AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกน้อยคลอดก่อนกำหนด เพราะมีน้ำคร่ำมากไป

ลูกน้อยคลอดก่อนกำหนด เพราะมีน้ำคร่ำมากไป

จากประสบการณ์ของคุณแม่ที่โพสต์เอาไว้ เมื่อลูกน้อย คลอดก่อนกำหนดเพราะน้ำคร่ำเยอะ คุณแม่ขอกำลังใจจากแม่ๆ เพื่อช่วยให้ลูกน้อยปลอดภัย ลูกน้อยของคุณแม่คลอดเมื่อคุณแม่ท้องได้ 25 สัปดาห์ 5 วันเท่านั้น (ประมาณ 6 เดือน) ด้วยน้ำหนัก 920 กรัม เมื่อวันที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมา

คลอดก่อนกำหนดเพราะน้ำคร่ำเยอะ

แชร์ประสบการณ์ลูกคลอดก่อนกําหนดเพราะน้ำคร่ำเยอะ

ความหวังของแม่ทุกคน คือการที่ได้เห็นลูกน้อยเติบโต แข็งแรง และเป็นเด็กดีของพ่อแม่ การคลอดก่อนกำหนดนั้นเป็น 1 ในปัญหาสำคัญที่คุณแม่ทุกคนเป็นกังวล เช่นเดียวกับคุณแม่ท่านนี้ หัวอกของคนเป็นแม่ก็อยากให้ลูกน้อยมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ แม่น้องเล็กเองก็ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ และช่วยภาวนาให้ลูกน้อยของคุณแม่หายดีในเร็ววันค่ะ

สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ท่านอื่นอาจจะสงสัยว่าน้ำคร่ำเยอะ แล้วทำให้มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดจริงหรือ? จากข้อมูลที่แม่น้องเล็กลองศึกษา และรวบรวมข้อมูลมายืนยันแล้วค่ะว่าจริง ปริมาณของน้ำคร่ำมีผลต่อกำหนดเวลาในการคลอดของลูกน้อย หรือมีผลข้างเคียง ไม่ว่าจะน้ำคร่ำเยอะ หรือน้ำคร่ำน้อยก็มีผลเสียได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้นคุณพ่อ คุณแม่ต้องเตรียมตัวให้พร้อม รู้จักป้องกัน และรักษาลูกน้อยให้ปลอดภัย แม่น้องเล็กจึงได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาไว้ให้คุณพ่อ คุณแม่ได้อ่านกันในที่นี้แล้วค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “ความผิดปกติของน้ำคร่ำ” คลิกหน้า 2

ความผิดปกติของน้ำคร่ำ

จากข้อมูลของ อ.พญ. สุชยา  ลือวรรณ สรุปว่า น้ำคร่ำถูกสร้างมาจากคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์ ทำหน้าที่ให้ลูกน้อยเคลื่อนไหวได้สะดวก ป้องกันการกระทบกระแทก รักษาอุณหภูมิ เป็นแหล่งอาหาร และสร้างแรงดันน้ำในโพรงน้ำคร่ำ ซึ่งมีส่วนช่วยขยายปากมดลูกเมื่อถึงเวลาที่คุณแม่เจ็บครรภ์คลอด

ปริมาณน้ำคร่ำตามปกติ คือ

ความผิดปกติของน้ำคร่ำ

การวัดปริมาณน้ำคร่ำ นิยมวัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อให้ทราบว่ามีน้ำคร่ำปกติหรือไม่ ถ้าปริมาณน้ำคร่ำผิดปกติไม่ว่ามากหรือน้อย ก็จะมีผลต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่ดี ซึ่งถ้าคุณแม่มีจำนวนน้ำคร่ำมากจะเรียกว่า “ครรภ์แฝดน้ำ”

ครรภ์แฝดน้ำคืออะไร?

