AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

พบผู้ป่วย ไข้ซิกา ต้องแจ้งความ

ไข้ซิกา เป็นอันตรายกับหญิงตั้งครรภ์ช่วง 12 สัปดาห์

ไข้ซิกา เป็นอันตรายกับหญิงตั้งครรภ์ช่วง 12 สัปดาห์ ถือว่าเป็นครรภ์อ่อนๆ ที่ระบบเซลล์กำลังพัฒนาไปเป็นกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ อย่างที่ทราบกันว่าไวรัสซิก้า ทำให้เด็กเกิดมามีศีรษะเล็ก ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก

พบผู้ป่วย ไข้ซิกา ต้องแจ้งความ

 

องค์การอนามัยโรคประกาศให้โรคระบาดจากไวรัสซิก้านี้จัดเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะทำให้เด็กที่คลอดออกมามีลักษณะพิการ

กระทรวงสาธารณสุขบราซิลเฝ้าระวังโรคระบาดจาก “ไวรัสซิก้า” ที่กำลังกระจายโรคออกไปหลายพื้นที่ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการออกผื่นและเป็นไข้ใน 2 – 3 วัน โดยไวรัสร้ายนี้มียุงเป็นพาหะเช่นเดียวกับโรคไข้เลือดออก และชิคุนกุนยา ส่วนรัฐบาลประกาศห้ามคนท้องงดเข้าชมกีฬาโอลิมปิกในช่วงเดือนสิงหาคมปี 2559 และมีการฉีดพ่นยากำจัดยุงลายในเขตบ้านเรือน เพราะมีผู้ติดเชื้อกว่า 1,000 คนแล้ว

การกำจัดยุงลาย จะสามารถควบคุมได้ 3 โรค
1. ไข้เลือดออก
2. ไข้ปวดข้อชิคุนกุนยา
3. ไข้ชิกา

ประเทศบราซิลพบผู้เสียชีวิตจากไวรัสซิกา 2 เคส คนแรกเป็นผู้ป่วยทางตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล ในเมืองเบเลง รัฐพารา ขณะที่ผู้ป่วยกำลังรักษาตัวในโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน คนที่สองเป็นวัยรุ่นสาววัย 16 ปี ถูกนำมาส่งรักษาโดยคาดว่าเป็นโรคไข้เลือดออก แต่ตรวจสอบพบว่าเสียชีวิตจากไวรัสซิก้า

ถือได้ว่าเป็นการพบผู้เสียชีวิตจากไวรัสซิก้า เป็นครั้งแรก โดยกระทรวงสาธารณสุขของบราซิลยังเตือนให้ผู้หญิงบราซิลที่กำลังวางแผนมีลูกให้ระวังและตรวจสอบการติดเชื้อจากไวรัสตัวนี้ด้วย เนื่องจากไวรัสจะส่งผลต่อเด็กในครรภ์ทำให้มีกระโหลกศีรษะเล็กผิดรูปตั้งแต่คลอด

ทารกไม่มีกะโหลก เนื่องจาก แม่ติดเชื้อ ไข้ซิกา ตอนท้อง

องค์การอนามัยโลกจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบพื้นที่ในช่วงสัปดาห์หน้า ใครที่กำลังมีแพลนจะต้องเดินทางไปบราซิลก็ระวังเจ้ายุงร้ายเหล่านี้ด้วย

อ่านต่อ ไวรัสซิกาในประเทศไทย คลิกหน้า 2

ไข้ซิก้า ไม่ใช่โรคใหม่ ในประเทศไทยเคยพบผู้ป่วย 2 – 5 ราย (ตั้งแต่ปี 2555 – 2558) และสามารถยุติโรคได้ ไม่เกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง

ผู้ป่วยที่ควรเฝ้าระวังโรคนี้ได้แก่
1. หญิงตั้งครรภ์
2. ผู้ป่วยไข้ออกผื่น
3. ทารกที่คลอดแล้วมีศีรษะเล็ก
4. ผู้ป่วยที่มีอาการปลายประสาทอักเสบ

พล.อ.ต. สันติ ศริเสริมโภค ผอ.โรงพยาบาลภูมิพลฯ กล่าวว่าได้รับผู้ป่วยติดเชื้อชิกาเข้ารักษา 1 ราย เป็นชายไทยอายุ 20 กว่าปี เข้ารักษาเมื่อวันที่ 24 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยมีอาการเป็นไข้ มีผื่น ตาแดง ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว เมื่อเจาะเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันว่าเกิดจากไวรัสชิกา และตอนนี้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นและกลับบ้านได้แล้ว

นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปในประเทศเฝ้าระวังหากมีอาการไข้ออกผื่นจะต้องแจ้งให้กับกรมควบคุมโรคทราบ


โดยจะเน้น 4 มาตรการเฝ้าระวัง ไข้ซิกา คือ
1. เฝ้าระวังการระบาดของโรค (ระวังทางระบาดวิทยา)
2. เฝ้าระวังแมลง (กีฏวิทยา)
3. เฝ้าระวังทารกแรกเกิดที่มีความพิการทางกำเนิด
4. เฝ้าระวังกลุ่มผู้ป่วยอาการทางระบบประสาท

ล่าสุด เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข พร้อมกับพล.อ.ต.สันติ ศรีเสริมโภค ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาและที่ปรึกษากรม คร. ร่วมกันแถลงข่าวเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสซิกา หลังจากที่องค์การอนามัยโรคประกาศให้สถานการณ์ระบาดของโรคนี้เป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน ระบุว่า โรคติดเชื้อไวรัสซิกาเป็นโรคที่ต้องแจ้งความ เมื่อพบผู้ป่วยต้องรายงานให้ สธ.ทราบ

 

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!

กรมการแพทย์เผย! แนวทางดูแล-ยุติการตั้งครรภ์ “แม่ท้องติดเชื้อซิกา-เด็กหัวลีบ”

พ่อแม่ระวัง!! ไข้ซิการะบาด รู้ทันป้องกันเชื้อร้าย ให้ลูกน้อยปลอดภัยจากยุงลายตัวต้นเหตุ

ไวรัสซิกา พบผู้ติดเชื้อในกรุงเทพฯ พ่อแม่ระวัง!!


ข่าวจากเว็บไซต์คมชัดลึก