อาการ ปวดข้อมือ มักเกิดขึ้นบ่อยในผู้หญิง หากคุณแม่ท้อง และคุณแม่ลูกอ่อน หรือผู้ที่มักใช้เม้าส์ทำงานบ่อยๆ มีอาการปวดข้อมือ นี่อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคเดอ เกอร์แวง
อาการ ปวดข้อมือ ( เดอกาแวง ) เรียกอีกอย่างว่า โรคเดอเกอร์แวง (De Quervain’s disease หรือ De Quervain หรือ De quervain tendinosis หรือ De quervain’s tenosynovitis หรือ De Quervain tendinopathy) หรือ กลุ่มอาการเดอเกอร์แวง (De Quervain syndrome) คือ
ภาวะมีการเสื่อมของปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่กางและเหยียดนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งก่อนหน้านี้อาจเกิดจาก การอักเสบ บวม ของปลอกหุ้มเอ็น 2 เส้นดังกล่าว
อาการ ปวดข้อมือ หรือ โรคเดอเกอร์แวง เกิดจาก
สำหรับอาการ ปวดข้อมือ หรือสาเหตุที่แท้จริงของโรคเดอเกอร์แวง “ยังไม่ทราบ” แน่ชัด แต่แพทย์เชื่อกันว่า เกิดจากการใช้ข้อมือบ่อยๆ ทั้งเล่นมือถือ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน และการใช้เม้าส์ คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการยกของหนักบ่อยๆ หรืออาจพบภายหลังการบาดเจ็บบริเวณข้อมือ หรือในบางรายอาจพบว่าเคยมีการบาดเจ็บในตำแหน่งนี้มาก่อน
ซึ่ง อาการปวดข้อมือ หรือโรคเดอเกอร์แวง มักพบในผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป พบในทุกเพศ แต่จะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายประมาณ 5-6 เท่า นอกจากนี้ยังมักพบได้ในคุณแม่ตั้งครรภ์ ช่วงใกล้คลอด หรือ หลังคลอดบุตร และคุณแม่ลูกอ่อน รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคบางอย่าง เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ หรือ เบาหวาน
โดยอาการปวดและบวมบริเวณข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ จะปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ เช่น เวลาเหยียดและงอนิ้วหัวแม่มือเต็มที่ อย่างการบิดเสื้อผ้า ยกขันน้ำ กวาดพื้น หรืออุ้มลูก เป็นต้น
การตรวจ โรคเดอเกอร์แวง ด้วยตนเอง
กำนิ้วโป้งไว้ในอุ้งมือแล้วหักข้อมือลง ถ้ามีอาการเจ็บแสดงว่ามีการอักเสบของเส้นเอ็นข้อมือ และในผู้ป่วยบางคนอาจคลำได้ก้อนถุงน้ำบริเวณข้อมือด้วย (ก้อนถุงน้ำ บางครั้งอาจจะแข็งคล้ายกระดูก)
อย่างไรก็ดีสำหรับ อาการปวดข้อมือ หรือ โรคเดอเกอร์แวง นี้ จากคุณหมอหมี หมอผู้เชี่ยวชาญโรคกระดูกโดยเฉพาะ ซึ่งได้โพสต์คลิป ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ไว้ในเพจ ด๊อกเตอร์ หมอหมี ซึ่งจะมีวิธีรักษาอย่างไร ตามมาดูกันเลยค่ะ…⇓
คลิปหมอหมี อธิบายถึง โรคเดอเกอร์แวง กับอาการที่ “คนท้อง ปวดข้อมือ หรือแม่ลูกอ่อน หลังจากอุ้มลูกมานานๆ หรือ ทำคอมใช้mouse นานๆ แล้วเจ็บตลอด ทำไงดี”
"คนท้องปวดข้อมือ หลังจากอุ้มลูกมานานๆ หรือ ทำคอมใช้mouse นานๆ แล้วเจ็บตลอด ทำไงดี" โรคที่เจอคนไข้ทุกวันแต่ไม่มีใครรู้จัก เดอ กา แวง de quervain syndrome บอกต่อๆน่ะครับ อยากให้คนไทยรู้จักมากขึ้น#เดอกาแวง #dequervain #เอ็นปลอกข้อมืออักเสบ
โพสต์โดย ด๊อกเตอร์ หมอหมี เมื่อ 16 พฤษภาคม 2018
เครดิต : ขอบคุณคลิปวีีดีโอจาก เพจ ด๊อกเตอร์ หมอหมี
การวินิจฉัยโรค
- แพทย์วินิจฉัยโรคเดอเกอร์แวงจากอาการของผู้ป่วย คือ มีอาการปวดเมื่อใช้งานข้อมือ บางรายแม้กระทั่งแปรงฟันก็มีอาการปวด
- จากการตรวจร่างกาย: แพทย์จะพบตำแหน่งกดเจ็บบริเวณหัวแม่มือ แพทย์จะตรวจโดยให้ผู้ป่วย งอนิ้วหัวแม่มือเข้าหากลางฝ่ามือ แล้วงอนิ้วที่เหลือทับซ้อนนิ้วหัวแม่มือ จากนั้นให้ผู้ป่วยขยับข้อมือไปทางด้านตำแหน่งที่มีอาการปวด ที่จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวด/เจ็บมากขึ้น
การรักษาโรคเดอเกอร์แวง
การผ่าตัดรักษาโรคเดอเกอร์แวงเป็นทางเลือกสุดท้าย เมื่อผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้น คือ กินยา ใส่อุปกรณ์ดามข้อมือ ฉีดยา ไม่เกิน 2-3 ครั้ง
ซึ่งหากต้องผ่าตัดจริงๆ แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณที่กดเจ็บ เปิดแผลผ่าตัดขนาดไม่เกิน 1-2 ซม. ใช้มีดกรีดเปิดปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อที่หนาตัว ทั่วไปใช้เวลาผ่าตัด ไม่เกิน 10-15 นาที
เมื่อเป็นโรคเดอเกอร์แวง การดูแลตนเอง คือ
อย่างไรก็ดี เมื่อคุณแม่รู้สึกเริ่ม ปวดข้อมือ ควรลดการใช้งานข้อมือ อาจร่วมกับการ ดามข้อมือ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ทั้งนี้การสามารถกินยาลดปวด/ยาแก้ปวด และ/หรือยาต้านอักเสบ/ยาแก้อักเสบ และรอดูผลการรักษาประมาณ 4-6 สัปดาห์ โดยเรื่องยาก็ต้องอยู่ในการใช้ตามคำสั่งของแพทย์เช่นเดียวกัน คุณแม่ท้องหรือคุณแม่ให้นม ไม่ควรซื้อยาทานเอง เพราะยาบางตัวที่รักษาอาการนี้อาจส่งผลกระทบต่อลูกน้อยได้ สุดท้ายถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรฉีดยาตามแพทย์แนะนำ
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- ปวดหลัง อาการยอดฮิตที่แม่ท้องต้องรับมือ
- ประคบร้อน แก้ปวดเมื่อยแม่ท้องอย่างปลอดภัย
- โรคลัสสา โรคร้ายที่แม่ท้องต้องระวังให้ดี!
- วิจัยยัน! แม่ท้องกินพาราเซตามอล เสี่ยงทำทารกสมาธิสั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : haamor.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่