ครรภ์แฝดน้ำ หรือครรภ์มานน้ำ คือภาวะของการตั้งครรภ์ที่มีน้ำคร่ำมากผิดปกติ เกิน 95% ของแต่ละอายุครรภ์ คือมากกว่า 2,000 มล. ตอนคลอดครบกำหนด ซึ่งจำนวนน้ำคร่ำที่มากจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 วัน อาการนี้พบประมาณ 1% ของการคลอด ส่วนใหญ่จะเพิ่มขึ้น 2-3 ลิตร ถ้ามากกว่า 3 ลิตรจะพบ 1:1,000 ของการคลอด ซึ่งพบได้น้อย ทำให้ลูกน้อยมีโอกาสเป็นเบาหวาน และพิการคือไม่มีกะโหลก หรือหลอดอาหารตีบตัน และเม็ดเลือดแตก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “ทำไมถึงเป็นครรภ์แฝดน้ำ?” คลิกหน้า 3

ทำไมถึงเป็นครรภ์แฝดน้ำ?

1.เกิดจากความพิการของลูกน้อย 20% สัมพันธ์กับการกลืน ตั้งแต่ความผิดปกติของระบบประสาทลงมาถึงการอุดกั้นของทางเดินอาหาร ที่พบบ่อยได้แก่ การกลืนน้ำคร่ำของทารกไม่มีกะโหลก เนื้องอกที่หน้า ปากแหว่งเพดานโหว่ และการตีบตันของทางเดินอาหาร เช่น หลอดอาหาร หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อ และระบบประสาท นอกจากนี้ยังมีภาวะไส้เลื่อนกระบังลม ความผิดปกติอื่นๆ เช่น บวมน้ำ ทำให้การทำงานของหัวใจล้มเหลวจากสาเหตุต่างๆ หรืออาจเป็นเพราะครรภ์แฝดที่มีภาวะแทรกซ้อน พบได้ 7% หรือ 2 ใน 3 ของฝาแฝด

2.เกิดจากความผิดปกติของคุณแม่ 20% ได้แก่ เบาหวาน ซึ่งพบได้มาก ทำให้ลูกน้อยสร้างปัสสาวะมากขึ้น

3.เกิดจากรก เช่น รกมีเนื้องอกออกมา

4.ไม่มีสาเหตุ พบได้บ่อยที่สุดถึง 60% ซึ่งอาจเกิดจากการแปรปรวนของครรภ์ แต่มักไม่รุนแรงมาก อยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง การตรวจวินิจฉัยจะตรวจไม่พบว่าผิดปกติ ทั้งคุณแม่ และลูกน้อย

ครรภ์แฝดน้ำ

ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์เมื่อคุณแม่เป็นครรภ์แฝดน้ำ

เมื่อคุณแม่เป็นครรภ์แฝดน้ำ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งสัมพันธ์กับการขยายของมดลูก เช่น คุณแม่หายใจลำบาก คลอดก่อนกำหนด ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด สายสะดือย้อย รกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะครรภ์เป็นพิษ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ รวมถึงตกเลือดหลังคลอด นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความผิดปกติขณะคลอด เช่น ใช้ก้นออกมา ออกมาในท่าขวาง ทำให้เสี่ยงอันตรายมาก ซึ่งลูกน้อยมีโอกาสเสียชีวิต เพิ่มขึ้น 2-5 เท่า โดยเฉพาะในเด็กที่มีตัวโต

การดูแลรักษาเมื่อคุณแม่มีครรภ์แฝดน้ำ

1.ระยะก่อนคลอด

คุณแม่ควรมีการตรวจครรภ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงและเฝ้าระวัง โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการตรวจปริมาณน้ำคร่ำ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์จนถึง 40 สัปดาห์

2.ระยะคลอด

คุณแม่ต้องระวังภาวะน้ำคร่ำแตกรั่ว และหลังคลอดต้องระมัดระวังภาวะตกเลือด อย่าใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก เพราะอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงอันตรายได้

เครดิต: อ.พญ. สุชยา  ลือวรรณ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง คลิก!!

คลอดก่อนกำหนด อันตราย กว่าที่คิด!!!

คลอดก่อนกำหนด เรื่องที่แม่ท้องต้องรู้สาเหตุและวิธีป้องกัน

โภชนาการก่อนตั้งครรภ์ ลดความเสี่ยง คลอดก่อนกำหนด

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Save