เพราะหนึ่งเดือนแรกผู้หญิงส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าตัวเองท้อง จนกระทั่งมีสิ่งผิดปกติต่างๆ เกิดขึ้น เรามาดูกันค่ะว่า อาการคนท้องเดือนแรก เมื่อคุณแม่ ตั้งครรภ์ 1 เดือน มีอะไรบ้าง และพัฒนาการทารกในครรภ์มีการเติบโตแค่ไหนแล้ว
ตั้งครรภ์ 1 เดือน และพัฒนาการทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 1 เดือน การเปลี่ยนแปลง อาการแม่ท้อง
“รู้จักสัญญาณสู่ความเป็นแม่”
สัญญาณสำคัญในเดือนแรกที่ทำให้คุณแม่รู้ว่ากำลังตั้งครรภ์ และมีลูกน้อยตัวจิ๋วกำลังเติบโตอยู่ในท้อง จนทำให้คุณแม่รู้สึกได้ว่าร่างกายผิดปกติ ตามลักษณะอาการคนท้อง 1 เดือนมีดังนี้
- ประจำเดือนขาด หมายความว่า คุณแม่ที่มีรอบเดือนปกติทุกเดือน แล้วอยู่ๆ ประจำเดือนที่จะต้องมาขาดหายไป สาเหตุเกิดจากการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิจนมีลูกน้อยเป็นตัวอ่อน ซึ่งหลังจากตัวอ่อนฝังตัวลงในเยื่อบุมดลูกนั้น จะเป็นช่วงเวลาที่จบลงในวันที่คุณแม่ควรจะมีประจำเดือนในรอบต่อมาพอดี โดยรังไข่ในร่างกายคุณแม่จะสร้างฮอร์โมนเพื่อดูแลครรภ์ ส่งผลให้หยุดผลิตไข่หรือไม่ตกไข่ ทำให้คุณแม่ประจำเดือนขาดไปนั่นเอง
- แพ้ท้อง อาการปกติธรรมดาของคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงแรกคือ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ เหม็นอาหารหรือสิ่งของรอบกาย เกิดจากฮอร์โมนที่สร้างขึ้นในขณะตั้งครรภ์ส่งผลต่อร่างกายคุณแม่และระบบทางเดินอาหารทำให้คุณแม่รู้สึกคลื่นไส้ พะอืดพะอม จนบางครั้งอาเจียน
- เต้านมคัดคุณแม่จะรู้สึกรู้สึกเจ็บ คัดตึงเต้านม และเต้านมจะขยายใหญ่ขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนในขณะตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้นและปริมาณเลือดในร่างกายที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้คุณแม่รู้สึกได้ว่าเต้านมใหญ่ขึ้น แน่นและคัดตึงจนเจ็บ
- ปัสสาวะบ่อย คุณแม่จะมีอาการปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ เข้าห้องน้ำหลายครั้ง เกิดจากมดลูกที่ขยายขนาดใหญ่ขึ้นมาเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณแม่รู้สึกปวดปัสสาวะได้ง่ายและบ่อยกว่าปกติ แต่หลังจากอายุครรภ์มากขึ้นในช่วงไตรมาสที่สอง มดลูกโตเข้าสู่ช่องท้อง การกดทับกระเพาะปัสสาวะจะลดลง คุณแม่จะกลับมาปัสสาวะได้ปกติอีกครั้งค่ะ
- อ่อนเพลีย คุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วง 1-2 เดือนแรก มักมีอาการอ่อนเพลียง่าย อยากนอนหลับพักผ่อนตลอดเวลาสาเหตุเกิดจากฮอร์โมนในร่างกายขณะตั้งครรภ์ที่สูงขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อในร่างกายคลายตัว ร่างกายมีการเปาผลาญและใช้พลังงานมากขึ้น ทำให้คุณแม่รู้สึกเสียพลังงานไปมากและอ่อนเพลียได้ง่ายนั่นเอง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 1 เดือน คลิกต่อหน้า 2
เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ ควรฝากครรภ์ทันที
องค์การอนามัยโลกยกย่องว่าการฝากครรภ์เป็นการป้องกันสุขภาพของแม่และเด็กในครรภ์ที่ได้ผลที่สุดในบรรดาการป้องกันอื่นๆ เพื่อสุขภาพแม่และลูกน้อย
