กรมอนามัยแนะ การดูแล และ วิธีป้องกัน covid 19 สำหรับแม่ท้อง แม่หลังคลอดและทารกแรกเกิด โดยเฉพาะ เพื่อให้ปลอดภัยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
กรมอนามัยแนะแม่ท้อง แม่ลูกอ่อน
9 วิธีป้องกัน covid 19 ให้ปลอดภัยทั้งแม่ลูก
ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 ที่ตอนนี้มียอดผู้ติดเชื้อในไทยสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเฉลี่ยประมาณวันละ 100+ คน จึงทำให้หลายคนกังวลใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบ้านที่มีลูกเล็ก หรือมีคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ เพราะลำพังตัวเองก็เครียดจะแย่อยู่แล้ว แต่สำหรับคุณแม่ท้องก็อาจยิ่งมีอาการจิตตกแบบเท่าตัว เพราะมีอีกหนึ่งชีวิตที่ต้องรับผิดชอบอยู่ในครรภ์
Must read >> เผย “ความในใจคนเป็นแม่” หลัง ลิเดียติดเชื้อไวรัสโควิด-19
ซึ่งหากคุณแม่ท้องไม่อยากเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 หรือเครียดหนักจากข้อมูลผิด ๆ ทีมแม่ ABK มีข้อมูลและ วิธีป้องกัน covid 19 จากทางกรมกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มาแนะนำ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะมีวิธีดูแลแม่ท้อง แม่หลังคลอด และทารกแรกเกิด อย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ
Q: แม่ท้องสามารถถ่ายทอดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปยังลูกในครรภ์ได้หรือไม่?
เรียกได้ว่าเป็นคำถามแรกที่คาใจของแม่ท้องหลายคน ซึ่งแม้ว่าตัวเองจะไม่ได้เป็นบุคคลที่ไปในพื้นที่เสี่ยง และยังไม่ติดเชื้อโควิด19 ก็ตาม แต่สิ่งที่กังวลใจมาก่อนอันดับแรก คือ ถ้าตัวเองได้รับเชื้อ ไวรัสโคโรน่า หรือโควิด-19 (Covid-19) แล้ว ลูกในท้องจะติดด้วยหรือไม่ ?
ซึ่งเรื่องนี้ก็มีข้อมูลจากศูนย์ภูมิต้านทาน และระบบทางเดินหายใจแห่งชาติ (National Center for Immunization and Respiratory Diseases หรือ NCIRD) และกองโรคแพร่ระบาดของสหรัฐ (Division of Viral Diseases) ระบุว่า… ไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ยังถือเป็นโรคใหม่ที่ยังมีข้อมูลในเรื่องของความเสี่ยงในการติดเชื้อค่อนข้างน้อยอยู่ ดังนั้นยังไม่สามารถสรุปได้ 100% ว่าผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์อยู่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสมากไปกว่าคนทั่วไป หรือ หากคุณแม่ท้องติดเชื้อแล้วจะมีความเสี่ยงแท้ง ลูกมีความผิดปกติ ลูกติดเชื้อไวรัสไปด้วย หรือส่งผลกระทบต่อสุขภาพที่แตกต่างไปจากคนปกติทั่วไปอย่างไรหรือไม่
ซึ่งก็ข้อมูลจากสถิติในผู้ป่วยในเมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน แจ้งว่า มีหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ จำนวน 9 ราย ที่ได้รับรายงานมา ซึ่งทั้งหมดนั้น ไม่มีรายงานว่าเชื้อไวรัสจากแม่ท้องเหล่านี้ ถูกส่งผ่านไปยังทารกในครรภ์ หรืออาจบอกได้ว่า น้ำคร่ำ น้ำนม และ เลือดสายสะดือ ไม่ได้เป็นสื่อที่สามารถส่งผ่านเชื้อ ไวรัสโคโรน่า หรือโควิด-19 (Covid-19) ได้
ทั้งนี้ในกรณีข่าวของเด็กทารกแรกเกิดคนหนึ่ง ที่มีผลเลือดเป็นบวก เพียง 30 ชั่วโมง หลังจากคลอดเท่านั้น นั่นก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เชื้อสามารถส่งผ่าน จากแม่สู่ทารกในครรภ์ได้ … แต่อย่างไรก็ตามข้อสันนิษฐานนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ 100% แต่ยังจากสถิติยังไม่มีทารกที่ถูกระบุว่าติดโควิด-19 จากใครในท้องแม่
- เด็กติดโควิด-19 เพิ่ม เตือนพ่อแม่ระวัง อย่าพาเชื้อเข้าบ้าน
- ข้อควรปฏิบัติ! เมื่อต้อง พาลูกไปโรงพยาบาล ช่วงโควิด-19 ระบาด
Q: แม่ท้องควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19?
