AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

6 อาการบวม คนท้อง ที่อันตราย!!

Credit Photo : Shutterstock

อาการบวม คนท้อง ที่เกิดขึ้น ในช่วงตั้งครรภ์ได้14-27 สัปดาห์ ทางการแพทย์เรียกว่า อาการบวมน้ำ ซึ่งอาการบวมที่เกิดขึ้น ระหว่างตั้งครรภ์ จะถือเป็นอาการปกติก็ได้ แต่ก็มีอาการบวมที่บอกถึงอันตรายต่อสุขภาพครรภ์ของคุณแม่ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่ง ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีคำตอบในเรื่องนี้มาให้ได้ทราบกันค่ะ

 

อาการบวม คนท้อง ที่อันตราย!!

อย่างที่บอกไปคะว่า อาการบวม คนท้อง ถือเป็นอาการหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติกับแม่ท้องอยู่แล้ว แต่อาการบวมที่เกิดขึ้นบ้างครั้งก็เป็นเหมือนสัญญาณบอกว่าสุขภาพครรภ์อาจกำลังมีอันตราย

เมื่อตั้งครรภ์ได้ 14-27 สัปดาห์ คุณแม่จะเกิดอาการตัวบวม หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า อาการบวมน้ำ(Edema) เกิดจากการที่มี ของเหลวสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อ เนื่องจากร่างกายของแม่ตั้งครรภ์มีแนวโน้มที่จะสะสมน้ำมากขึ้น คุณแม่จึงอาจมีอาการบวม ตามเท้าและข้อเท้า ในช่วงกลางของไตรมาสที่สอง และในช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณแม่อาจมีอาการบวมตามนิ้วมือเพิ่มขึ้น

 

บทความแนะนำ คลิก>> กระเจี๊ยบเขียว คนท้อง อาหารสมุนไพรดีต่อสุขภาพ

 

นอกจากนี้มดลูกที่ขยายตัวขึ้น อาจไปกดทับเส้นเลือดที่ลำเลียงเลือดจากร่างกายส่วนล่างกลับสู่หัวใจ ระบบการไหลเวียน เลือดจึงช้าลง ส่งผลให้มีเลือดคั่งอยู่บริเวณขามากกว่าปกติ และทำให้เกิดอาการตัวบวมได้ อาการนี้มักเกิดในตอนเย็นของ ทุกวัน โดยเฉพาะช่วงที่อากาศร้อน ซึ่งอาการบวมน้ำโดยทั่วไปไม่มีอันตราย ยกเว้นแต่ถ้ามีอาการบวมที่เกิดขึ้นในลักษณะดังนี้ คือ…

  1. เกิดอาการบวมตามใบหน้า หรือบริเวณรอบดวงตา
  2. เกิดพร้อมน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว (มากกว่า 8 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์)
  3. เกิดพร้อมอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเรื้อรัง
  4. เกิดพร้อมอาการสายตาผิดปกติ, มองเห็นภาพซ้อน, ภาพเบลอ, เห็นจุดแสง, ตาไวต่อแสง หรือมองไม่เห็นในบางครั้ง
  5. เกิดพร้อมอาการปวดช่วงท้องด้านบนอย่างรุนแรง หรือกดเจ็บ
  6. เกิดพร้อมอาการคลื่นไส้/อาเจียน

หากเกิดอาการบวมน้ำร่วมกับอาการเหล่านี้ คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับทารกและตัวคุณแม่เองได้

อ่านต่อ อันตรายจากครรภ์เป็นพิษ หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อันตรายจากครรภ์เป็นพิษ!!

ภาวะครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia) เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์ ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตทั้งคุณแม่และลูกน้อย  สำหรับสาเหตุของครรภ์เป็นพิษ ยังไม่ทราบแน่ชัดนัก แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการพัฒนาของรกที่ผิดปกติ และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น

ตั้งครรภ์ในขณะอายุน้อยกว่า 20 ปี

ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 40 ปี

เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก

มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน

ตั้งครรภ์แฝด

เคยมีประวัติครรภ์เป็นพิษ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจในครอบครัว

มีประวัติการตั้งครรภ์โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

มีภาวะเลือดแข็งตัวง่าย

มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง ไต เบาหวาน โรคแพ้ภูมิตนเอง (SLE) หรือ ข้ออักเสบรูมาตอยด์

ภาวะครรภ์เป็นพิษ มักเกิดหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์จนถึง 48 ชั่วโมงหลังคลอด ส่วนใหญ่จะพบภาวะนี้หลังอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ โดยจะมีอาการแสดงคือ มีความดันโลหิตสูง 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ร่วมกับตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 300 มิลลิกรัมใน 24 ชั่วโมง

 

บทความแนะนำ คลิก>> รับมือกับ 10 ความเสี่ยง ตั้งครรภ์แฝด

ครรภ์เป็นพิษเป็นภาวะที่อันตรายรุนแรงต่อคุณแม่และลูกน้อย

– ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อคุณแม่คือ ชัก การทำงานของไตผิดปกติหรือไตวาย ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด มีเลือดออกในระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะเลือดออกในสมอง น้ำท่วมปอด

– ส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ ทำให้ลูกเจริญเติบโตช้า คลอดก่อนกำหนด คลอดน้ำหนักตัวน้อย และลูกน้อยเสียชีวิต

สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ในช่วงนี้ และพบว่าตัวเองมีอาการบวมที่ผิดปกติเกิดขึ้น ให้รีบไปตรวจกับคุณหมอที่ดูแลครรภ์คุณแม่ทันที ไม่ควรปล่อยอาการบวมที่เกิดขึ้นไว้นาน เพราะไม่เช่นนั้นอาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อทั้งตัวคุณแม่ และทารกน้อยในครรภ์ด้วยค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

ยุติการตั้งครรภ์ ความจริงที่คุณแม่ยากจะเผชิญ
การแท้งบุตร ฝันร้ายของคุณแม่ตั้งครรภ์


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
นิตยสาร Amarin Baby & Kids