เพราะการฝากครรภ์มีประโยชน์อย่างมากในการที่แพทย์จะช่วยตรวจและติดตามสุขภาพทั้งของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ การป้องกันโรคและภาวะเสี่ยงต่างๆ รวมถึงการดูแลคุณแม่ในกรณีที่มีโรคประจำตัว มีความเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อตัวเองและลูก ซึ่งในประเทศไทยยังมีคุณแม่ที่มาคลอดโดยไม่ฝากครรภ์เลยซึ่งมีทั้งลงเอยด้วยดี แม่และเด็กแข็งแรงแต่เป็นส่วนน้อย คนที่ไม่ฝากครรภ์แล้วมาคลอด ส่วนใหญ่เกิดปัญหา เช่น คลอดก่อนกําหนด เกินกําหนด ตกเลือดหลังคลอด มารดาและทารกได้รับบาดเจ็บเสียชีวิต ดังนั้นเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์คุณแม่ควรรีบไปฝากครรภ์ทันที และควรไปพบแพทย์ตามนัดฝากครรภ์ทุกครั้ง เพื่อให้การตั้งครรภ์ครั้งนี้สุขภาพดีทั้งแม่และลูกน้อยค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อาหารที่แม่ท้อง ต้องงด
เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ แสดงว่าคุณแม่กำลังมีอีกชีวิตอยู่ในร่างกาย ดังนั้นจึงต้องหลีกเลี่ยงไม่กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และอาหารที่ก่อโทษต่อร่างกายแม่และส่งผลถึงลูกน้อยในครรภ์ นั่นคือ
- เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ ไวน์ เหล้า ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง และเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เพราะจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ทำให้ได้รับน้ำตาลมากเกินไป และเป็นความดันโลหิตสูงได้
- อาหารหมักดอง และอาหารรสจัด เช่น อาหารเผ็ดรสจัด และผลไม้ดอง เพราะอาจทำให้ระบบทางเดินอาหารคุณแม่ผิดปกติ มีอาการท้องเสีย และอาหารหมักดองมักมีสารพิษ มีเกลือในปริมาณสูง ทำให้คุณแม่ท้องเสีย และความดันโลหิตสูงได้
- อาหารที่แต่งกลิ่น สี ผงชูรส หรือมีสารกันบูด เพราะมีสารเคมีที่เป็นอันตราย ทำให้แพ้ และก่อโรคภัยร้ายภายหลังได้ เช่น ขนมสีสันสดใส อาหารใส่สีจัดจ้านเกินไป อาหารใส่สารกันหืน ใส่สารทำให้กรอบและอื่นๆ
- อาหารสุกๆ ดิบๆ เพราะอาจมีพยาธิ และไม่สะอาด ทำให้คุณแม่ป่วยเป็นโรคระบบทางเดินอาหารได้
- ขนมและอาหารที่หวานจัด ทำให้น้ำหนักคุณแม่เพิ่มขึ้นมากเกินไป เสี่ยง เบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ฯลฯ
- ยาและวิตามิน ที่ซื้อทานเอง เช่น ยาปฏิชีวนะ ยารักษาสิว เพราะมีอันตรายทำให้ลูกน้อยในครรภ์ผิดปกติไปจนถึงพิการได้
ติดตาม พัฒนาการทารกในครรภ์ 1 เดือน คลิกต่อหน้า 3
พัฒนาการทารกในครรภ์ 1 เดือน
พัฒนาการลูกน้อยช่วงนี้จะมีความยาวประมาณ 4 มม. – 2 ซม. และมีน้ำหนักไม่ถึง 1 กรัม
มีลักษณะคล้ายกุ้ง คือมีเอวคอดตรงกลาง มีส่วนหัว ส่วนข้างและส่วนหางที่โค้งงอ
เกิดเป็นตัวอ่อนที่เริ่มสร้างหัวใจและสมอง มีการแบ่งโครงสร้างสมอง และยืดขยายไปเป็นไขสันหลังและเริ่มสร้างอวัยวะต่างๆ
หัวใจของลูกน้อยที่เป็นตัวอ่อน เริ่มเต้นแล้ว
ตัวอ่อนของลูกน้อยจะมีเซลล์พื้นฐานในการพัฒนาเป็นอวัยวะต่างๆ 3 ส่วน ได้แก่
- เซลล์ชั้นในสุด พัฒนาไปเป็นปอด ตับ ตับอ่อน กระเพาะปัสสาวะ ท่อไต ต่อมไทรอยด์
- เซลล์ชั้นกลาง พัฒนาไปเป็นโครงกระดูก กล้ามเนื้อทั่วไป กล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือด ไต ม้าม รังไข่หรืออัณฑะ ฯลฯ
- เซลล์ชั้นนอกหรือกลุ่มสุดท้ายจะพัฒนาไปเป็นต่อมเหงื่อผิวหนัง เต้านม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น
อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ
เบาหวานก่อนตั้งครรภ์ VS เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงของเต้านมขณะตั้งครรภ์ ความลับที่แม่ท้องควรรู้
คุณแม่ท้อง ก็ขาดสารอาหาร ได้นะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่