“การดิ้นของลูกในท้อง” อีกหนึ่งความรู้สึกและสัมผัสแรกของคุณแม่ท้องที่สามารถเรียกน้ำตาได้เป็นอย่างดีทั้งน้ำตาของความดีใจ และน้ำตาของความเจ็บปวดสำหรับบางคนที่ลูกดิ้นแรกอาจทำให้คุณแม่เจ็บจนน้ำตาไหลก็เป็นได้ … “ลูกดิ้น” ถือเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งที่ทำให้แม่ท้องรู้ว่าลูกในครรภ์ของเรายังปลอดภัยและแข็งแรงดีอยู่
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ท้องแรกมักจะรู้สึกว่าลูกเริ่มดิ้นประมาณเดือนที่ 5 แต่ถ้าคุณแม่ท้องสองจะเริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้นประมาณปลายเดือนที่ 4 เฉลี่ยแล้วคุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้น ตอนอายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ บางคนก็รู้สึก บางคนก็ไม่รู้สึก ลูกจะเริ่มดิ้นมากขึ้นเรื่อยๆถี่ขึ้นเรื่อยๆและดิ้นมากที่สุดประมาณ 32 สัปดาห์ หรือตอนประมาณ 8 เดือน หลังจากนั้นจะดิ้นน้อยลงเพราะพื้นที่ในท้องของคุณแม่ไม่ใหญ่พอกับการดิ้นของลูกแล้วนั้นเอง ลูกจึงดิ้นได้น้อยลง
Amarin Baby & Kids มีวิธีที่จะกระตุ้นให้ลูกน้อยเคลื่อนไหวมาฝาก นี่เป็นวิธีที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่าปลอดภัย เพื่อที่คุณสามีและลูกของคุณจะได้มีโอกาสรู้สึกถึงแรงดิ้นของเจ้าตัวเล็กในท้องด้วย
ภาพจาก : jothezette.tumblr.com
ลูกชอบดิ้นมากที่สุดตอนไหน?
- ก่อนอื่นคุณแม่ควรรู้ก่อนว่าลูกในท้องจะชอบดิ้นเวลาไหน ซึ่งเวลาที่ลูกดิ้นมากที่สุดคือตอนคุณแม่กำลังหิว ยิ่งช่วงที่ท้องคุณแม่ร้องโครกครากลูกได้ยินก็จะตื่นขึ้น และดิ้นแรงมากกว่าปกติ ยิ่งช่วงกลางคืนคุณแม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้นมากกว่าตอนกลางวัน เพราะในตอนกลางวันคุณแม่ทำกิจกรรมหลายอย่างเลือดก็ไปเลี้ยงร่างกายส่วนของแม่เยอะ จึงทำให้ลูกมีเลือดมาเลี้ยงร่างกายน้อย ลูกจึงดิ้นน้อย แต่ในช่วงกลางคืนที่คุณแม่พักผ่อน ไม่ได้ใช้พลังงานมาก ลูกจึงดิ้นมากกว่าตอนกลางวัน นอกจากจะดิ้นแล้วลูกจะตื่นมาเล่นจนเป็นสาเหตุทำให้คุณแม่นอนไม่หลับในตอนกลางคืนนั้นเองค่ะ
- คุณแม่บางคนสงสัยว่าเวลานอนจะทับตัวลูกหรือไม่ ลูกจะตัวงอหรืออึดอัดไหม นอนท่าไหนดี จริงๆแล้วเรื่องนี้คุณแม่ไม่ต้องกังวลเพราะลูกมีถุงน้ำคร่ำห่อหุ้มร่างกายอยู่ ถ้ามีการกดทับทางด้านขวามดลูกก็จะดันถุงน้ำคร่ำไปด้านซ้าย คือถ้าทับด้านไหนมดลูกก็จะดันไปอีกด้านนั้นเองค่ะ ดังนั้นคุณแม่สามารถนอนตะแคงหรือนอนหงายทางไหนก็ได้ไม่ต้องกลัวว่าจะทับลูกค่ะ แต่อย่านอนคว่ำนะคะ ลูกแบนแน่นอนค่ะ ^^
- ในช่วงที่คุณแม่ท้องอ่อนๆ จะนอนท่าไหนก็ได้ เพราะมดลูกยังไม่ใหญ่มาก แต่เมื่อเริ่มท้องแก่แล้วคุณแม่ควรนอนท่าตะแคงจะดีที่สุดค่ะ เพราะจะไม่ทำให้ร่างกายไปกดทับเส้นเลือดใหญ่ เวลานอนตะแคงแล้วต้องการขยับตัวควรใช้มือประคองท้องและพลิกตัวช้าๆจะได้ไม่มีอาการเจ็บปวดปีกมดลูกเวลาขยับตัวนั้นเองค่ะ