การดูแล และ วิธีป้องกัน covid 19 สำหรับแม่ท้อง และแม่หลังคลอด (กลุ่มปกติ) โดยกลุ่มปกติ ในที่นี้คือ กลุ่มที่ไม่ได้ติดเชื้อ ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 ให้ใช้หลักการป้องกัน 3 ล. (เลี่ยง ลด ดูแลตนเอง) อย่างเคร่งครัด โดย
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไอ เป็นไข้ หรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือรวมกลุ่มกันจำนวนมาก
- รักษาระยะห่าง ในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นด้วยการอยู่ห่างกัน 1 – 2 เมตร
- หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตา ปาก และจมูก
- กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ หรือปรุงอาหารให้สุกร้อนทั่วถึง
- หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะรับประทานอาหารและของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
- หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาดนานอย่างน้อย 20 วินาที ทุกครั้งที่มีการไอจาม สัมผัสสิ่งแปลกปลอม ก่อนกินอาหาร หรือออกจากห้องน้ำ หากไม่มีสบู่ ให้ใช้ Alcohol gel 70%
- ในขณะไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย ถ้ามีอาการไอ จาม ให้ใช้ต้นแขนด้านบนปิดปากทุกครั้ง
- คุณแม่ทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากมีอาการป่วย เล็กน้อย ควรพักผ่อนอยู่ที่บ้าน ถ้ามีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจเหนื่อย ควรรีบไปพบแพทย์
- คุณแม่ท้องสามารถฝากครรภ์ได้ตามนัด
อ่านต่อ >> “การดูแลแม่ท้องและแม่หลังคลอด
ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Q: ถ้าแม่ท้องติด เชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด-19 จะอันตรายแค่ไหน?
แต่สำหรับคุณแม่ท้องคนไหนที่มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในร่างกาย การทำงานของปอดมีประสิทธิภาพที่ลดลง ปริมาณการใช้ออกซิเจนก็จะเพิ่มขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันของแม่ท้องก็จะเปลี่ยนไป ก็อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อต่างๆ ได้เหมือนกัน และมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสในตระกูลเดียวกันอย่าง ไข้หวัดใหญ่ หรือ และโรคจากเชื้อไวรัสชนิดอื่นที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจอื่นๆ
ซึ่งอาจมีอาการรุนแรงมากกว่าปกติได้ ดังนั้นคุณแม่ท้องจึงควรต้องระมัดระวังสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอเหมือนเดิม หากมีความกังวลใจสามารถปรึกษาแพทย์ที่ฝากครรภ์ด้วยได้
Q: หากแม่ท้องและแม่ลูกอ่อนให้นม เป็นกลุ่มเสี่ยง ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อให้ลูกปลอดภัย
สำหรับคุณแม่ท้อง หรือคุณแม่หลังคลอด ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง คือ ผู้ที่มีประวัติเดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง หรือสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย COVID-19 ควรดูแลตัวเอง ดังนี้
- แยกตนเองออกจากครอบครัวและสังเกตอาการจนครบ 14 วัน งดการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
- งดการออกไปในที่ชุมชนสาธารณะโดยไม่จำเป็น และงดการพูดคุย หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นในระยะใกล้กว่า 2 เมตร
- กรณีครบกำหนดนัดฝากครรภ์ ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบว่าตนเองอยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง 14 วัน เพื่อพิจารณาเลื่อนการฝากครรภ์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
