้อยมีอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วมากคือประมาณ 140-150 ครั้งต่อนาทีค่ะ
อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ
10 ข้อห้าม คนท้องอ่อนๆ ต้องระวังอะไรบ้าง?
สามีแพ้ท้องแทนภรรยา สาเหตุเกิดจากอะไร?
การใช้ยาในคุณแม่ตั้งครรภ์ และให้นมลูกน้อย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่