อ่านต่อ >> “วิธีที่จะทำให้ลูกในท้องดิ้น” คลิกหน้า 2
ลูกดิ้น หมายถึง การถีบ การเตะ กระทุ้ง หมุนตัว และโก่งตัว แต่ถ้าเป็นการตอดต่อเนื่องยาว ๆ หรือสะอึกจะไม่นับว่าเป็นการดิ้นนะครับ ถ้าคุณแม่สังเกตดี ๆ จะเห็นว่าเจ้าตัวน้อยจะมีท่าดิ้นประจำตัวด้วย บางคนชอบโก่งตัวไปด้านซ้าย บางคนก็ด้านขวา (องค์ประกอบที่มีผลต่อการดิ้นของลูก คือ ปริมาณน้ำคร่ำ อาหารที่คุณแม่ได้รับ ระดับน้ำตาลในเลือดของแม่ สิ่งภายนอกที่มากระตุ้น แสง เสียง ฯลฯ) สำหรับเคล็ดลับที่จะช่วยกระตุ้นให้ลูกน้อยในท้องดิ้น กับวิธีง่ายๆ ดังนี้
-
การปรับเปลี่ยนท่า โดยเฉพาะการนอนหงายหรือนอนคว่ำสักครู่ ลูกน้อยก็จะขยับตัวตาม
-
การรับประทานอาหารหวาน ๆ จากนั้นรอสัก 2-3 นาที ลูกจะดิ้นเมื่อได้รับรู้ถึงรสหวานเป็นอันดับแรก
-
เสียงเพลง โดยเฉพาะเพลงที่แม่ชอบ เพลงสบายๆ รวมถึงเสียงบทสวดของพระ คุณแม่อาจสังเกตได้ถึงการเคลื่อนไหวตามจังหวะนั้นๆได้อย่างน่าอัศจรรย์
-
กดท้องด้านหนึ่ง และลองสังเกตดูว่าลูกจะกดกลับหรือไม่ เพราะนั้นถือเป็นการก่อกวนพื้นที่ของเขา
-
ดื่มน้ำเย็นจัด ๆ เพื่อทำให้เขาตื่น
-
เสียงพูดชวนคุยพร้อมลูบท้องของพ่อแม่ ทำให้ลูกมีปฏิกิริยาตอบโต้ และรู้สึกได้ถึงเสียงที่คุ้นเคย (อ่านต่อ >> “เล่นกับลูกในท้องได้ไหม”)
-
ใช้ไฟฉายส่อง ลูกจะมีการดิ้น ขยับ ตอบสนองต่อการกระตุ้นและช่วยพัฒนาการมองเห็นของลูก (อ่านต่อ >> “ไฟฉายส่องท้อง กระตุ้นการมองเห็นของลูกได้จริงหรือ???”)
อ่านต่อ >> “วิธีเพิ่มความสัมพันธ์เมื่อลูกดิ้น พร้อมชมคลิปลูกดิ้นชัดมา” คลิกหน้า 3
การเพิ่มสัมพันธ์เมื่อลูกดิ้น
การดิ้นของลูกจะตอบสนองต่ออารมณ์ของแม่ และการกระตุ้นทางกายภาพด้วยเสียง แสง รวมถึงการสัมผัส จะช่วยทำให้ทารกในครรภ์มีการเคลื่อนไหวและมีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น พ่อและแม่อาจพูดคุยกับลูกในท้องด้วยคำพูดไพเราะ พูดเล่นกับลูกเพื่อให้ลูกเกิดความคุ้นเคย ในส่วนของคุณแม่นั้นควรพูดด้วยเสียงปกติ เพราะเสียงสามารถผ่านลำตัวของคุณแม่ไปยังลูกน้อยได้โดยตรง
แต่สำหรับคุณพ่อนั้นจะต้องเพิ่มระดับความดังของเสียงให้มากกว่าปกติสัก 20-30% โดยการพูดย้ำคำย้ำประโยคเพื่อลูกให้เกิดการเคยชินกับเสียง อาจจะทำวันละครั้ง ครั้งละ 15 นาที และอาจใช้มือลูบที่หน้าท้องของคุณแม่หรือตบเบา ๆ ตรงตำแหน่งที่ลูกดิ้น ซึ่งวิธีนี้จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยและเพิ่มความสัมพันธ์กับลูกน้อยได้ตั้งแต่ยังอยู่ในท้องแม่
*** ทั้งนี้ถ้าลูกดิ้นมากคุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลอะไร แต่ถ้าลูกดิ้นน้อยลงในระยะใกล้คลอดหรือหากลูกหยุดดิ้นไปอย่างน้อย 12 ชั่วโมง คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
ดูคลิปลูกดิ้นชัดมาก
https://www.amarinbabyandkids.com/health-beauty/parent-health/%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99/
อ่านต่อบทความน่าสนใจ