- หากเจ็บท้องคลอด ต้องไปโรงพยาบาลทันที และแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบว่าตนเองอยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง 14 วัน
Q: แม่ให้นม ควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงโควิด-19 ระบาด
สำหรับเด็กทารกที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ COVID-19 ก็จัดเป็นผู้มีความเสี่ยง จะต้องมีการแยกตัวออกจากผู้อื่น และต้องสังเกตอาการ เป็นเวลา 14 วันสำหรับการดูแล
ส่วนกรณีที่แม่เป็นผู้ที่สงสัยติดเชื้อและติดเชื้อ COVID-19 ระหว่างรักษาตัว ก็ยังสามารถเลี้ยงลูกได้ พราะน้ำนมแม่เป็นอาหารที่สำคัญต่อการสร้างระบบภูมิต้านทานโรคให้กับเด็ก และยังไม่มีหลักฐานการติดต่อผ่านทางรกหรือผ่านทางน้ำนม แต่ต้องปฏิบัติตามแนวทางป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด
Must read >> ให้ลูกกินน้ำนมได้ไหม ถ้าแม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ติดเชื้อโควิด-19
วิธีป้องกัน covid 19 ให้ปลอดภัยทั้งแม่ลูก (สำหรับแม่ให้นม)
ข้อแนะนำการปฏิบัติสำหรับแม่ที่เป็นผู้ต้องสงสัยว่าจะติดเชื้อ หรือแม่ที่ติดเชื้อ COVID-19 แล้วและมีสภาพร่างกายพร้อมที่จะปั๊มนมได้ ดังนี้
ก่อนเริ่มกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเตรียมนมและการปั๊มนม
- อาบน้ำหรือเช็ดทำความสะอาดบริเวณเต้านมและหัวนมด้วยน้ำและสบู่
- ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำ และสบู่ นานอย่างน้อย 20 วินาที หรือแอลกอฮอล์เข้มข้น 70% ขึ้นไป
- สวมหน้ากากอนามัย ตลอดการทำกิจกรรมเกี่ยวกับการเตรียมนมและการปั๊มนม
หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเตรียมนมและการปั๊มนม
- ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ เช่น ที่ปั้มนม ขวดนม ด้วยน้ำยาล้างอุปกรณ์ และทำการนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อ
การให้นม - หาผู้ช่วยเหลือ/ ญาติที่มีสุขภาพแข็งแรงที่ทราบวิธีการป้อนนมที่ถูกต้องและต้องปฏิบัติตามวิธีการป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด โดยวิธีการนำน้ำนมแม่มาป้อนด้วยการใช้ช้อน/ ถ้วยเล็ก/ ขวด
สำหรับ วิธีป้องกัน covid 19 กรณีที่แม่ต้องอยู่เพียงลำพัง (ข้อจำกัดจริงๆ) คุณแม่สามารถป้อนนมลูกได้เอง โดยปฏิบัติตามแนวทาง เพื่อป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด
Reference
1. CDC, 2020. Pregnancy & Breastfeeding [WWW Document]. URL https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/prepare/pregnancy-breastfeeding.html (accessed 3.17.20).
2. https://www.unicef.org/thailand/th/stories/(accessed 3.17.20).
3. WHO, 2020. Clinical management of severe acute respiratory infection (SARI) when COVID-19 disease is suspected.
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- เมื่อแม่จิตตก! 9 วิธีคลายเครียด ดูแลสุขภาพใจไม่ให้ Panic ช่วงโควิด-19
- แนะ 4 วิธี ทำความสะอาดของใช้ ใกล้ตัว ให้ปลอดเชื้อโควิด-19
- ฟ้าทะลายโจร ป้องกันโควิดได้หรือไม่?
- วิจัยพบ! คนสูบบุหรี่ เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ง่ายกว่าคนอื่น!
- วิธี ลงทะเบียนรับเงิน 5,000 บาท ฝ่าวิกฤติโควิด-19ใครมีสิทธิ์บ้าง? เช็กเลย!!
ขอบคุณข้อมุลอ้างอิงจาก : multimedia.anamai.moph.go.th , www.newtv.co.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่